04 กันยายน 2566
1,346

ค่าไฟฟ้าครึ่งหลังปี 2566 มีโอกาสจะถูกลงหรือไม่

คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เผยค่าไฟที่คนทั่วไปมีความรู้สึกว่าราคาแพงขึ้นในปีนี้ เพราะว่า ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงต้นปี เป็นช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนถ่ายสัมปทาน ทำให้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยลดลง รวมทั้งได้รับผลกระทบจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน

อันที่จริงค่าไฟฟ้าในปัจจุบันสะท้อนต้นทุน ในการผลิตใช้ไฟ คิดมาจากปัจจัยอะไรบ้าง ซึ่งก็คือการนำเอาต้นทุนหน่วยผลิตทั้งหมด มารวมกับจำนวนผู้ใช้ไฟ แล้วนำมาหารกัน ก็จะได้เป็นต้นทุนต่อหน่วย ในฝั่งการผลิต เมื่อผลิตแล้วก็จะส่งมาในระบบส่ง ระบบจำหน่าย ก็จะถึงมือผู้ใช้ไฟ ในอดีตอยู่ที่ 3.70 บาทต่อหน่อย ในสภาวะปกติ 

20230904-a-03.jpg

▪️ ระบบค่าไฟจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือค่าไฟฐาน และอีกส่วนหนึ่ง คือ Ft

ค่าไฟฐาน คือต้นทุน ณ ปีนั้น ๆ ตามที่ระบุไว้ เช่น ครั้งสุดท้ายที่ระบุว่ามี ปี 2558 ต้นทุนอะไรที่แตกต่างจากที่ระบุไว้ในปี 2558 นั่นคือค่า Ft 

ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าของไทย หลัก ๆ ใช้เชื้อเพลิงมาจาก ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และ พลังงานชีวมวล พลังงานไอน้ำ

แก๊สธรรมชาติ หลัก ๆ มาจากอ่าวไทย เมียนมา และอีกส่วนมาจากสัญญา LNG ระยะยาว เช่น จากอ่าวไทยประมาณ 3 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากเมียนมาอีกประมาณ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุต และจาก LNG รวมกันแล้วกว่า 4 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

มีประเด็นในการเปลี่ยนสัมปทานในแหล่งเอราวัณในอ่าวไทย  รายเก่าหมดอายุสัมปทานเดือนมีนาคม 2565 เขาไม่เริ่มกิจกรรมในการขุด แก๊สธรรมชาติร่อยหรอลงไป จาก 800 เหลือ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต 

รายใหม่ที่เข้ามา ก็ต้องเริ่มต้นสำรวจแหล่งพลังงานกันใหม่ ซึ่งคาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติกลางปีในปี 2567

ก๊าซในส่วนที่หายไปถูกทดแทนด้วย LNG จากตลาดโลก หรือ Spot LNG จากตลาดจร  เช่น ซื้อจากเรือที่กำลังแล่นอยู่เข้ามาเติม ไม่ได้มีสัญญาระยะยาวนำเข้ามา เนื่องจากเป็นเรื่องกะทันหัน 

ในช่วงปลายปี 2564 ถึงต้นปี 2565 เกิดสงครามรัสเซีย - ยูเครน หลายประเทศในยุโรปจากปกติที่เคยใช้แก๊สจากรัสเซีย เกิดมีการ Strike ยกเลิกการนำเข้าและหันมาใช้ก๊าซ LNG จากตลาดจรด้วยเช่นกัน ทำให้ราคา LNG  สูงขึ้นอย่างผิดปกติ จาก 13-20 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาในช่วงดังกล่าวพุ่งขึ้นเป็น 50 ดอลลาร์สหรัฐ

ดังนั้นภาวะสงครามจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนดันราคาค่าไฟในช่วงปี 2565-2566 ให้สูงขึ้น นอกเหนือจากเรื่องเปลี่ยนถ่ายสัมปทาน 

▪️ ราคาพลังงานได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว 

คุณคมกฤช ระบุว่า ราคาก๊าซที่เคยอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นปี 2023 เริ่มลดลง แต่การซื้อก๊าซเก็บไว้ก็เป็นความเสี่ยง ถ้าก๊าซธรรมชาติในแหล่งเอราวัณขึ้นมาเร็ว ก็จะลดการนำเข้า LNG ทำให้ต้นทุนในการผลิตถูกลง 

หลายคนคิดว่าเป็นเพราะแผนบริหารจัดการสำรองไฟผิดพลาดหรือไม่ จึงทำให้ต้องจ่ายค่าไฟแพงในเรื่องนี้ 

คุณคมกฤช อธิบายว่า ถ้าหากเทียบค่าไฟฐานกับค่าไฟปัจจุบันแล้ว ค่าไฟฐานอยู่ที่ปี 2558 ค่าความพร้อมจ่ายสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนระบบไฟฟ้าให้มีความเสถียรเพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ได้ 24 ชั่วโมง ตัวเลขอยู่ที่ 67 สตางค์ 

ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามสภาพเนื่องจากการใช้ไฟฟ้าน้อยลงในช่วงโควิด ซึ่งโรงไฟฟ้่าที่เข้าใหม่และบางส่วนที่ปลดออกไป ตัวเลขเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย อยู่ที่ประมาณ 70 สตางค์ กับตัวเลขค่าความพร้อมจ่าย แต่ถ้าดูตัวเลขค่าพลังงาน ค่าอะไรต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นเป็นบาท ซึ่งค่อนข้างต่างกัน

▪️ การบริหารจัดการเพื่อช่วยเหลือประชาชน 

ในส่วนเชื้อเพลิงที่หายไป ไม่ได้ใช้ LNG ทดแทนทั้งหมด ก็ได้ใช้กลไกอื่น เช่น น้ำมัน ซึ่งในขณะนั้นราคาถูกกว่า LNG และการใช้ถ่านหิน หรือพลังงานจากต่างประเทศ เพื่อให้ LNG ให้น้อยที่สุด 

ในส่วนกำลังผลิตที่ช่วงหนึ่งหายไปเนื่องจากโควิด และยังไม่กลับมาก็จะมีการปรับแผนการผลิตให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ในส่วนประชาชนก็มีมาตรการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยจากรัฐบาลที่ใส่เงินงบประมาณเข้ามา หรือการช่วยในระบบด้วยกันเอง โดยการดึงงบเข้ามาสนับสนุน รวมทั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันก็ไม่ได้เก็บเงินเข้ากองทุนบางส่วน ทำให้ช่วยลดค่าไฟได้ 

ในช่วงที่ค่าไฟแพง พลังงานสะอาดซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่า  กกพ. ยังสนับสนุนพลังงานสะอาดต่อไปอีกหรือไม่ ?

ในเรื่องนี้คุณคมกฤช กล่าวว่าแม้พลังงานสะอาดจะมีต้นทุนที่สูงกว่า แต่เป็นเทรนด์โลกที่ต้องการให้มีความร่วมมือในการลดคาร์บอน ดังนี้จะมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแบบสมดุล 

20230904-a-04.jpg

▪️ การผลิตพลังงานสะอาด มี 2 ส่วน 

1. ถ้าผลิตเพื่อใช้เองที่บ้าน สามารถทำได้เลย 
2. ส่วนที่ขายอยู่ในระบบ อาจจะต้องเป็นไปตามแผนการการพัฒนาไฟฟ้าประเทศ เพื่อดูว่าปริมาณการผลิตไฟโดยรวมเป็นอย่างไร และจะนำไฟสีเขียว (Green Tarriff) แบ่งขายให้ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการสนับสนุนผู้ส่งออกโดยเฉพาะ

สำหรับความคืบหน้าการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ในปี 2023 เป็นเรื่องนโยบาย เบื้องต้นเป็นการปรับกำลังการผลิตให้เหมาะสมและปรับให้รองรับพลังงานสีเขียวมากขึ้น ด้าน กกพ.มีหน้าที่กำกับให้เป็นไปตามแผน มีอะไรที่จะสามารถสนับสนุนการใช้พลังงานสีเขียว  ละสนับสนุนผู้ส่งออกพลังงานสีเขียวอย่างเต็มที่

▪️ การใช้ไฟฟ้าของคนไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติหรือยัง 

จากสถิติ พ.ศ. 2562 - 2563 การใช้ไฟฟ้าลดลง และนิ่ง และเริ่มกลับมาสูงขึ้นในปี 2565 - 2566 ซึ่งได้เตรียมความพร้อมรับมือการบริหารจัดการไฟฟ้าให้เพียงพอ บางประเทศบริหารจัดการไม่พร้อมก็เกิดไฟฟ้าดับขึ้นบ้าง 

ส่วนอื่น ๆ ที่ต้องเตรียมรับมือไว้ด้วย เช่น ปัญหาภัยแล้ง ก๊าซธรรมชาติธรรมชาติที่หายไป ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมไว้เต็มที่ ใช้ไฟได้ 100% 

20230904-a-05.jpg

▪️ คำแนะนำสำหรับประชาชน

คำแนะนำสำหรับประชาชนก็คือ ไทยเป็นประเทศที่ยังโชคดี เพราะแสงอาทิตย์ใช้ได้เต็มที่ มีแก๊สธรรมชาติที่นำมาใช้ได้บางส่วน มั่นใจได้ว่าในอนาคตเราจะเดินไปสู่พลังงานสีเขียวได้อย่างมั่นคง

“ไฟฟ้าทุกหน่วยแลกมาด้วยการสูญเสียด้านสิ่งแวดล้อม จะสูญเสียมากหรือน้อยอยู่ที่กระบวนการผลิต จึงขอให้ใช้ไฟฟ้าด้วยความประหยัด และเห็นความสำคัญของไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้มากทีเดียว” คุณคมกฤช ระบุ

ติดต่อโฆษณา!