28 มิถุนายน 2564
7,060

กระบวนการจัดหา - ขนส่ง “ก๊าซธรรมชาติ”

HighLight

การขนส่ง “ก๊าซธรรมชาติ” ทางเรือ จะปรับสถานะก๊าซให้อยู่ในรูปแบบของเหลว หรือที่เรียกว่า LNG ซึ่งประกอบด้วยก๊าซมีเทนมากกว่า 90% ใช้วิธีลดอุณหภูมิลง -160 องศาเซลเซียส เพื่อลดปริมาตรลง 600 เท่า บรรจุในถังกันความร้อน ทำให้ขนส่งได้ในปริมาณมาก และระยะทางไกล

การเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย ทำให้เกิดความต้องการใช้ “พลังงานไฟฟ้า”

ซึ่ง “ก๊าซธรรมชาติ” มีบทบาทสำคัญต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

การจัดหาก๊าซธรรมชาติให้ได้ปริมาณ “เพียงพอและมั่นคง” จึงมีความสำคัญอย่างมาก


กระบวนการจัดหา – ขนส่ง “ก๊าซธรรมชาติ”

1. สำรวจ

2. ขุดเจาะ

3. นำขึ้นมาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น อ่าวไทย , ประเทศเมียนมา

4. ขนส่งไปสู่ผู้ใช้ด้วยช่องทางต่าง ๆ

4.1 ท่อก๊าซธรรมชาติ

20210628-a-02.jpg

4.2 ขนส่งทางเรือในรูปแบบของเหลว (Liquefied Natural Gas : LNG)
การขนส่ง “ก๊าซธรรมชาติ” ทางเรือ จะปรับสถานะก๊าซให้อยู่ในรูปแบบของเหลว หรือที่เรียกว่า LNG ประกอบด้วยก๊าซมีเทนมากกว่า 90% ใช้วิธีลดอุณหภูมิลง -160 องศาเซลเซียส เพื่อลดปริมาตรลง 600 เท่า บรรจุในถังกันความร้อน ทำให้ขนส่งได้ในปริมาณมาก และระยะทางไกล

20210628-a-03.jpg


5. ประเทศผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ รับก๊าซธรรมชาติเหลวที่ท่าเรือ และถังจัดเก็บ พร้อมกับมีกระบวนการเปลี่ยนสถานะกลับไปเป็นก๊าซ เพื่อส่งเข้าโครงข่ายระบบท่อ สู่ผู้ผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรม


20210628-a-01.jpg


การดำเนินธุรกิจภาคพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และพลังงานทดแทน มีภาครัฐกำกับดูแลกลไกการค้าเสรี ทั้งด้านราคาและการแข่งขัน ให้ดำเนินไปอย่างเป็นธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีทางเลือกด้านคุณภาพและบริการ รวมถึงการเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว

ติดต่อโฆษณา!