“เรื่องเล่าดีดี ของคนกรุงเทพฯ” ตอน จากเมืองกรุงสู่เมืองกรีน กับ 3 แลนด์มาร์กแห่งใหม่ | BangkokStories

Highlight

⁃ 3 แลนด์มาร์กสีเขียว ที่เตรียมปักหมุดเป็นที่ Check-in แห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร
⁃ พื้นที่สวนสาธารณะ ถือเป็นพื้นที่สำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัย ดีไซน์มาเพื่อทุกคน รวมถึงไม่ลืมเรื่อง  ความปลอดภัย
⁃ พื้นที่กรุงเทพมหานคร ถูกใส่ในเชิงพาณิชย์ไปจำนวนมาก “จะทำอย่างไร…ที่เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเชิงธุรกิจของภาคเอกชน?”


ทุกวันนี้ เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก รวมถึงกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญ “พื้นที่สีเขียว” ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองอย่างยั่งยืน ทั้งในแง่การพักผ่อน การออกกำลังกาย และนอกจากนี้

พื้นที่เหล่านี้ยังกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่สำหรับประชาชน และนักท่องเที่ยว อีกด้วย เราจะพาไปรู้จักกับ 3 แลนด์มาร์กสีเขียว ที่เตรียมปักหมุดเป็นที่ Check-in แห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร

ด้วยแนวคิด ที่อยากเห็นกรุงเทพมหานครมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น ผลจากความเจริญที่รุกคืบอย่างรวดเร็ว ทำให้สวนสาธารณะในกรุงเทพ ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้คน…มุมมองของ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ศักดิ์ชัย บุญมา

วันนี้ ทางกรุงเทพมหานคร เลยจะใช้พื้นที่ สิ่งก่อสร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำมาปรับปรุง สร้างให้เกิดประโยชน์ใน 3 แลนด์มาร์กสายกรีน คือ

📍 สะพานพระปกเกล้าสกายพาร์ค (คุ้นหูชื่อ ว่า สะพานด้วน)


สะพานด้วนนี้ อยู่บริเวณสะพานพระปกเกล้า และสะพานพุทธ เดิมเป็นโครงสร้างเก่าของโครงการรางรถไฟฟ้าลาวาลินที่ดำเนินการค้างไว้ ทิ้งร้างมานานกว่า 10 ปี ที่คนฝั่งธนฯเห็นจนชินตา ให้กลายเป็นจุดหมายที่ใหม่ ด้วยความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนาเมืองระหว่างกรุงเทพมหานคร ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) และกลุ่ม WE PARK

โครงการที่เกิดขึ้นเป็นเสียงสะท้อนของประชาชนชุมชนบริเวณนั้น ที่มาช่วยคิด ช่วยลงมือทำ ให้พื้นที่ทิ้งร้างนี้ กลายเป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า พร้อมมุมพักผ่อน ทางเดิน และทางจักรยาน เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี จุดชมวิวที่สวยงามกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อว่าคนกรุงเทพจะได้มาลอง Check – in ภายในพฤษภาคม ปี 2563 นี้

“วันนี้ เราอาจจะช้าไปนิด แต่อย่างน้อยเราก็ได้เริ่มลงมือทำ” รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ศักดิ์ชัย บุญมา

📍แลนด์มาร์กแห่งที่ 2 : “สะพานเขียว”


การพัฒนาสะพานเขียว เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสวนลุมพินี – สวนเบญจกิติ อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวันและคลองเตย ทาง กทม. เล่าว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา เป็นเรื่องการดีไซน์ที่ไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากสภาพอากาศร้อน แต่ไม่มีหลังคา รวมถึง ไฟส่องสว่าง ความปลอดภัย

วันนี้…กทม. มีความคิดว่าเราจะปรับทัศนียภาพ ปรับแนวต้นไม้ สร้างกิจกรรมต่างบนระยะทาง 1,300 เมตร นี้ ให้กลายเป็นทั้ง ถนนคนเดิน เส้นทางจักรยาน กลายเป็นจุดไฮไลท์ใหม่ของกรุงเทพมหานคร ที่สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวัน กลางคืน มั่นใจว่าพร้อมเปิดตัวภายในปี 2563 นี้

📍แลนด์มาร์กแห่งที่ 3 : “ย่านกะดีจีน”


ย่านนี้ หากเดินเลียบเลาะแม่น้ำมา จะผ่านสะพานพุทธ ลัดเลาะผ่านวัดอนงคาราม บริเวณนี้มีทั้งโบสถ์ ศาลเจ้า รวมถึง มัสยิดบางหลวง ซึ่งบริเวณนี้เราได้พูดคุยกับประชาชนในพื้นที่กับความตั้งใจในการพัฒนาพื้นที่ (ไม่เกี่ยวกับทางเลียบแม่น้ำ)

ตรงนี้สามารถเกิดเป็นที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของฝั่งธนบุรี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองใหญ่ จัดบริการนักท่องเที่ยว สร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจ แผนในอนาคตอาจจะขยายเส้นทางเชื่อมต่อฝั่งธนบุรี ถึง icon siam
โครงการนี้มีแผนเปิดใช้ภายในต้นปี 2564

เรื่องความปลอดภัย … บนพื้นที่สีเขียว ?

พื้นที่สวนสาธารณะ ถือเป็นพื้นที่สำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัย เป็นพื้นที่ของครอบครัว ทางกทม. ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย ในการออกแบบเพื่อทุกคน เช่น ดีไซน์ลิฟต์สำหรับผู้พิการ , การเพิ่มไฟส่องสว่าง, ติดตั้งตู้เขียวเพื่อลงบันทึกการตรวจของพนักงานรักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสวนสาธารณะ, ติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มเติมในพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง, จัดเจ้าหน้าที่ตรวจตรากำกับดูแลพื้นที่โดยรอบ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ

เราหวังให้เกิดพลังร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เกิดการพัฒนา ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนได้อีกทางผ่านการท่องเที่ยว

“วันนี้การพัฒนากรุงเทพมหานคร เป็นเรื่องของประชาชนที่ช่วยคิด แล้วฝ่ายบริหารจะเป็นคนทำ …สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพ คือ พลังความคิดสร้างสรรค์ของประชาชนในพื้นที่”

แนวทางเพิ่มพื้นที่สีเขียว …ในอนาคต?

พื้นที่กรุงเทพมหานคร ถูกใส่ในเชิงพาณิชย์ไปจำนวนมาก
คำถามคือ จะทำอย่างไร…ที่เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเชิงธุรกิจของภาคเอกชน?

ที่น่าสนใจ คือ ผังเมืองฉบับใหม่ (คาดว่าจะเริ่มประกาศใช้ปลายปี 2563 ) จะมีเงื่อนไขว่าใครก็ตามที่สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพ ผู้นั้นอาจจะได้รับประโยชน์สร้างอาคารได้มากกว่าปกติ เรียกว่า “โบนัส” เพื่อส่งเสริมพื้นที่สีเขียวในเมือง

นอกจากนี้ ทาง กทม. ไม่ได้หยุดคิดโครงการใหม่ๆ เรามีโครงการนำร่องเพิ่มมูลค่าพื้นที่ทำนา รวมถึง โครงการปลูกป่าพื้นที่ป่าชายเลนบางขุนเทียน ที่ทุกวันนี้น้ำทะเลกัดเสาะเข้ามาจนพื้นที่หายไปค่อนข้างมาก ระยะทางเกือบ 1 กิโลเมตร

ทิ้งท้ายกันสักนิด … อยากฝากให้ทุกคนร่วมกันเพิ่มและดูแลพื้นที่สีเขียว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเราทุกคน
===========
มาร่วมแสดงความคิดเห็น ที่ทำให้เสียงของคุณดังและมีค่า พร้อมได้ลุ้นรับถุงผ้า Bangkok Stories ดีไซน์สวยแบบนี้ เพียงหยิบมือถือ มาสแกน QR Code ตรงนี้เลย


ในระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงรูปแบบที่เหมาะสม และสอดคล้องกับงบประมาณ คาดว่าใช้เวลาก่อสร้าง 150 วัน คาดว่าจะเริ่มได้ภายในปี 63 สำหรับการพัฒนาย่านกะดีจีน ซึ่งเป็นทางเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาวประมาณ 650 เมตร เป็นการพัฒนาทางเดินเลียบแม่น้ำซึ่งมีอยู่แล้ว ไม่ได้มีโครงสร้างใหม่รุกล้ำไปในแม่น้ำแต่อย่างใด จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนพบว่าประชาชนเห็นชอบกับโครงการดังกล่าว คาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการได้ภายในปี 63 และใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 360 วัน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะสามารถเชื่อมโยงย่านกะดีจีน สะพานด้วน และคลองโอ่งอ่าง เข้าด้วยกัน
ติดต่อโฆษณา!