06 สิงหาคม 2564
2,147

คนไทยใช้จ่ายเงินไปกับอะไร ?

คนไทยใช้จ่ายเงินไปกับอะไร ?
HighLight
คนไทยในเวลานี้ทุกคนอยู่ในภาวะที่ต้องรัดเข็มขัด เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้หลายครอบครัวมีรายได้ลดลง ขณะที่รายได้ยังเท่าเดิม หรืออาจจะเพิ่มขึ้น แต่แน่นอนว่าการลดค่าใช้จ่ายก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อย่างน้อยที่สุด หากเราเห็นภาพรวมว่าคนส่วนใหญ่ หมดเงินไปกับอะไร อาจเป็นข้อมูลที่ดี ให้เราได้ลองพอจารณารายจ่ายของเราบ้างว่าเราใช้จ่ายในส่วนไหน มากไปกว่าคนอื่นหรือไม่


สํานักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทําการสํารวจภาวะ เศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2563 เพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของสมาชิกในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทยเอาไว้ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 55,986 ครัวเรือนพบว่า

รายจ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 21,329 บาท

ครัวเรือนทั่วประเทศ ในปี 2563 มีค่าใช้จ่ายท้ังส้ิน เฉลี่ยเดือนละ 21,329 บาท โดยส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 87 ของค่าใช้จ่ายต่อเดือนเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และอีกร้อยละ 13 เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เก่ียวกับกํารอุปโภคบริโภค (เช่น ภาษี ของขวัญ เบี้ยประกัน ดอกเบี้ย หรือซื้อหวยหรือสลากกินแบ่งรัฐบาล) 

และถ้าแยกย่อยลงไปในกลุ่มค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค มากกว่า 1 ใน 3 จะเป็นค่าใช้จ่ายในกลุ่มอาหาร เครื่องดิ่ม และยาสูบ ประมาณ ร้อยละ 35.6 รองลงมา เป็น ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน ร้อยละ 20.6 การเดินทางและยานพาหนะ ร้อยละ 17.2 ตามลําดับ

ค่าอาหาร เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนทางค่าเดินทางและเสื้อผ้าที่ลดลงเล็กน้อย

ถ้าลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ เฉลี่ยต่อเดือน ของครัวเรือนท่ัวประเทศปี 2561 - 2563 จะพบว่าค่าใช้จ่ายในกลุ่มอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ เพิ่มข้ึนจากร้อยละ 34.8 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 35.6 ในปี 2563 

ส่วนค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.8 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 20.6 ในปี 2563 

ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและยานพาหนะ ลดลงจากร้อยละ 17.7 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 17.2 เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายเก่ียวกับของใช้ส่วนบุคคล/เครื่องนุ่งห่ม/ รองเท้า ลดลงจากร้อยละ 5.0 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 4.7 ในปี 2563 

ส่วนค่าใช้จ่ายท่ีไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค (ภาษี ดอกเบี้ย ซื้อสลากกินแบ่ง/หวย ฯลฯ) ก็มีการใช้จ่ายลดลง จากร้อยละ 13.4 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 13.0 ในปี 2563

ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจนักเพราะในปีที่แล้ว เริ่มมีการระบาดของโควิด ทำให้เกิดการล็อกดาวน์เป็นระยะ ค่าใช้จ่ายในด้านการเดินทางและเครื่องนุ่งห่ม อาจลดลงจากการทำงานที่บ้าน แต่กลับกันค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารการกิน อาจเพิ่มจากการต้องใช้บริการเดลิเวอรี่ เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว

ติดต่อโฆษณา!