28 พฤษภาคม 2564
9,941

5 ข้อควรรู้ “การคุ้มครองเงินฝาก” เพิ่มความอุ่นใจในการออมทรัพย์

5 ข้อควรรู้ “การคุ้มครองเงินฝาก” เพิ่มความอุ่นใจในการออมทรัพย์
HighLight

“การฝากธนาคาร” ช่องทางการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย ซึ่งประเทศไทย มี “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” ในช่วยป้องกันความเสี่ยง ซึ่งผู้ฝากเงินกับธนาคารไว้ มี 5 ข้อควรรู้ “การคุ้มครองเงินฝาก”เพื่อเพิ่มความอุ่นใจในการออมทรัพย์

ประชาชนส่วนใหญ่ “ออมเงิน” ด้วยการนำเงินไป “ฝากธนาคาร” ซึ่งเป็นช่องทางการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงเลย ซึ่ง ประเทศไทย มีองค์กรที่ทำหน้าที่ป้องกันความเสี่ยงแก่ผู้ฝากเงิน นั่นก็คือ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ Deposit Protection Agency – DPA

            รายการ “ทันข่าว Today” รวบรวมประเด็นที่ต้องรู้ จากการสัมภาษณ์ “ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์” ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

     20210528-a-03.jpg

     
    1. หน้าที่หลักของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA)

1.1 คุ้มครองเงินฝากให้แก่ผู้ฝาก จ่ายคืนเงินแก่ผู้ฝากโดยเร็ว เมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต

1.2 เก็บเงินจากสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครอง เพื่อสะสมไว้เป็น “กองทุนคุ้มครองเงินฝาก” สำหรับใช้ในการจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ฝากตามวงเงิน และระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หากสถาบันการเงินใดถูกเพิกถอนใบอนุญาต

1.3 ชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต และนำเงินที่ได้รับจากการชำระบัญชี จ่ายคืนแก่ผู้ฝาก กรณีที่มีเงินฝากเกินวงเงินที่กำหนด

1.4 ร่วมมือกับภาครัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของสถาบันการเงิน


20210528-a-05.jpg

    2. ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือเงินฝาก

2.1 ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือเงินฝาก ที่ได้รับการคุ้มครอง ต้องเป็น “เงินบาท” เท่านั้น

- เงินฝากออมทรัพย์

- เงินฝากประจำ

- บัตรเงินฝาก

- เงินฝากกระแสรายวัน

- ใบรับฝากเงิน

2.2 ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือเงินฝาก ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง

- เงินฝากประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

- เงินลงทุนในตราสารต่าง ๆ เช่น พันธบัตร , หุ้นกู้ , หน่วยลงทุน (SSF , RMF)

- เงินฝากสหกรณ์

- แคชเชียร์เช็ค , ตั๋วแลกเงิน

- เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)


20210528-a-07.jpg


        3. ถ้าสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต กระบวนการช่วยเหลือ “ผู้ฝากเงิน” เป็นอย่างไร ?

3.1 ผู้ฝากเงินไปเปิดบัญชีใหม่กับธนาคารอื่น ด้วยการอ้างอิงหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และผูก  

PromptPay ไว้

3.2 สถาบันคุ้มครองจะคืนเงินฝาก ผ่าน PromptPay ให้ภายใน 30 วัน แต่ถ้าไม่มี PromptPay ก็จะจัดส่งเช็คทางไปรษณีย์

3.3 ต้องจ่ายเงินค่าคุ้มครองเงินฝากหรือไม่ ?

ไม่ต้อง เพราะ การจ่ายคืนเงินฝากเป็นมาตรการของรัฐ เพื่อช่วยเงินผู้ฝากเงินทั่วไปโดยเฉพาะผู้ฝากเงินรายย่อย ซึ่งการคุ้มครองนี้ เงินฝากของประชาชนจะได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัติอยู่แล้วทันทีที่นำเงินไปฝากกับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การคุ้มครอง และในกรณีที่สถาบันการเงินล้มหรือถูกปิดกิจการผู้ฝากก็ให้ดำเนินการรับเงินตามข้อ 3.1


20210528-a-04.jpg

 
       4. ตั้งแต่ 11 ส.ค. 64 เป็นต้นไป วงเงินคุ้มครองเงินฝาก ลดเหลือ 1 ล้านบาท

            ปัจจุบัน วงเงินคุ้มครองเงินฝากอยู่ที่ 5 ล้านบาท แต่นับจากวันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป วงเงินคุ้มครอง ลดจาก 5 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท หมายความว่า เงินฝากในแต่ละแบงก์จะลดการคุ้มครองเหลือเพียง 1 ล้านบาท หรือทุกแบงก์รวมกันคือ 1 ล้านบาท นั่นเอง

(วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน หากบุคคลคนเดียวกันฝากเงินไว้กับธนาคารหลายแห่ง แต่ละแห่งก็จะได้รับความคุ้มครอง ภายใต้วงเงิน 1 ล้านบาท

หมายเหตุ: วงเงินคุ้มครองเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2563

 20210528-a-06.jpg

       5. ช่องทางการติดต่อ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA)

5.1 www.dpa.or.th

5.2 เฟซบุ๊ก : สถาบันคุ้มครองเงินฝาก OPA

5.3 โทร 1158

 
เงินฝากธนาคาร เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ การออม

ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แนะนำว่า เงินฝากธนาคาร ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสุดสำหรับการออม ควรแบ่งเงินออม ไปลงทุนในตราสารทุน , ตราสารหนี้ , ทองคำ หรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจังหวะนี้อาจเป็นจังหวะที่มีทางเลือกในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง การออมที่ดี คือการแบ่งสัดส่วนนำไปลงทุนได้หลายส่วน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต




ติดต่อโฆษณา!