16 มิถุนายน 2564
2,054

รัฐแก้หนี้ โอกาสของรากหญ้า แต่ปัญหาของบริษัทสินเชื่อ ?

รัฐแก้หนี้ โอกาสของรากหญ้า แต่ปัญหาของบริษัทสินเชื่อ ?
Highlight

นโยบายรัฐที่ถูกพูดถึงกันมากช่วงนี้คือความพยายามแก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาล ที่หลายคนหยิบเอาด้านเดียวมาพูด เช่น การเพิ่มโรงรับจำนำ พร้อมกับแซวว่าต่อให้เพิ่มอีกกี่โรงจำนำก็ไม่มีผล เพราะไม่มีของจะไปจำนำแล้ว แต่อย่างไรก็ดี แนวทางการแก้หนี้ของรัฐบาล กลับส่งผลลบต่อหุ้นไฟแนนซ์หลายบริษัทโดยเฉพาะผู้ประกอบการบัตรเครดิตอย่าง KTC ไปจนถึงบริษัทสินเชื่อทั้ง MTC SAWAD TIDLOR เรื่องราวจะเป็นอย่างไร #ทันข่าวลงทุน #รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ มีมาฝากคลิกอ่านได้เลย

รัฐเร่งแก้หนี้ ระยะสั้น - ระยะยาว

ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเมื่อประชาชนแบกหนี้กันเยอะ การกระตุ้นเศรษฐกิจจะได้ผลยาก เพราะรัฐบาลใส่เงินไปแค่ไหน แต่เงินก็ไหลไปที่ภาคการใช้จ่ายยาก เพราะต้องนำไปชำระหนี้ก่อน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ หรือหนี้ในระบบที่มีดอกเบี้ยสูง เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต หรือสินเชื่อเงินสด รัฐบาลจึงพยายามแก้ปัญหานี้


หากแจกแจงกันในรายละเอียด แบ่งเป็นมาตรการระยะสั้น  และระยะยาว

มาตรการระยะสั้น เช่น

1. ไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สินเพื่อลดการดำเนินคดีกับประชาชน เช่น หนี้ กยศ. , หนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ , หนี้สหกรณ์
2. ลดภาระดอกเบี้ยของประชาชน ทั้งในส่วนสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อ PICO และ NANO สำหรับประชาชน ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ของครูและข้าราชการ รวมถึงสหกรณ์ ปรับรูปแบบการชำระหนี้ รวมถึงปรับลดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น
3. ยกระดับการกำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) คุ้มครองความเป็นธรรมให้ประชาชนที่เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ธปท. ทบทวนเพดานอัตราดอกเบี้ย และการกำกับดูแลบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อจำนำทะเบียน
4. กำกับดูแลไม่ให้การบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน/สหกรณ์ สร้างภาระแก่ผู้กู้จนเกินสมควร
5. เพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs เช่น จัดให้มี Soft Loan สำหรับ SME ที่เป็น NPLs เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ การเพิ่มจำนวนโรงรับจำนำและโรงรับจำนอง


สำหรับมาตรการระยะยาว หลักการสำคัญ คือ ต้องทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการเข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย และมีการคุมยอดวงเงินกู้ที่เหมาะสม เช่น

1. รัฐต้องเร่งส่งเสริมการแข่งขันให้อัตราดอกเบี้ยถูกลง 
2. เพิ่มระบบให้ผู้ฝากเงินมาเป็นผู้ให้สินเชื่อ แบบ P2P โดยรับความเสี่ยงมากขึ้นผ่านระบบดิจิทัล 
3. การจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ เพื่อกำกับดูแลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อรายย่อยเป็นการเฉพาะ 
4. การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางธุรกิจและการเงิน เพื่อชะลอการฟ้อง 
5. อำนวยความสะดวกให้การฟื้นฟูหนี้รายบุคคลที่มีเจ้าหนี้หลายราย 
6. ให้ความช่วยเหลือเด็กรุ่นใหม่/คนเกษียณ ที่มีภาระหนี้สิน โดยจะออกมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย เรื่องที่อยู่อาศัย และค่าเดินทางระบบขนส่งมวลชนในราคาถูก


ซึ่งนโยบายเหล่านี้ จะได้ผลหรือไม่ ยังไม่รู้ แต่ที่เห็นคือ ส่งผลลบต่อหุ้นที่ทำธุรกิจสินเชื่ออย่างมาก โดยเฉพาะ KTC นอกจากนี้ หุ้นที่ทำธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียน หรือสินเชื่อบุคคล ก็ปรับตัวร่วงกันยกแผง ทั้ง MTC SAWAD และ TIDLOR

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว

ติดต่อโฆษณา!