22 ธันวาคม 2563
1,121

กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ จัดการบรรยายหัวข้อ "Thailand's health and medical cooperation with Latin American and the Caribbean countries"

Highlight
กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
จัดการบรรยายหัวข้อ “Thailand’s health and medical cooperation with Latin American and the Caribbean countries” เพื่อให้คณะทูตลาตินอเมริกาในประเทศไทยทราบเกี่ยวกับนวัตกรรมของไทย และความร่วมมือกับต่างประเทศในการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการผลิตเครื่องช่วยหายใจเคลื่อนที่ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19



กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดการบรรยายหัวข้อ “Thailand's health and medical cooperation with Latin American and the Caribbean countries” เพื่อให้คณะทูตลาตินอเมริกาในประเทศไทย ทราบถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ของไทย และความร่วมมือระหว่างประเทศในการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเครื่องช่วยหายใจเคลื่อนที่ ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19

นายวิชชุ เวชชาชีวะ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เริ่มต้นมาจากการที่มีสถานทูตชิลี ประจำประเทศไทย ติดต่อทางสถาบัน และทางเราก็ได้รับทราบว่ามีการติดต่อจากช่องทางต่างๆ รวมทั้งสถานทูตไทยของเราในชิลีด้วย ในการที่เราเข้าไปปฏิสัมพันธ์และประสานงานกับทางสถาบัน ก็ทำให้เรารับทราบว่า บุคลากรทางการแพทย์ของเรามีขีดความสามารถสูง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เครื่องช่วยหายใจที่คุณหมออนวัช และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พัฒนาขึ้นมีที่มาจากการที่ทางสถาบันได้พิมพ์เขียวของสถาบัน MIT ซึ่งพิมพ์เขียวต่อยอดนี่ครับ คือการที่เราได้มอบให้กับชิลี เพราะชิลีก็เป็นหนึ่งในประเทศลาตินอเมริกา ที่ประสบปัญหาโควิด-19 ค่อนข้างจะอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งที่เราก็ร่วมภูมิใจกับทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการที่ประเทศไทยสามารถมีบทบาทในการให้การสนับสนุนเรื่องของอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือต้นแบบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับทางชิลี ซึ่งต่อมาประเทศลาตินอเมริกาอื่นๆ ก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

นายแพทย์อนวัช เสริมสวรรค์ รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า จริงๆ เราทำหลายๆ เรื่องนะครับ แต่เครื่องช่วยหายใจเป็นเหมือเรือธงของเรา ที่เราคิดว่าผู้ป่วยโควิด-19 เนี่ยอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจล้มเหลว โดยหลักการเราได้พิมพ์เขียวมาจากทาง MIT ทำไมต้องใช้พิมพ์เขียว ก็เพราะว่าเราต้องติดตามมาตรฐานของ MIT ซึ่งตรงนี้เราก็ทำขึ้นมาและก็ได้รับการทดสอบมาตรฐานทั้งไฟฟ้าและผู้ผลิต ก็เป็นผู้ผลิตโดยมีทะเบียนของ อย. หรือ FDA รับรองครับ รุ่นที่เอาไปใช้แล้วกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นรุ่น KNIN II ซึ่งตรงนี้จะมีตัวมอนิเตอร์มองได้ชัดเจนกว่า และเรายังมีอื่น ๆ อีก อย่างเช่น หมวกสำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องใช้มาส์กที่รัดหน้ากาก อันนี้ก็จะเป็นประโยชน์ และก็มีเครื่องกรองอากาศ หรือว่า Air Purifying ซึ่งเราใช้กับทันตแพทย์ 

ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาในช่วงโควิด-19 ในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย อาทิ การให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ ประเทศปานามา และการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการใช้แอปพลิเคชันในการติดตามข้อมูลผู้เดินทางเข้าไทยแก่เปรู ตลอดจนการส่งมอบหน้ากากผ้าโดยภาคเอกชนไทยผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก ให้แก่ชาวชิลีและชาวปานามา
ติดต่อโฆษณา!