12 กุมภาพันธ์ 2564
3,244

กทม. สู้วิกฤติฝุ่น PM 2.5

Written by ทันข่าวToday

Highlights 
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่รอบนี้รุนแรง เข้มข้นกว่าเดิม แม้ว่ายังอยู่ในช่วงเวลาของ COVID-19 ที่หลายกิจกรรมสะดุด หยุดชะงักลง
ฝุ่นรอบนี้มาจากไหน ? 
ทันข่าวToday ชวนมาหาคำตอบ 
5 ปัจจัยก่อฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ (ทุกปี) 

20210212-a-01.jpg

▪️ 72% มาจากระบบคมนาคมขนส่งทางบก 
▪️ 17% มาจากภาคอุตสาหกรรม 
▪️ 5% มาจากการเผาในที่โล่ง 
▪️ 2% มาจากภาคครัวเรือน 
▪️ 2.5% มาจากอื่นๆ 
ข้อมูลจาก กรุงเทพมหานคร

ฝุ่น PM 2.5 กลับมาอีกระลอก มีสัญญาณเตือนสีแดง สีแดงเข้ม หลายเขต หลายพื้นที่มีค่าเกินมาตรฐาน แม้จะเป็นช่วง Work From Home ที่การจราจรหรือกิจกรรมของผู้คนไม่มากนัก  

ฝุ่นรอบนี้มาจากไหน ?

วิกฤติฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม ที่แม้ว่าผู้คน Work From Home กันนั้น หลักๆ มาจาก 2 ปัจจัย ก็คือ 
 
1. อากาศปิด – สภาพกำลังลมอ่อน ลมพื้นผิว ที่อยู่ในระดับรอบตัวเราแผ่วลง แต่ลมที่อยู่เหนือพื้นผิวสูงขึ้นไปกว่า 900 เมตร พัดแรงมากขึ้น โดยมีทิศทางมาจาก ประเทศเพื่อนบ้านเรา ซึ่งก็คือ ประเทศกัมพูชา และพื้นที่โดยรอบ 
 
2. มลพิษข้ามแดนจาก "เพื่อนบ้าน" ซึ่งตอนนี้หลายๆ ประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันออกของไทย มีการ “เผา” ค่อนข้างมาก 

เมื่อพัดเข้าในพื้นที่กทม. ที่อากาศปิดเหมือนฝาชีครอบ ประกอบกับฝุ่นจากการคมนาคมที่อากาศไม่หมุนเวียน จึงเป็นที่มาของค่าฝุ่นที่กลับมาพุ่งสูงอีกระลอก

กางแผน 3 มาตรการแน่นๆ ของกทม. กับการจัดการปัญหาฝุ่น

ติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5

เพื่อให้ทุกคนรู้ว่ามีฝุ่นมากน้อยแค่ไหน จะได้วางแผนทำกิจกรรมและป้องกันตนเองได้ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ด้วย 
 
พร้อมกับรณรงค์ให้ทุกคนใช้แอปพลิเคชั่น AirBKK ซึ่งจะรายงานค่าฝุ่น PM 2.5 โดยตรงตามค่ามาตรฐานขององค์กรอนามัยโลก ซึ่งค่าจะแตกต่างจากการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ที่เป็นการรายงานค่าคุณภาพอากาศโดยรวม เพื่อตรวจคุณภาพอากาศได้ด้วยตนเอง พร้อมให้คำแนะนำในการป้องกันฝุ่นอย่างถูกวิธี

20210212-a-03.jpg

แก้ไขปัญหาทันที

20210212-a-02.jpg

- ออกมาตรการเข้มงวดการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 
- ฉีดพ่นน้ำล้างถนน ทางเท้า ต้นไม้ พุ่มไม้ ทุกวัน ทุกเขต  
- เช็ดทำความสะอาดป้ายรถเมล์ สะพานลอย และพื้นที่สาธารณะ 
- ควบคุมเขตก่อสร้างให้ดำเนินการป้องกันฝุ่นจากทำงาน 
- ควบคุมโรงงานที่ปล่อยควันไม่ให้เกินมาตรฐาน 
- ตรวจจับรถบรรทุกดินและวัสดุก่อสร้างที่ไม่มีการป้องกันฝุ่น 
- รณรงค์ทุกภาคส่วนให้ช่วยกันลดฝุ่น จอดดับเครื่อง ตรวจสภาพรถ ไม่เผาในพื้นที่โล่ง และแนะนำวิธีป้องกันตนเองจากฝุ่น 
- ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกวดขันวินัยรถยนต์ที่ปล่อยควันดำ 
- กทม. เข้มงวดบุคลากรลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำงานเหลื่อมเวลา

แก้ไขปัญหาฝุ่นระยะยาว

- พลังงานสะอาด 
- เพิ่มพื้นที่สีเขียว

20210212-a-04.jpg

- เพิ่มพื้นที่สีเขียวจากปี 62 จำนวน 632 ไร่ 3 งาน 31.85 ตร.วา เฉลี่ยอัตราต่อจำนวนประชากรเป็น 7.08 ตร.ม./คน 
- เพิ่มการขนส่งมวลชนที่ใช้พลังงานสะอาด ลดจำนวนคนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวและรถเมล์ได้วันละ 237,700 คน/วัน 
- เพิ่มสถานีรถไฟฟ้า BTS จากปี 62 จำนวน 28 สถานี 
- โครงการห้องเรียนปลอดฝุ่น ในสังกัด กทม.นำแผ่น HEPA สำหรับกรองฝุ่น PM 2.5 มาติดที่ห้องเรียน  
- ให้บริการเรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม พลังงานสะอาด 100% ลดฝุ่น ลดเสียง ไม่มีควัน จำนวน 10 ลำ 
- ให้บริการรถ shuttle bus ไฟฟ้า ลดรอยต่อการเดินทาง จำนวน 2 เส้นทาง ทำให้คนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น

3 แนวทางสู้ฝุ่น อยู่หมัดแบบฉบับ กทม.

วิกฤติฝุ่นในแต่ละระดับความรุนแรงที่ต่างกัน 
แนวทางการรับมือของกทม. จะแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ

ระดับ1 : สถานการณ์ฝุ่นละอองไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.

20210212-a-05.jpg

กำกับดูแลสถานที่ก่อสร้าง บริการตรวจเช็คควันดำเครื่องยนต์ฟรี ควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมในการปล่อยควันดำ การล้างถนน กวดขัน ตรวจตราไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง งดกิจกรรมกลางแจ้งของเด็กเล็ก และประชาสัมพันธ์ให้สวมหน้ากากอนามัย ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณฝุ่น 50 สำนักงานเขต และสวนสาธารณะ 20 แห่งทั่วกรุงเทพฯ เปิดคลินิกมลพิษทางอากาศในโรงพยาบาลสังกัด กทม. ฉีดพ่นละอองน้ำบนอาคารสูง เปิดสายด่วน 1584 เพื่อแจ้งเบาะแสรถควันดำ และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้บริการติดตามคุณภาพอากาศผ่านแอพพลิเคชั่น

ระดับ2 : มาตรการสำหรับสถานการณ์ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 ระหว่าง 50-75 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.

20210212-a-06.jpg

จะดำเนินการปิดการเรียนการสอนโรงเรียนสังกัด กทม. ครั้งละไม่เกิน 3 วัน การบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดในการเผา การงดกิจกรรมก่อสร้างทุกประเภทที่เกิดฝุ่น การห้ามจอดรถริมถนนในถนนหลัก ถนนรอง การจัดให้มี Safe Zone ในทุกโรงเรียน และศูนย์เด็กเล็กสังกัด กทม. เก็บขยะมูลฝอยให้แล้วเสร็จก่อนเวลา 04.00 น. และการออกหน่วยบริการสาธารณสุขและหน่วยบริการเคลื่อนที่ กทม.

ระดับ 3: มาตรการสำหรับสถานการณ์ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกิน 76 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.

20210212-a-07.jpg

จะดำเนินการสั่งหยุดการก่อสร้างรถไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 5-7 วัน ปิดการเรียนการสอนครั้งละไม่เกิน 15 วัน ให้บุคลากรของ กทม. เหลื่อมเวลาการทำงานและลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้มาตรการจับปรับจอดรถไม่ดับเครื่อง และประสานให้หน่วยงานราชการใช้ระบบขนส่งมวลชน การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้กระทำผิดในการเผา การตรวจวัดควันดำรถโดยสารไม่ประจำทางทุกคัน

เปิด 3 แนวทาง กู้สุขภาพคนไทย จากภัยเงียบฝุ่น PM 2.5

จากสถิติขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้สำรวจพบว่า ในแต่ละปีมีประชากรที่ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากมลพิษในอากาศทั่วโลกมากกว่า 6 ล้านคนในจำนวนนี้ เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ถึงร้อยละ 10 หรือประมาณ 600,000 คน 

กลุ่มไหนเสี่ยง - ไม่เสี่ยง ดูยังไง? 
ถ้าคุณอยู่ในลิสข้างล่างนี้ 

▪️ เด็ก 
▪️ ผู้สูงอายุ 
▪️ หญิงตั้งครรภ์ 
▪️ ผู้ป่วยทางเดินหายใจ 
▪️ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

กทม. ได้จัดหน่วยงานดูแล

1. สำนักการแพทย์ ได้จัดหน่วยแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ที่สูงจนมีผลกระทบต่อสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยเหลือและให้ความรู้ประชาชน แนะนำการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก  
 
รวมถึงให้คำแนะนำการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องแก่ประชาชน  
 
2. พร้อมจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีฝุ่นละออง PM 2.5 เกิน 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเกิน 3 วัน  

20210212-a-08.jpg
 

โดยสั่งการให้ 3 โรงพยาบาลเปิดคลินิกมลพิษทางอากาศที่ 
- โรงพยาบาลตากสิน (วันจันทร์ และ วันพฤหัสเวลา 08.00 – 12.00 น.) 
- โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (วันพุธ เวลา 13.00 – 15.30 น.)  
- โรงพยาบาลกลาง (วันพฤหัสบดี เวลา 13.00 – 15.30 น.) 
เพื่อให้คำปรึกษาและนำไปสู่การรักษาพยาบาลต่อไป

20210212-a-09.jpg

Facebook : สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร LINE : ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ MIL Center
Hotline 1646 สายด่วนสุขภาพ สำนักการแพทย์ บริการตลอด 24 ชั่วโมง 
ตอบปัญหาและให้คำปรึกษาเรื่องโรคที่มีสาเหตุจากฝุ่นละออง 
 
- หากต้องการปรึกษาแพทย์จะประสานต่อสายผ่านไปยังศูนย์ BFC : Bangkok Fast & Clear ศูนย์บริหารราชการฉับไว ใสสะอาด ของแต่ละโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อนัดพบแพทย์ต่อไป

สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 - ไม่ไปในพื้นที่ ที่ ค่า PM 2.5สูง - งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง เช่น การใช้ระบบขนส่งมวลชนแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว การห้ามเผาขยะหรือการเผาในที่โล่งทุกประเภท เป็นต้น  

สิ่งสำคัญที่สุดในวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ก็คือการป้องกันตนเอง ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองแบบ Real Time ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ 

www.bangkokairquality.com
www.prbangkok.com
www.air4bangkok.com
Facebook : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม 
Facebook : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ และแอปพลิเคชัน AirBKK

20210212-a-10.jpg

ติดต่อโฆษณา!