28 ตุลาคม 2566
1,469
ค่าไฟปีหน้า จ่อทะลุ 4 บาทต่อหน่วย จากราคาพลังงานแพงขึ้น
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการ สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวถึงแนวโน้มค่าไฟฟ้าปี 2567 ว่าจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น
ทั้งนี้ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น จากปัญหาวิกฤติโควิด และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ผ่านมา ทำให้ราคานำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มีราคาสูงมาก
แม้ว่าก๊าซธรรมชาติส่วนหนึ่งจะมาจากอ่าวไทย แต่ราคาก็มีการปรับราคาตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลถึงทั้งค่าน้ำมันที่แพงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นระดับ 5-10 สตางค์
สำหรับประเทศไทยต้องดูว่าปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จากแหล่งเอราวัณที่กำลังการผลิตจะกลับมาตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ยังคงต้องอิงกำลังการผลิตที่ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันก่อน
ทั้งนี้หากต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซฯ เข้ามาเพิ่ม ต้นทุนก็จะผันแปรไปตามราคาก๊าซ ซึ่งหากราคาไม่แพงก็จะกระเทือนไม่มากนัก และปัจจัยสงคราม กรณีสงครามอิสราเอลกับฮามาสบานปลาย ก็จะยิ่งกระทบกับราคาแน่นอน
สำหรับปริมาณก๊าซในอ่าวไทยที่หายไป จะต้องดูว่าช่วงต้นปี 2567 จะต้องเติมเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปีปริมาณก๊าซในอ่าวไทยอาจเพิ่มขึ้นมาบ้าง ก็จะช่วยให้ลดปริมาณการนำเข้าได้ในระดับหนึ่ง
“ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อทำตัวเลขค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) งวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2567) ซึ่งจากคาดการณ์แนวโน้มต้นทุนอาจจะแพงกว่างวดปัจจุบัน (ก.ย.- ธ.ค. 2566) นิดหน่อย ถือเป็นการมองไปข้างหน้า เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์”
โดยขณะนี้ราคานำเข้า LNG อยู่ที่ประมาณ 17-18 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ซึ่งอยู่ระหว่างทะยอยซื้อเข้ามาเสริม เพราะหากซื้อมาในปริมาณที่มาก ปัญหาคือไม่มีที่เก็บ จึงบอกได้เพียงแค่ว่าแนวโน้วต้นทุนแพงกว่างวดปัจจุบันแน่นอน จากปัจจัยราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจมาจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ นายคมกฤช ระบุ
“ต้นทุนค่าไฟฟ้า ปัจจุบัน หากไม่ทำอะไรเลย ก็สูงกว่า 4 บาทต่อหน่วยอยู่แล้ว แต่เมื่อมีนโยบายภาครัฐเข้ามาก็ช่วยให้ค่าไฟงวดสุดท้ายของปี 2566 อยู่ที่ 3.99 บาทต่อหน่วย
ฉะนั้น ก็ต้องรอคำนวณต้นทุนค่าไฟที่ชัดเจนอีกที ซึ่ง กกพ.จะต้องคำนวณให้แล้วเสร็จในช่วงกลางเดือน พ.ย. 2566 นี้ และส่งข้อมูลให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไม่เกิน 1 ธ.ค. 2566 ก่อนประกาศใช้ แต่เบื้องต้นแนวโน้มต้นทุนค่าไฟฟ้ายังเป็นขาขึ้น”
โดยสรุป ต้นทุนค่าไฟฟ้าในงวดแรกปี 2567 จะกลับไปต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วยเหมือนงวดสุดท้ายของปี 2566 ได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล เพราะ กกพ.เป็นเพียงหน่วยงานกำกับดูแล มีหน้าที่พิจารณาต้นทุนค่าไฟฟ้า โดยการจะกดต้นทุนค่าไฟฟ้าลงเป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาล
รวมถึงการเข้ามาช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงาน เช่น กฟผ. และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วย อีกทั้งต้องดูว่า กฟผ.ยังสามารถแบกรับภาระหนี้ยืดออกไปได้อีกหรือไม่ จากปัจจุบันมีภาระหนี้ที่ดูแลแทนประชาชนกว่า 1.3 แสนล้านบาท, นายคมกฤช ระบุ
ที่มา
https://www.energynewscenter.com/สำนักงาน-กกพ-ส่งสัญญาณค/
ทั้งนี้ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น จากปัญหาวิกฤติโควิด และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ผ่านมา ทำให้ราคานำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มีราคาสูงมาก
แม้ว่าก๊าซธรรมชาติส่วนหนึ่งจะมาจากอ่าวไทย แต่ราคาก็มีการปรับราคาตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลถึงทั้งค่าน้ำมันที่แพงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นระดับ 5-10 สตางค์
สำหรับประเทศไทยต้องดูว่าปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จากแหล่งเอราวัณที่กำลังการผลิตจะกลับมาตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ยังคงต้องอิงกำลังการผลิตที่ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันก่อน
ทั้งนี้หากต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซฯ เข้ามาเพิ่ม ต้นทุนก็จะผันแปรไปตามราคาก๊าซ ซึ่งหากราคาไม่แพงก็จะกระเทือนไม่มากนัก และปัจจัยสงคราม กรณีสงครามอิสราเอลกับฮามาสบานปลาย ก็จะยิ่งกระทบกับราคาแน่นอน
สำหรับปริมาณก๊าซในอ่าวไทยที่หายไป จะต้องดูว่าช่วงต้นปี 2567 จะต้องเติมเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปีปริมาณก๊าซในอ่าวไทยอาจเพิ่มขึ้นมาบ้าง ก็จะช่วยให้ลดปริมาณการนำเข้าได้ในระดับหนึ่ง
“ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อทำตัวเลขค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) งวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2567) ซึ่งจากคาดการณ์แนวโน้มต้นทุนอาจจะแพงกว่างวดปัจจุบัน (ก.ย.- ธ.ค. 2566) นิดหน่อย ถือเป็นการมองไปข้างหน้า เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์”
โดยขณะนี้ราคานำเข้า LNG อยู่ที่ประมาณ 17-18 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ซึ่งอยู่ระหว่างทะยอยซื้อเข้ามาเสริม เพราะหากซื้อมาในปริมาณที่มาก ปัญหาคือไม่มีที่เก็บ จึงบอกได้เพียงแค่ว่าแนวโน้วต้นทุนแพงกว่างวดปัจจุบันแน่นอน จากปัจจัยราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจมาจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ นายคมกฤช ระบุ
“ต้นทุนค่าไฟฟ้า ปัจจุบัน หากไม่ทำอะไรเลย ก็สูงกว่า 4 บาทต่อหน่วยอยู่แล้ว แต่เมื่อมีนโยบายภาครัฐเข้ามาก็ช่วยให้ค่าไฟงวดสุดท้ายของปี 2566 อยู่ที่ 3.99 บาทต่อหน่วย
ฉะนั้น ก็ต้องรอคำนวณต้นทุนค่าไฟที่ชัดเจนอีกที ซึ่ง กกพ.จะต้องคำนวณให้แล้วเสร็จในช่วงกลางเดือน พ.ย. 2566 นี้ และส่งข้อมูลให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไม่เกิน 1 ธ.ค. 2566 ก่อนประกาศใช้ แต่เบื้องต้นแนวโน้มต้นทุนค่าไฟฟ้ายังเป็นขาขึ้น”
โดยสรุป ต้นทุนค่าไฟฟ้าในงวดแรกปี 2567 จะกลับไปต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วยเหมือนงวดสุดท้ายของปี 2566 ได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล เพราะ กกพ.เป็นเพียงหน่วยงานกำกับดูแล มีหน้าที่พิจารณาต้นทุนค่าไฟฟ้า โดยการจะกดต้นทุนค่าไฟฟ้าลงเป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาล
รวมถึงการเข้ามาช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงาน เช่น กฟผ. และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วย อีกทั้งต้องดูว่า กฟผ.ยังสามารถแบกรับภาระหนี้ยืดออกไปได้อีกหรือไม่ จากปัจจุบันมีภาระหนี้ที่ดูแลแทนประชาชนกว่า 1.3 แสนล้านบาท, นายคมกฤช ระบุ
ที่มา
https://www.energynewscenter.com/สำนักงาน-กกพ-ส่งสัญญาณค/