25 ธันวาคม 2563
1,598

เปิดผลงาน และมุมมองด้านพลังงานทรงคุณค่า ของ "มนูญ ศิริวรรณ" ผู้เชี่ยวชาญพลังงาน ที่จากไป

เปิดผลงาน และมุมมองด้านพลังงานทรงคุณค่า ของ "มนูญ ศิริวรรณ" ผู้เชี่ยวชาญพลังงาน ที่จากไป
Highlight
คุณ มนูญ ศิริวรรณ ถือเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน  ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิทยาการพลังงาน กระทรวงพลังงาน และประธานเครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้า ได้จากไปอย่างกระทันหันด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเมื่อวันที่ 22 .. 63 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของวงการพลังงานไทย


โดยบทบาทสุดท้ายในฐานะประธานเครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้า
คุณ มนูญ ตั้งใจว่าเครือข่ายสื่อมวลชนที่จัดตั้งขึ้น จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคม 

▪️ ในการให้ข้อมูลด้านพลังงานทางเลือกที่ถูกต้องแก่ชุมชน 
▪️ เป็นตัวเชื่อมที่จะทำให้ชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับนโยบายต่าง ของภาครัฐได้มากขึ้น 
▪️ ทำให้คนในชุมชนสามารถที่จะร่วมกันผลักดันให้เกิดโครงการต่าง ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนของตัวเองได้ในอนาคต

ขณะเดียวกัน นายมนูญยังเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และรองประธานคณะกรรมาธิการด้านพลังงาน
ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดัน ...กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ..2562
โดยเฉพาะการกำหนดบทบาทกรรมการบริหารกองทุนที่ต้องทำแผนรองรับวิกฤติการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง
และแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
นอกเหนือจากภารกิจบริหารเงินกองทุน ข้อสำคัญ คือ กำหนดเพดานการเก็บเงิน
และเพดานการกู้เงินสำหรับกองทุนให้เหมาะสม ป้องกันไม่ให้นักการเมืองนำไปใช้แสวงหาประโยชน์
จนต้องเป็นหนี้แสนล้านแบบในอดีต พร้อมกับกำหนดแนวทางการลดการอุดหนุนน้ำมันชีวภาพลงภายใน 3 ปี

และในอีกบทบาทที่คนส่วนใหญ่คุ้ยเคย ก็คือ งานเขียน และมุมมองด้านพลังงาน ในหน้าสื่อต่างๆ
ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในมุมมองด้านพลังงานที่เข้าใจง่ายที่สุดในยุคนี้และมีเหตุผลมากที่สุด

ทันข่าว ขอหยิบเอาผลงานเขียน และมุมมองด้านพลังงานที่น่าสนใจ ของคุณ มนูญ ศิริวรรณ
ต่อทิศทางพลังงานในปี 64 รวมถึง ความเห็นปฏิรูปประเทศ
ด้านพลังงานที่ง่ายต่อความเข้าใจ
มาให้อ่านในแบบสรุปๆ กัน

ผลงานชิ้นสุดท้ายในนามคอลัมนิสต์พลังงานรอบทิศ หน้าเศรษฐกิจ
นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ธ.ค. 63 หัวข้อ “แนวโน้มราคาน้ำมันปีหน้า


ราคาน้ำมันในช่วงใกล้สิ้นปีพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยปรับตัวขึ้นมา 7 สัปดาห์ติดต่อกัน
สู่ระดับสูงสุดในรอบ
9 เดือนนับจากต้นเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ราคาน้ำมันดิบ BRENT
ปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 30% จากระดับ 40 $/bbl. มาอยู่ที่ระดับ 50 $/bbl. 
ทำให้เกิดคำถามว่าราคาน้ำมันจะยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในปีหน้าหรือไม่? 

ที่คุณ มนูญ ทิ้งท้ายในบทความว่า ราคาน้ำมันในปีหน้า
น่าจะยังคงผันผวนต่อไป
แต่สูงสุดน่าจะไม่เกิน 60 $/bbl. !!!

จากหลายปัจจัยบวกเกี่ยวข้องกับวัคซีนว่าจะสามารถยับยั้งการแพร่ระบาด
ของโควิด
-19 ได้ และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของความต้องการพลังงานที่สูงขึ้น

ที่ต้องติดตามว่า ปัจจัยบวกเหล่านี้จะยังคงส่งผลดีต่อเนื่องมาจนถึงปี 2564 หรือไม่
โดยเฉพาะประสิทธิภาพของวัคซีนในการยับยั้งการระบาดของโควิด-19 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
และความต้องการน้ำมันว่าจะรวดเร็วแค่ไหน
และนโยบายการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปก
และพันธมิตรหลังจากเดือนม
.. (จะประชุมกันทุกเดือน เพื่อประเมินสถานการณ์)

ส่วนปัจจัยลบต่อราคาน้ำมันนั้นก็ยังคงเป็นเรื่องมาตรการ Lockdowns ที่เข้มงวดหรืออาจผ่อนคลายลงบ้าง
แต่ยังคงต้องใช้อยู่ในช่วงสี่เดือนแรกของปีหน้า
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการน้ำมัน
ที่อาจไม่กลับมาเหมือนเดิมก่อนหน้าการระบาด
(ทั้ง IEA/OPEC ประเมินว่าความต้องการน้ำมันในปีหน้า
จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่เคยประเมินเอาไว้
) และการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นของประเทศในกลุ่มโอเปก
และพันธมิตรรวมทั้งสหรัฐ
อีกทั้งปัจจัยทางการเมืองที่สหรัฐอาจผ่อนคลายการคว่ำบาตรอิหร่าน
ทำให้อิหร่านผลิตและส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลกได้มากขึ้น

ปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน: จะเดินไปทางไหน

ที่คุณ มนูญ นำกลับมาอัพเดทโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมความเห็นว่า 
ผมโพสต์เรื่องนี้เมื่อ 6 กันยายน 2560 จนถึงวันที่ยังทำได้ไม่ถึงครึ่งเลยครับ 

ปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน: จะเดินไปทางไหน

ในความเห็นส่วนตัว
ผมเห็นว่าการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานควรแบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่
โดยมีผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในการปฏิรูป ดังต่อไปนี้

1. ด้านปิโตรเลียม (พลังงานฟอสซิล)
▪️ เปิดเสรีธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยผลลัพธ์ที่พึงประสงค์
คือ
ลดการผูกขาด เพิ่มการแข่งขัน และประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรม

▪️ สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยพยายามพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด และแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆเพิ่มเติม
เช่น แหล่งในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนไทย-กัมพูชา (OCA) รวมทั้งจัดตั้งคลังสำรองปิโตรเลียมทางยุทธศาสตร์ (SPR)
ที่ไม่เป็นภาระกับภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนมากจนเกินไป

▪️ บริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการนำเข้าพลังงานในอนาคตเพื่อป้องกันการขาดแคลน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านพลังงานให้เพียงพอ
รวมทั้งการออกไปแสวงหาแหล่งพลังงานจากภายนอกเพื่อนำกลับมาใช้ในประเทศ

2. ด้านพลังงานไฟฟ้า
▪️ เปิดเสรีธุรกิจไฟฟ้าตั้งแต่ระบบผลิต สายส่ง และจัดจำหน่าย โดยผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ คือ
ให้ผู้บริโภคมีสิทธิในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองและจำหน่ายได้อย่างถูกต้อง

▪️ สร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า โดยการกระจายแหล่งเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้หลากหลาย
และเกิดความสมดุล
ไม่พึ่งพาการนำเข้ามากจนเกินไป

▪️ ปฏิรูประบบการผลิตไฟฟ้าที่พึ่งพาพลังงานหลัก (ฟอสซิล) และโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
ไปเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กที่สามารถรองรับความต้องการเฉพาะพื้นที่ได้ (โรงไฟฟ้าชุมชน)

▪️ ปฏิรุประบบการคิดค่าไฟฟ้าราคาเดียวทั่วประเทศ เป็นระบบที่คิดตามต้นทุนการผลิตในแต่ละภูมิภาค

▪️ ปฏิรูปความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid)
เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ด้านพลังงาน และเตรียมรับกับวิถีชีวิตตลอดจนธุรกิจในรูปแบบใหม่

3. ด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
▪️ ปฏิรูประบบการส่งเสริมพลังงานทดแทน จากระบบเงินเพิ่มหรือเงินอุดหนุน
มาเป็นการลดต้นทุนและอุปสรรคในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน
เพื่อให้สามารถแข่งขันกับพลังงานฟอสซิลได้ดีขึ้น

▪️ ปฏิรูปนโยบายด้านเชื้อเพลิงชีวภาพให้มีความชัดเจนทั้งในเรื่องสัดส่วนการผสมที่แน่นอน
ต้นทุนการผลิตที่แข่งขันได้ และชนิดของเชื้อเพลิงชีวภาพที่รัฐควรส่งเสริม

▪️ เตรียมการเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนโฉมหน้า (Disruptive Technology)
การใช้พลังงานทั้งด้านการขนส่งและอุตสาหกรรม

▪️ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้านขนส่งของประเทศ ด้วยระบบขนส่งทางท่อ
ทางราง และรถไฟฟ้าขนส่งมวลขน

▪️ ส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะด้านพลังงานหมุนเวียน
เพื่อความเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานทดแทน
และส่งเสริมการพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในประเทศ

4. ด้านธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ
▪️ ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการด้านพลังงานให้กระชับและคล่องตัวมากขึ้น
แยกงานด้านนโยบาย การกำกับดูแล และปฏิบัติการออกจากกันให้ชัดเจน มอบอำนาจในการบริหารงาน
ให้ รมว
. กระทรวงพลังงานมากขึ้น ปฏิรูปงานกำกับดูแลของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน
ให้มีประสิทธิภาพ
และถ่ายโอนงานภาคปฏิบัติให้เอกชนหรือรัฐวิสาหกิจในสังกัด

▪️ ปฏิรูปการบริหารจัดการโดยกำหนดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
ติดตามการปฏิบัติงาน และให้คำปรึกษาต่อฝ่ายบริหารมากขึ้น ในรูปของคณะที่ปรึกษา
หรืออนุกรรมการการมีส่วนร่วม
ในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
หรือคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

▪️ ปฏิรูปการสื่อสารข้อมูลด้านพลังงานให้เป็นเชิงรุกและมีความต่อเนื่อง ในลักษณะปฏิบัติการด้านข่าวสาร
(Information Operation-IO)
และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งชาติ (National Energy Information Center-NEIC)
ที่เป็นอิสระ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ

▪️ สร้างความมั่นใจในระบบธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการด้านพลังงาน โดยลดความทับซ้อน
ในการดำรงตำแหน่งของข้าราชการกระทรวงพลังงานในรัฐวิสาหกิจในสังกัดลง

และเร่งดำเนินการให้ไทยเข้าเป็นสมาชิกของภาคีเครือข่ายองค์กรเพื่อความโปร่งใส
ในอุตสาหกรรมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
(The Extractive Industries Transparency Initiative-EITI)
เพื่อเป็นกลไกในการตรวจสอบของภาคประชาชน และลดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน

▪️ ส่งเสริมบทบาทและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน
ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการพลังงานของประเทศอย่างมีความรับผิดชอบ
และสร้างสรรค์
โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ให้สังคมตรวจสอบได้ 

ทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอที่คงต้องไปหาข้อสรุปกันอีกครั้ง ซึ่งถ้าทำได้เพียงครึ่งหนึ่งของข้อเสนอนี้ 
ผมก็พอใจแล้วครับ !!!    

มนูญ ศิริวรรณ

7 กันยายน 2560
 
ความท้าทายของรัฐมนตรีพลังงานคนใหม่

กับความเห็นต่อการเข้ามารับตำแหน่ง ของสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ กับภารกิจที่ต้องสานต่อ และความท้าทายแบบตรงไปตรงมา
บนหน้าหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ เมื่อ 13 .. ที่ผ่านมา 
เนื้อความบางส่วนที่น่าสนใจ ได้พูดถึง

ในแง่ของคุณสมบัติและความสามารถในการเข้ารับตำแหน่งรมต.พลังงาน ผมคิดว่าคงไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์
ได้ว่าท่านไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง
เพราะท่านมีประสบการณ์อย่างยาวนานในธุรกิจพลังงาน ทั้งน้ำมัน ปิโตรเคมี
และไฟฟ้า เรียกได้ว่าเป็นผู้คลุกคลีอยู่ในวงการธุรกิจพลังงาน เป็นผู้รู้จริง และเป็นผู้บริหารมืออาชีพอย่างแท้จริง

สำหรับงานในกระทรวงพลังงานที่ท่านต้องมาสานต่อจากรัฐมนตรีท่านเดิม ก็คงมีทั้งงานที่เป็นนโยบายหลักของกระทรวง
และงานนโยบายเร่งด่วนที่ต้องผลักดันตามนโยบายของรัฐบาล และนโยบายประชานิยมที่พรรคการเมือง
ต้องการเพื่อผลงานที่จับต้องได้
และให้ประโยชน์กับชุมชนเพื่อสร้างความนิยม

ในส่วนนโยบายหลักของกระทรวงนั้นก็ได้แก่การบริหารจัดการและเร่งรัดให้มีการขับเคลื่อนแผนงานหลัก
ที่วางไว้ทั้งหมด
5 แผน (ที่เรียกว่า Thailand Integrated Energy Blueprint-TIEB) อันประกอบไปด้วย
แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan-PDP) แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency Plan-EEP)
แผนพัฒนาพลังงานทดแทน (Alternative Energy Development Plan-AEDP) แผนจัดหาก๊าซ (Gas Plan) และแผนจัดหาน้ำมัน (Oil Plan)

ส่วนนโยบายเร่งด่วนที่รอการตัดสินใจของรัฐมนตรีท่านใหม่อยู่ในขณะนี้ ได้แก่ นโยบายโรงไฟฟ้าชุมชน
เพื่อเศรษฐกิจฐานราก
ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
ที่มีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯแล้ว ตั้งแต่วันที่ 19 มี.. 2563

โครงการนี้ท่านอดีตรัฐมนตรีสนธิรัตน์พยายามผลักดันให้เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงเพราะเห็นว่าประโยชน์
จะตกแก่ชุมชนอย่างแท้จริง
แต่โครงการดังกล่าวก็ถูกดึงเรื่องเอาไว้ ไม่นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

เพื่อขอ
ความเห็นชอบเป็นเวลานานกว่า 4 เดือน ทำให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
ไม่สามารถออกประกาศเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการดังกล่าวได้

อีกโครงการหนึ่งคือโครงการเปิดให้เอกชนยื่นประมูลขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่
ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ค้างเติ่งมานานแล้วเช่นกัน
ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำรายละเอียดต่างๆ
ในการเปิดประมูลไว้พร้อมแล้ว
หากไม่มีการแก้ไขและทบทวน ก็สามารถดำเนินการให้เป็นผลงานชิ้นแรก
ของ รมต
. พลังงานท่านใหม่ได้ทันที

นี่คือตัวอย่างงานนโยบายต่างๆที่ท่าน รมต. พลังงานคนใหม่ต้องเตรียมตัวที่จะเข้าไปบริหารจัดการ
ซึ่งน่าจะไม่ใช่เรื่องยากเย็นสำหรับนักบริหารที่ผ่านงานบริหารองค์กรขนาดใหญ่มูลค่าแสนล้านมาแล้ว

แต่สิ่งที่ท้าทายท่านมากที่สุดน่าจะเป็นการพิสูจน์ตัวเองว่าถึงแม้จะมีภูมิหลังมาจากธุรกิจพลังงาน
แต่เมื่อมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีพลังงาน ก็สามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนรวมออกจากผลประโยชน์ของภาคธุรกิจเอกชนได้

อย่าให้เป็นไปตามที่อดีตรัฐมนตรีท่านหนึ่งซึ่งเอาประวัติการทำงานของท่านมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า การที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งท่าน
เข้ามาดำรงตำแหน่ง
รัฐมนตรีพลังงานในครั้งนี้ นายกฯจงใจแต่งตั้งบุคคลที่มีผลประโยชน์ขัดกัน
และเข้าข่ายเป็นการแต่งตั้งเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนหรือไม่

ซึ่งถือว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่เป็นธรรม เพราะผู้ถูกวิพากษ์ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่ง
ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติหน้าที่ ยังไม่มีผลงานใดๆที่จะทำให้คาดคิดไปในทำนองนั้นได้

ชวนให้คิดไปว่า น่าจะใช้พฤติกรรมส่วนตัวมาตัดสินคนอื่นอยู่หรือเปล่า !!!

มนูญ ศิริวรรณ

13 .. 63
 
ติดต่อโฆษณา!