“เรื่องเล่าดีดี ของคนกรุงเทพฯ” ตอน กทม. ฝ่าวิกฤติ COVID-19 ระลอกใหม่

Highlight
COVID-19 ระลอกใหม่ ที่ Timeline ของผู้ป่วยรายใหม่ๆ นั้น ส่วนหนึ่งมาจาก Cluster ที่เชื่อมโยงกับ สมุทรสาคร ระยอง และสถานบันเทิง รวมถึง การระบาดที่เกิดขึ้นชุมชน ที่มีประวัติไปสัมผัสกับผู้ป่วยก่อนหน้า และพื้นที่เสี่ยงตามจุดต่างๆ ที่มีการอัพเดทสถานการณ์รายวัน 


ถึงแม้ว่าคลัสเตอร์หลักอย่างแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ถูกกักตัวไว้ได้ทัน แต่คนไทยที่ยังเดินทางข้ามจังหวัดทำให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งหากคลัสเตอร์หลากหลายมากขึ้นๆ และมีกิจกรรม หรือ Timeline ที่มีผู้คนเกี่ยวข้องมาก โอกาสในการแพร่กระจายของเชื้อไปตามพื้นที่ต่างๆ ก็จะยิ่งมากขึ้น ทางกรุงเทพมหานครจึงมีมาตรการป้องกันและรับมือสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ เพื่อสร้างความมั่นใจ และปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน เราชวนมาอัพเดทแนวทางรับมือวิกฤติ COVID-19 ระลอกใหม่ของ กทม. จากการสัมภาษณ์ พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แบบเจาะลึก

อัพเดท กทม. กับ 5 แนวทางรับมือโควิด

เกือบครบ 1 เดือนแล้ว ตั้งแต่การเริ่มต้นของการกลับมาระบาดอีกระลอกสำหรับโควิด-19  

 1. จัดตั้งจุดตรวจคัดกรอง 8 จุด ตามเส้นทางหลัก ตลอด 24 ชั่วโมง 
 2. คัดกรองพี่น้องประชาชนจาก 5 จังหวัดที่กำหนดเป็นเขตควบคุมสูงสุด 
 3. มาตรการเชิงรุก ค้นหาผู้ติดเชื้อตามสถานประกอบการ โรงงาน แคมป์คนงาน ตลาด และพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ในรูปแบบของการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำลาย 
 4. การนำเอา “ระบบ BKK COVID-19” มาช่วยในการประเมินความเสี่ยง 
 5. กทม. ร่วมมือกับ โรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วยเก็บตัวอย่างจากน้ำเสีย (Waste Water Survey) ตามชุนชน อีกมาตรการเชิงรุก 

20210122-a-01.jpg
ทีมคัดกรองและทีม SWAB เคลื่อนที่ ของ กทม. และกระทรวงสาธารณสุข ยังคงทำงานอย่างเข้มแข็งเพื่อเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 เชิงรุก และตาม Timeline ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงกับสถานที่ร้านอาหาร ผับ บาร์ต่างๆ รวมถึง ชุมชนที่พักอาศัย เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ และสร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชน ซึ่งนอกจากจะมีทีม SWAB ของ กทม. และกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติการค้นหาแล้ว ยังมีทีมงานจากหมอแล็บแพนด้ามาสนับสนุนการทำงานในพื้นที่เขตต่างๆ ด้วย

8 จุด คัดกรองผู้ที่เดินทางเข้า-ออกพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ไหนบ้าง? 

กรุงเทพมหานคร ได้ความร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งด่านคัดกรองผู้ที่เดินทางเข้า-ออกพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย สอบถามเหตุผลความจำเป็นในการเดินทาง
และเน้นย้ำให้ทุกด่านใช้ระบบคัดกรอง BKK COVID-19 และแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนโรคและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างถูกต้อง 

ซึ่งด่านคัดกรอง จำนวน 8 จุด คือ 
1.บริเวณใต้สะพานข้ามแยกพุทธมณฑลสาย 3 ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา 
2.หน้ามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ถนนเพชรเกษม เขตหนองแขม 
3.หน้าสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ถนนพระรามที่ 2 เขตบางขุนเทียน 
4.หน้าโรงเรียนศึกษานารีวิทยา ถนนเอกชัย เขตบางบอน 
5.หน้าสถานีบริการน้ำมัน ปตท. (ไทยวารีค้าไม้) ถนนกาญจนาภิเษก เขตตลิ่งชัน  
6.ใต้สะพานข้ามแยกมหานคร ถนนสุวินทวงศ์ เขตหนองจอก 
7.หน้าครัวเจ๊ง้อ ถนนบางนาตราด เขตบางนา 
8.หน้าคลังสินค้าประตู 8 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดอนเมือง

ขณะเดียวกันก็ได้ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือนายจ้างในพื้นที่กรุงเทพฯ เรื่องการจัดการแรงงานต่างด้าวในความดูแล ไม่เคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวออกนอกพื้นที่ เพื่อให้สามารถสืบค้นและคัดกรองได้

กทม. ประกาศ 3 เขต “พื้นที่ควบคุมสูงสุด” ที่เป็นเขตรอยต่อของพื้นที่เสี่ยงสำคัญๆ 

1. บางขุนเทียน  
2. หนองแขม  
3. บางพลัด  

20210122-a-02.jpg

5 มาตรการสำคัญสำหรับจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

▪️ ปิดสถานที่เสี่ยง
▪️ ตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดกับรอยต่อให้บันทึกข้อมูลตามมาตรการที่สาธารณสุขกำหนด
▪️ จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม
▪️ งดการเดินทางข้ามพื้นที่ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น หรือขนส่งสินค้า
▪️ ห้ามนั่งบริโภคในร้านอาหารหรือเครื่องดื่มตั้งแต่เวลา 21.00 – 06.00 น.

กทม. ชวนคนกรุงเทพฯ ใช้ BKK COVID-19 ประเมินความเสี่ยงโควิด-19 แบบฟรี !!

“ระบบ BKK COVID-19” ที่มักได้ยินบ่อยๆ หากใครเดินทางไปยังจุดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง เป็นระบบบริการฟรีทุกขั้นตอนจากกรุงเทพมหานคร สำหรับประชาชนที่สงสัยไม่แน่ใจว่าเสี่ยงติด COVID-19 หรือไม่ ซึ่งความรู้สึกกังวลของคนทั่วประเทศ กับสถานการณ์โควิดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งช่วยประเมินอาการง่ายๆ  ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย 

ผ่าน เว็บไซต์ BKK COVID-19 (http://bkkcovid19.bangkok.go.th)

20210122-a-03.jpg

ขั้นตอนการการประเมินของ ระบบ BKK COVID-19 มีอะไรบ้าง ?  
1) ประเมินประวัติเสี่ยง 
เช่น เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง สัมผัสใกล้ชิดบุคคลที่มาจากพื้นที่ที่มีการระบาด สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่เข้าข่ายหรือได้รับการยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 หรือเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงภายในประเทศ 
2) ประเมินอุณหภูมิหรือประวัติว่ามีไข้ 
3) ประเมินอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ และหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก 

เมื่อทำแบบประเมินเสร็จแล้ว ระบบจะทำการประเมินและจัดกลุ่มว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงระดับใดพร้อมให้ความรู้ในการปฏิบัติตนตามระดับความเสี่ยงนั้นๆ ที่จะแบ่งออกเป็น  4 กลุ่ม (เขียว - เหลือง - ส้ม และแดง )

กลุ่มที่ 1 กลุ่มไม่พบประวัติเสี่ยง [สีเขียว]

 
20210122-a-04.jpg
  
จะได้รับข้อแนะนำในการดูแลตนเองเบื้องต้นด้วยการ  ล้างมือบ่อยๆ ทานร้อน ช้อนส่วนตัว สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างจากผู้อื่น ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

กลุ่มที่ 2 กลุ่มเฝ้าระวัง [สีเหลือง]  


20210122-a-05.jpg
อาจเป็นโรคอื่น เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ให้สังเกตอาการภายใน 48 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับข้อแนะนำในการดูแลตนเองเบื้องต้นเช่นเดียวกับกลุ่มสีเขียว แต่เพิ่มในเรื่องของการหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือสถานที่แออัด

กลุ่มที่ 3 กลุ่มเสี่ยง [สีส้ม] 


20210122-a-06.jpg
จะได้รับคำแนะนำสำหรับตนเองและบุคคลใกล้ชิด และสามารถบันทึกข้อมูลเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในระบบได้ โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ

กลุ่มที่ 4 กลุ่มเข้าเกณฑ์สงสัย [สีแดง]  


20210122-a-07.jpg
 
ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย กักตัวเองในบ้านทันที และควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยบันทึกข้อมูลเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในระบบ หรือติดต่อทางโทรศัพท์ ได้แก่ 
▪️ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร โทร.1646 
▪️สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร.1669
 
หากเจ้าหน้าที่ประเมินแล้วว่าอยู่ในกลุ่มที่จะต้องเข้ารับการตรวจโดยด่วน ทางระบบจะจัดรถพยาบาลจากศูนย์เอราวัณของกรุงเทพมหานครเพื่อเข้าไปรับผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลและทำการตรวจเชื้อหาโควิด-19 โดยเร็วที่สุด

ทุกขั้นตอน ฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่ายให้กังวลใจ 
และไม่ต้องห่วงว่าข้อมูลส่วนตัวของท่านจะไม่ถูกเปิดเผย ทางเราจะเก็บเป็นความลับทางการแพทย์เท่านั้น เพียงให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ให้คำแนะนำพร้อมให้ความช่วยเหลือ 
20210122-a-08.jpg

รองผู้ว่า กทม. ฝากทิ้งท้ายว่า ... ขอให้มั่นใจว่ากรุงเทพมหานครและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะพยายามอย่างเต็มที่ในทุกวิถีทางเพื่อดูแลประชาชนทุกท่านอย่างดีที่สุด เพื่อผ่านพ้นวิกฤติสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 ไปด้วยกัน 

สิ่งที่ลืมไม่ได้ ก็คือ “การ์ดอย่าตก” “สวมหน้ากากอนามัย - แยกระยะห่าง - หมั่นล้างมือ - กินร้อนช้อนส่วนตัว” แล้วทำให้ได้อย่างสม่ำเสมอ

======================

ติดต่อโฆษณา!