08 เมษายน 2564
8,254

3 ทางเลือก "พักเงิน" ให้เติบโต มีอยู่จริง ‼️

3 ทางเลือก "พักเงิน" ให้เติบโต มีอยู่จริง ‼️
Highlight

ช่วงนี้สถานการณ์ทั้งรอบโลกและในประเทศก็ไม่น่าวางใจ เงินสำรองจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรจะมีไว้ ซึ่งเงินสำรองเราก็คาดหวังว่าจะอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย แต่ก็ยังอยากได้ผลตอบแทนสูงระดับนึง แบบที่ชนะเงินเฟ้อได้ และแน่นอนว่า เทรนด์การออมเงิน ใน พ.ศ. นี้ ก็อยากจะเน้นการออมเงินในแบบ New Normal เป็นการออมเงินที่ดีและปลอดภัย ส่วนผลตอบแทนนั้นก็ขึ้นอยู่กับ "วินัยการออม" และ "ความเสี่ยงของประเภทการออม"


เรามาดูกันเลยว่า "แหล่งพักเงิน" ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้เร็วนั้น มีด้วยกัน 3 กลุ่ม ก็คือ 

1. บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษ | บัญชีฝากประจำ
ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งปรับกลยุทธ์ออกผลิตภัณฑ์เงินฝากรูปแบบใหม่ได้ดอกเบี้ยมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับเงื่อนไขของการลดสภาพคล่องการเบิกถอนลงสักเล็กน้อย เช่น ถอนได้ต่อเดือนไม่เกินครั้งละ 2-3 ครั้ง ถ้ามากกว่านั้นก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการถอนเป็นรายครั้งไป 

2 เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุน
1. ภาษีสำหรับดอกเบี้ยที่รับเข้ากระเป๋าก็ยังคงใช้หลักการเดียวกับออมทรัพย์ทั่วไป คือ หากได้รับดอกเบี้ย 20,000 บาทขึ้นไป ผู้ฝากจะต้องเสียภาษีในส่วนเงินฝาก 15% ต่อปีด้วย
2. กำหนดวงเงินขั้นต่ำในการฝากแตกต่างกันออกไปแล้วแต่เงื่อนไขของธนาคาร ทั้งแบบบัญชีออมทรัพย์อัตราดอกเบี้ยพิเศษและบัญชีฝากประจำ

2. กลุ่มกองทุนตราสารหนี้ มีตั้งแต่กลุ่มกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น (Money Market) และกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุตราสาร (Duration) เกิน 1 ปี ซึ่งมีผลตอบแทนสูงกว่า

จุดเด่นของการพักเงินในกองทุนประเภทนี้คือ 
อัตราผลตอบแทนหรือดอกผลที่ได้จะสูงกว่าการฝากเงินกับบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ส่วนเรื่องภาษีก็ตัดออกไปได้รับผลตอบแทนเท่าไหร่ก็เข้ากระเป๋าไปเต็มๆ ไม่ถูกหักภาษี และยังมีกองทุนที่หน้าตาใกล้เคียงกัน ก็คือ กองทุนตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) ที่รูปแบบลักษณะการลงทุนแตกต่างกันเล็กน้อยอาจจะมีผสมผสานกันเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทน เช่น ลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน (ตรงนี้อาจพิจารณาเรื่องเครดิตเรตติ้งของหุ้นกู้ที่ตราสารหนี้กองนั้นๆ เข้าไปลงทุน) ตราสารหนี้ต่างประเทศ ฯลฯ ส่วนสภาพคล่องในการลงทุนก็ใกล้เคียงกับกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market)

2 เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุน
1. ระยะเวลาในการเปลี่ยนเป็นเงินสดของกองทุนตราสารหนี้
ถ้าเป็นกลุ่มกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เมื่อขายออกจะได้รับเงินสดในวันทำการถัดไป (T+1) ส่วนกองตราสารหนี้ระยะกลาง บางกองอาจเป็น (T+2) หรือบางกองอาจมีข้อจำกัดตามแต่กองทุนนั้นๆ ระบุไว้
2. ความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) กองทุนตราสารหนี้

3. ออมผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Banking
Smart Phone กลายเป็นเครื่องมือที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนทำอะไรก็สามารถทำธุรกรรมผ่าน Internet ได้อย่างสะดวกสบายรวดเร็ว ช่องทางการออมเงินล่าสุดคือ "ธนาคารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ "Electronic Banking" ฝากเงิน-ถอนเงินได้เพียงแค่ปลายนิ้วตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องมีสมุดบัญชีเงินฝาก ไม่ต้องเดินไปธนาคาร 

ด้วยการลดต้นทุนของธนาคารถูกลง ทำให้ธนาคารสามารถสามารถเพิ่มข้อเสนอของดอกเบี้ยได้ จึงให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ธรรมดาค่อนข้างชัดเจน โดยไม่มีการกำหนดขั้นต่ำในการฝาก 

เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุน
เงื่อนไขสำคัญของการฝากเงินประเภทนี้คือ ทำธุรกรรมด้วยตนเองผ่าน Internet ไม่ว่าจะฝากหรือถอน ถ้าคุณไม่ชื่นชอบเทคโนโลยี ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือหรือความรู้ความเข้าใจที่ดีพอที่สามารถจะทำธุรกรรมแบบนี้ได้อย่างสะดวกก็ลองมองหาช่องทางพักอื่นน่าจะเหมาะกว่า แต่ถ้าไลฟ์สไตส์คุณ "ใช่" ก็นับว่าแหล่งพักเงินผ่าน "Electronic Banking" น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว 

จะเลือกช่องทางไหนก็สุดแล้วแต่ "ความถนัด" "ความสะดวก" ที่สำคัญที่สุดคือ "ความสบายใจ" ที่จะใช้เป็นแหล่งพักให้ "เงินเอนหลัง" ได้อย่างไร้กังวล

ติดต่อโฆษณา!