กทม. ชวนคนกรุงเทพ “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน”

กทม. ชวนคนกรุงเทพ “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน”

Written by ทันข่าวToday

Highlight
60+ Earth Hour กลายเป็นหนึ่งกิจกรรมที่อยู่กับประชาชนคนกรุงเทพมหานครไปแล้ว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รณรงค์ลดภาวะโลกร้อนและประหยัดพลังงาน ที่เป็นสัญลักษณ์สากลทั่วโลก

กิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน หรือ Earth Hour เริ่มขึ้นในซิดนีย์ประเทศออสเตรเลียในปี 2550 และเติบโตขึ้นเป็น "ขบวนการระดับรากหญ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อสิ่งแวดล้อม" 

ปีนี้นับเป็นปีที่ 14 แล้วที่กรุงเทพมหานคร และองค์กรเครือข่ายเข้าร่วมโครงการชวนคนกรุงร่วมกิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง ในวันเสาร์ที่ 27 มี.ค.นี้ เพื่อร่วมกันลดการใช้พลังงาน ลดภาวะโลกร้อน เพื่อให้โลกพัก ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

คุณก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้

ทันข่าว Today สรุป 60+ Earth Hour 2021 ฉบับคนกรุงเทพฯ มาให้ทางนี้เลย

1. ในปีนี้มีกำหนดจัดกิจกรรมกันอีกครั้งในวันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2564 โดยจะเริ่มปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 20:30 น. ถึง 21:30 น. พร้อมกัน 190 ประเทศทั่วโลก!!  เพื่อเป็นการแสดงพลังให้ประชาคมโลกรับรู้ถึงความตั้งใจของประเทศไทยในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

20210326-a-1.jpg

2. กทม. ร่วมกับ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ประเทศไทย และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2021)” ภายใต้แนวคิด Speak Up For Nature หรือปลุกพลังเพื่อโลกที่เรารัก ยืนหยัดเพื่อธรรมชาติมาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อโลกของเรา เริ่มต้นที่บ้านของคุณ

3. ไฮไลท์ลดภาวะโลกร้อน 4 ด้าน

กทม. ได้เชิญชวนภาคีเครือข่ายและทุกภาคส่วน ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน โดยมีการประกาศเจตจำนง (Letter of Intent) ร่วมกันขององค์กรเครือข่ายที่มีเป้าหมายดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกับกรุงเทพมหานคร

1. ด้านขนส่งมวลชน

ด้วยการใช้จักรยานหรือการขนส่งมวลชนเป็นทางเลือกในการเดินทางหน่วยงานกรุงเทพมหานคร รณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน ปั่นจักรยาน หรือการเดินแทนการนั่งรถยนต์ส่วนตัว และวางแผนในการเดินทางมากขึ้น ด้วยการจัดกิจกรรม วันคาร์ฟรีเดย์ (Car Free Day) เพื่อลดการใช้น้ำมัน ลดมลภาวะทางอากาศ  ลดมลพิษทางเสียง เป็นต้น  

2. ด้านพลังงาน

เช่น กลุ่มเซ็นทรัล การดำเนินงานในปี 2563 ใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) ทดแทนการใช้พลังงาน โดยติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop) ในศูนย์การค้าและกลุ่มธุรกิจเครือเซ็นทรัล จำนวนทั้งสิ้น 41 ศูนย์การค้า สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 34,400,000 KgCo2e บริการจุดเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EGV Charger) ให้กับลูกค้าบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้า จำนวนทั้งสิ้น 35 ศูนย์การค้าและมีแผนเพิ่มจำนวนจุดติดตั้งอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนหลอดไฟแสงสว่างในอาคาร

3. ด้านพื้นที่สีเขียว

กรุงเทพมหานคร ตั้งเป้าเพิ่มพื้นทีสีเขียวให้คนกรุง 10 ตร.ม./คน ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 พร้อมทั้งได้ทำการสำรวจพื้นที่ว่าง ที่รกร้าง และที่ดินที่ไม่มีการใช้ประโยชน์เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสวนหย่อม สวนสาธารณะ และสวนป่า โดยร่วมกับหน่วยงานเอกชน เช่น สวนปิยะภิรมย์ เขตบางกะปิ  สวนสันติพร เขตพระนคร และสวนวนาภิรมย์ร่มเกล้า เขตลาดกระบัง เป็นต้น

4. ด้านการจัดการขยะมูลฝอย  

กรุงเทพมหานครจัดให้มีระบบการเก็บรวบรวม ขนส่ง และกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล และส่งเสริมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วยการลดและคัดแยกมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดด้วยหลัก 3R การบริการจัดการมูลฝอยและของเสียอันตรายด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste Management) โดยนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และทำให้ขยะเหลือน้อยที่สุด และกำจัดที่เหลือ (Residue) ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล การแยกเศษอาหารทำปุ๋ยอินทรีย์  อาหารสัตว์ หรือแก๊สชีวภาพ เป็นต้น

20210326-a-2.jpg

4. จุดปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ในปีนี้ ประกอบด้วย 5 สถานที่หลัก ได้แก่

1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)   
2. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร  
3. เสาชิงช้า  
4. สะพานพระราม 8  
5. วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง)
 
นอกจากนี้ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้ง 50 เขต ภาคีเครือข่าย ผู้ประกอบการเจ้าของอาคาร/สถานที่ ยังร่วมปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ถึง 126 แห่ง และเจ้าของอาคารบ้านเรือนในถนน 100 สาย จะพร้อมใจกันร่วมปิดไฟและลดใช้พลังงาน

5. ทางกรุงเทพมหานคร เชื่อมั่นว่า กิจกรรม Earth Hour จะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงพี่น้องประชาชนเป็นอย่างดี และสามารถสร้างสถิติการลดใช้ไฟฟ้าได้มากกว่าเดิม 

20210326-a-3.jpg

ถ้าเราทุกคนร่วมมือกันลดใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องในทุกที่ทุกเวลา จนเป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวัน จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการลดภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน

20210326-a-4.jpg

ติดต่อโฆษณา!