02 พฤษภาคม 2566
1,019

สาเหตุค่าไฟแพง เปิดทางออกด้วย “พลังงานสะอาด”

Highlight

เราอยู่ในยุคค่าไฟแพงมาก สาเหตุสำคัญที่ค่าตุ้นทุนเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นเพราะอะไร มีแนวทางอะไรเพื่อช่วยเหลือประชาชน เป็นเรื่องที่ใคร ๆ อยากรู้ อย่างไรก็ตามโครงสร้างค่าไฟและสาเหตุที่ไฟฟ้าราคาสูงขึ้นนี้เริ่มมีข่าวดีว่า ในช่วงครึ่งปีหลังในปี 2566 ต้นทุนค่าไฟฟ้าจะเริ่มลดลงแล้ว

20230502-a-01.jpg

คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีคำอธิบายในเรื่องนี้ได้อธิบายในเรื่องนี้ว่า ประเทศไทยผลิตไฟฟ้าโดยใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก แก๊สธรรมชาติมาจากหลายส่วน จากอ่าวไทย เมียนมา บางส่วนเป็น LNG (สัญญาระยะยาว) และ Spot LNG (สัญญาระยะสั้น)

ปลายปี 2564 ต้นปี 2565 เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนสัมปทาน ก๊าซธรรมชาติก็เริ่มหายไปตั้งแต่ปลายปี 2564 ตอนนั้นก๊าซเริ่มมีราคาสูงบ้างแล้วในช่วงปลายปี 2565 ทั้งปีก็เอา LNG มาแทนและเป็นช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน ตอนนั้นก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย (แหล่งเอราวัณ) ลดลงมาจาก 800 เหลือระดับ 200 เมื่อเดือนมีนาคม 2565 ตอนนี้ยังวิ่งอยู่ ที่ราว 200 และจะกลับมาที่ 400 ในช่วงกลางปีนี้ และ 600 ช่วงกลางปีหน้า และ 800 กลางปี 67

ถ้าหากว่าเพิ่มจาก 200 ไปสู่ระดับ 800 ทำให้ปัญหาบรรเทา เชื้อเพลิงที่ต้องพึ่งพา LNG น้อยลง จากปลายปี 2564 ถึงปัจจุบันประเทศไทยมีต้นทุนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าสูงกว่าราคาขาย

ตั้งแต่ปี 64 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีต้นทุนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าสูงกว่าราคาขาย ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ต้องแบกรับภาระสูงถึง 150,000 ล้านบาท อันนี้คือข้อเท็จจริง ซึ่งเราต้องดูว่า กลางปีนี้ก๊าซในอ่าวไทยจะเพิ่มขึ้นมาหรือไม่

อย่างไรก็ตามช่วงนี้เป็นหน้ามรสุมอาจะทำให้การขุดเจาะในอ่าวไทยทำได้ยากขึ้น มีความไม่แน่นอนสูงเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ทำให้ต้องพึ่งพา LNG

ต้นทุนหลัก ๆ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยอยู่ที่ 3-4 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 200 บาท แต่ถ้าเป็นการนำเข้าก๊าซ LNG บางช่วงราคาสูงถึง 50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงขึ้นหลายเท่า บางช่วงจึงรณรงค์ให้ประหยัดพลังงาน ทำให้ต้องนำเข้ามากขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น

อย่างไรก็ตามก๊าซธรรมชาติ เป็นแค่ส่วนเดียว ค่าเชื้อเพลิงเฉลี่ยอยู่ที่ 2.74  บาท แต่สถานการณ์สงครามก็ทำให้ต้นทุนอื่นก็ปรับเพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่เนื่องจากเป็นส่วนประกอบในการผลิตไฟฟ้าน้อย จึงไม่มีผลกระทบมากนักเท่ากับก๊าซธรรมชาติ

20230502-a-02.jpg

การผลิตไฟฟ้าต้นทุนหลักมาจากเชื้อเพลิงราว 80% และ 20% เป็นเรื่องการลงทุน ไม่มีผลมากนัก 5-10% ของราคาที่เปลี่ยนไป ที่เหลือเป็นหน่วยผลิต และระบบขนส่งและจำหน่าย

ค่าไฟฐานครั้งสุดท้ายในปี 2558 ส่วนต่างค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้า เพิ่มขึ้นมาประมาณ 10 สตางค์ จากตอนนั้นถึงตอนนี้มีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหลายโรง แต่ส่วนของเชื้อเพลิงเปลี่ยนแปลงไป จากบาทกว่าๆ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 3 บาท

 

การลดต้นทุนค่าไฟฟ้าจาก 4.77 บาท เหลือ 4.70 บาท ลดในส่วนไหนบ้าง

วิธีการประมาณ Ft ทำงวดต่องวด ถ้างวดที่ประมาณการ มีบวกมีลบ ก็หักกันออกไปในงวดถัดไป ดังนั้นค่าไฟ ก็จะเป็นประมาณการล่วงหน้า ในส่วนที่ได้ลดในครั้งนี้ ก็ขอให้ลดในส่วนที่ติดค้างหนี้ กฝผ.ก็เสนอลดการคืนหนี้ลงมา คุณคมกฤช กล่าว

ก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกเริ่มลดลงมาแล้ว มีแนวโน้มที่ราคาไฟฟ้าจะลดลงหรือไม่

ในงวด พ.ค.-ส.ค. 4 เดือนข้างหน้า ยังไม่รู้ว่าจะเป็นเท่าไหร่ แต่ราคาบางอย่าง เช่น ค่าน้ำมันดูไบสูงขึ้น ถ้าจะปรับก็ต้องปรับหมด

20230502-a-03.jpg

ปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น

  • ต้นทุนเชื้อเพลิง
  • อัตราแลกเปลี่ยน
  • ทิศทางราคาน้ำมันดิบดูไบ
  • สภาวะเศรษฐกิจ
  • เงินเฟ้อ

การที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยหายไป ทำให้การผลิตไฟฟ้าด้วยต้นทุนต่ำ และความมั่นคงหายไปพอสมควร

อย่างไรก็ตามในงวดถัดไป งวดที่3 หรือปลายปี มีโอกาสที่ค่าไฟจะลดลง อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนก็ต้องระวังไม่ให้มีความเปลี่ยนแปลงมากเกินไป จะทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก  จุงมีค่า Ft ลอยตัวไปตามราคาน้ามัน ทำให้การปรับขึ้นลงสอดคล้องไปกับตลาด

20230502-a-04.jpg

กกพ. สนับสนุนพลังงานสะอาด

การกำกับดูแลพลังงานสะอาด แบ่งเป็น 2 ส่วน

  • การซื้อไฟฟ้าเข้าระบบ ตามนโยบาย PDP แบ่งสัดส่วนการใช้พลังงานและกำกับให้บรรลุวัตถุประสงค์ เช่น การกำกับด้านสิ่งแวดล้อม การกำกับด้านผู้ประกอบการ และการรักษาระดับมาตรฐานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

  • ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบาย เช่นการติดตั้ง Solar Rooftop ใช้เอง, Solar ภาคประชาชน ที่ใช้ในบ้านเรือนได้ และเหลือขายต่อได้

“อยากให้ประชาชน ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน ส่วนพลังงานสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็ให้มั่นใจได้ว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานสะอาด มีต้นทุนที่ต่ำกว่าหลายๆประเทศ และจะส่วเสริมให้อุตสาหกรรมแข่งขันในตลาดโลกได้” คุณคมกฤช กล่าว

ติดต่อโฆษณา!