24 พฤศจิกายน 2567
69

Lazy Economy ดัน Grab เติบโตได้สวย

Lazy Economy ดัน Grab เติบโตได้สวย “Grab” เผยธุรกิจ Food Delivery ยังคงคึกคัก ยอดสั่งซื้ออาหารยอดฮิต  ส้มตำ-ไก่ทอด-ชานม รั้งแชมป์ออเดอร์ยอดนิยมมากสุด แม้วิถีชีวิตจะกลับมาปกติ คนกินข้าวนอกบ้านมากขึ้นแต่ไม่กระทบธุรกิจ จัดโปรโมชันกระตุ้นยอดสั่งซื้อต่อเนื่อง
.
การให้บริการแบบ  “Self Pick-up” ยังโตต่อเนื่อง ดันยอดขายร้านค้าสูงขึ้น 30% ช่วยประหยัดเวลาคนทำงานได้มาก และ Grab ยังอยู่ในฐานะผู้นำที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด
.
ปัจจุบันจำนวนร้านอาหารทั้งหมดในแอปพลิเคชัน Grab มีมากถึงหลักแสนร้านค้า ซึ่งในจำนวนนี้มีร้านที่ได้รับการการันตีจาก “GrabThumpsUp” อยู่ราวๆ 8,000 แห่ง
.
สำหรับเกณฑ์ในการคัดเลือกร้านค้ามีตัวชี้วัดหลายอย่าง เช่น จำนวนรีวิว การกดให้ดาว จำนวนการสั่งซื้อ เป็นต้น โดยร้านอาหารที่ได้รับการคัดเลือก มีตั้งแต่สตรีทฟู้ดไปจนถึง “Fine Dining” และร้านระดับมิชลินสตาร์
.
พนมกร จิระเสถียรพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด แกร็บ ประเทศไทย ระบุว่า การสั่งซื้อแบบ Delivery ยังคงเติบไปต่อได้เรื่อยๆ ตอนนี้ไซส์ตะกร้าต่อการสั่งซื้อ 1 ครั้ง เฉลี่ยอยู่ที่ 250 บาท 
.
ขณะที่ร้านค้าที่อยู่ในแคมเปญ “GrabThumpsUp” จะมียอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากปกติสองเท่า รวมถึง “Bucket Size” ของกลุ่มนักท่องเที่ยวเองก็มีขนาดใหญ่ขึ้น 
.
เมนูยอดยอดนิยม บนแพลตฟอร์ม Grab ยังคงเป็น  “ส้มตำ” ตามมาด้วย “ไก่ทอด” และ “ชานม” ส่วนสินค้าที่กำลังมาแรง ได้แก่ ชาจีน ชาผลไม้ที่มีแนวโน้มการเติบโตตามจำนวนร้านค้าที่เข้ามาบุกตลาดในไทยเพิ่มขึ้น 
.
ทั้งนี้ พฤติกรรมการกินของคนไทยโดยเฉพาะชาวออฟฟิศ จะชอบสั่งเครื่องดื่มช่วงบ่ายๆ หลังจากกินข้าวเสร็จแล้ว สอดคล้องกับการเติบโตของบริการ “Self Pick-up” หรือการไปรับอาหารที่หน้าร้านด้วยตัวเองเมื่อถึงเวลา
.
บริการ “Self Pick-up” ช่วยดันยอดขายร้านค้าโตขึ้น 10-30% สอดคล้องกับเทรนด์ “Lazy Economy” ที่ช่วยประหยัดเวลาได้ และถูกใจคนรุ่นใหม่เป็นพิเศษ
ติดต่อโฆษณา!