27 สิงหาคม 2564
2,214

สรุปภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 หนี้ครัวเรือนเพิ่ม อาชญากรรมเพิ่ม

สรุปภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 หนี้ครัวเรือนเพิ่ม อาชญากรรมเพิ่ม
Highlight
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำรายการภาวะสังคมไทยเป็นประจำทุกไตรมาส ซึ่งหลักๆ ก็จะมีเรื่องอัตราการว่างงาน คุณภาพชีวิตของคนไทย ภาวะหนี้สิน และประเด็นอื่นๆ ซึ่ง #ทันข่าว พบว่ามีหลายประเด็นที่น่าสนใจ คือถึงแม้การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า แต่ปรากฏว่า เด็กจบใหม่กลับว่างงานเพิ่มขึ้น ภาวะหนี้สินของคนไทยก็เพิ่ม เช่นเดียวกับอาชญากรรมและคดีอาญา ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน


เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้นำเสนอรายงาน ภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 ของปี 2564 มีความเคลื่อนไหวสำคัญๆ เกิดขึ้นในสังคมไทยหลากหลายมิติ ได้แก่

20210827-b-01.jpg

อัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น 2.0%

รายงานระบุว่า ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ โดยไตรมาส 2/2564 การจ้างงาน เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น

* การจ้างงานในภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.4
* การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.8


อัตราว่างงาน เด็กจบใหม่ว่างงานเพิ่มขึ้น 10.04%


สำหรับไตรมาส 2/2564 พบว่าในภาพรวมอัตราการว่างงาน อยู่ที่ร้อยละ 1.89 คิดเป็นผู้ว่างงาน 7.3 แสนคน แบ่งเป็น

* ผู้ไม่เคยทำงานมาก่อน (ผู้จบการศึกษาใหม่) 2.9 แสนคน ว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04
* ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน มีจำนวน 4.4 แสนคน ว่างงานลดลงร้อยละ 8.38

เมื่อพิจารณาระยะเวลาของการว่างงาน พบว่าผู้ว่างงานมีแนวโน้มว่างงานนานขึ้น คือนานมากกว่า 12 เดือน อีกทั้ง ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา พบมีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.18 และ 3.44 ตามลำดับ 


หนี้ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.6%


ไตรมาสนี้ "หนี้ครัวเรือน" ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยพบว่าหนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.5 ต่อ GDP ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเลื่อนและพักชำระหนี้ ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างไม่ลดลง

รวมทั้งครัวเรือนที่ไม่ได้รับผลกระทบ แต่ก็มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่คุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวัง โดยสัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.84 ในไตรมาสก่อน และด้อยลงเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัย สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนเริ่มมีปัญหาในการหารายได้ หรือสถานะทางการเงินเปราะบางมากขึ้น 


การบริโภคเหล้า/บุหรี่ ลดลง 2.4%


ถัดมาเป็นรายงานด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ พบว่าในไตรมาส 2/2564 คนไทยมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ลดลง ร้อยละ 2.4 โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 2.9 และการบริโภคบุหรี่ ลดลงร้อยละ 1.6

โดยเฉพาะช่วง COVID-19 ที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน และปริมาณการสูบบุหรี่ต่อวันในกลุ่มแรงงานยังสูง โดยการสูบบุหรี่ในช่วงการระบาด COVID-19 ยังทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อโรคมากขึ้น


คดีอาญาเพิ่มขึ้น 11.5%


คดีอาญาจากคดียาเสพติดและคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 โดยแบ่งเป็น

* คดียาเสพติด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.3
* คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.5
* แต่คดีชีวิตร่างกายและเพศ ลดลง ร้อยละ 8.9

ติดต่อโฆษณา!