06 พฤษภาคม 2567
132

ฟินแลนด์ - เดนมาร์ก วางเป้าหมายเป็นประเทศปล่อยมลพิษติดลบ

ฟินแลนด์ - เดนมาร์ก วางเป้าหมายเป็นประเทศปล่อยมลพิษติดลบ

ฟินแลนด์และเดนมาร์กได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ซึ่งในปัจจุบันทั้งสองประเทศกําลังเดินหน้าสู่แผนการที่ก้าวล้ำไปกว่าการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ แม้จะเผชิญกับแรงกดดันทางการเมืองสีเขียวที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากรอบด้าน


ทั้งสองประเทศวางเป้าหมายใหม่ไว้ที่ "การปล่อยมลพิษเชิงลบสุทธิ" ซึ่ง หมายความว่า ประเทศจะต้องสามารถ ดึงคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากชั้นบรรยากาศมากกว่าปริมาณที่ปล่อยออก สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งถ้าฟินแลนด์และเดนมาร์กสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ ทั้งสองประเทศจะไม่เพียงแต่หยุดมีส่วนร่วมในปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังช่วยชะลอภาวะโลกร้อนอีกด้วย


โดยฟินแลนด์  ประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกเป็นปีที่เจ็ดติดต่อกัน ได้ตั้งเป้าที่จะเป็นประเทศที่มีรายได้สูงประเทศแรกที่บรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2035 และ การปล่อยมลพิษติดลบสุทธิภายในปี 2040


ส่วนทางด้านเดนมาร์ก ประเทศที่มีความสุขเป็นอันดับสองของโลก ตั้งเป้าเป็นศูนย์สุทธิภายในปี 2045 และติดลบสุทธิภายในปี 2050


Lars Aagaard รัฐมนตรีกระทรวงสภาพภูมิอากาศของเดนมาร์กกล่าวว่าเดนมาร์กตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขยายป่าไม้ และลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งจะช่วยกําจัดคาร์บอนมากกว่าที่ปล่อยออกมาในแต่ละปี


อย่างไรก็ดีแรงกดดันทางด้านการเมืองก็เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเป็นไปได้ยาก ทั้งความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรื่องสภาพอากาศ ซึ่งความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นทั้งในภูมิภาคและการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศด้วย


ดังจะเห็นได้จากในสหรัฐอเมริกาที่ อดีต ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลนโยบาย เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพสภาพอากาศและได้ดึงสหรัฐฯ ออกจาก “ข้อตกลงด้านสภาพอากาปารีส” ก่อนที่ประธานาธิบดี  โจ ไบเดน จะกลับเข้าสู่ข้อตกลงในภายหลัง


Kai Mykkänen รัฐมนตรีกระทรวงภูมิอากาศของฟินแลนด์กล่าวว่าฟินแลนด์เป็นประเทศเล็กๆ ที่มีส่วนแบ่งการปล่อยมลพิษทั่วโลกของเราอยู่ที่ประมาณ 0.1% ดังนั้น ความพยายามของฟินแลนด์เพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้  แต่หากฟินแลนด์สามารถสร้างนวัตกรรม ใหม่ๆ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็หวังว่าสักวันหนึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถกระจายไปทั่วโลก และเป็นส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้



ติดต่อโฆษณา!