03 พฤศจิกายน 2567
172
แพลตฟอร์มต่างชาติยึดไทย ผูกขาดการค้าออนไลน์ ไร้การควบคุม
ตลาดออนไลน์ไทยเติบโตปีละ 15% คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 3 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี แต่ทั้งหมดอยู่ในมือแพลตฟอร์มต่างชาติ ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่ใช้แพลตฟอร์มภายใน พ่อค้า แม่ค้า กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก
จากการเปิดเผยของ ป้อม-ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์โซลูชั่น จำกัด ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์แห่งแรกของไทย และผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซและธุรกิจดิจิทัลไทย ระบุตลาดออนไลน์ไทยกำลังมีความเสี่ยง มาดูความเป็นมาเรื่องนี้กัน และทางรอดควรทำอย่างไร
1. ไทยถูกแพลตฟอร์มต่างชาติยักษ์ใหญ่ผูกขาดเบ็ดเสร็จ พร้อมใจกันขึ้นค่าธรรมเนียมตามใจชอบ
2. หวั่นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อยู่ยาก ไร้อำนาจต่อรอง ยิ่งขายกำไรยิ่งลด แถมยังเข้าไม่ถึงข้อมูลลูกค้าได้อย่างเต็มที่
3. แนะวิธีปลดแอก เร่งสร้างช่องทางขายของตัวเอง และใช้ระบบชำระเงินออนไลน์ของไทย
4. ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยถูกผูกขาดจากแพลตฟอร์มต่างชาติเพียง 2-3 ราย คือ Shopee Lazada และ TikTok
5.โดยมีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้ากว่า 40 ล้านคน
6. ทำให้แพลตฟอร์มสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการขาย ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ค่าธรรมเนียมการจัดส่ง
6. การเพิ่มค่าธรรมเนียมดังกล่าว ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มเป็นเท่าตัว
7. พ่อค้า แม่ค้า ประสบปัญหา “ยิ่งขาย กำไรยิ่งลด”
8. แพลตฟอร์มต่างชาติมีการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมถึง 2-3 ครั้งใน 1 ปี โดยไม่มีใครควบคุม
9. สำหรับในปี 2567 นี้ ทั้ง Shopee Lazada และ TikTok ขึ้นค่าธรรมเนียมแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน และขึ้นอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม ซึ่งการปรับครั้งล่าสุดนี้เพิ่มขึ้นถึง 50-150%
10. การที่ผู้ขายต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติ ทำให้มีอำนาจในการต่อรองน้อย หรือไม่มีเลย โดยที่สามารถเปลี่ยนนโยบาย กฎระเบียบ และเงื่อนไขการให้บริการได้ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงกะทันหัน อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยไม่มีโอกาสตั้งรับ
12. เศรษฐกิจดิจิทัลไทย เสี่ยงพังจากผลกระทบของการพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติ ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
13. แพลตฟอร์มต่างชาติ จะเป็นเจ้าของข้อมูลลูกค้า เช่น พฤติกรรมการซื้อ สินค้าที่สนใจ ข้อมูลติดต่อ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นับว่ามีมูลค่ามาก เพราะสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ตลาด พัฒนาสินค้าและบริการ และทำการตลาดเป้าหมายได้
14. ในอนาคตหากแพลตเฟอร์มต่างชาตินำข้อมูลลูกค้าไปใช้ประโยชน์แล้วส่งสินค้าราคาถูกจากจีนมาตัดราคา ผู้ประกอบการไทยก็จะอยู่ไม่ได้
15. ปัญหานี้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่แพลตฟอร์มท้องถิ่นเติบโตอย่างมั่นคง ประชาชนสนับสนุนแพลตฟอร์มในประเทศ ทำให้แพลตฟอร์มมีเงินทุนในการพัฒนาและแข่งขันได้
16. ทางรอดของผู้ประกอบการไทย จากการครอบงำของแพลตฟอร์มต่างชาติ คือ การกระจายช่องทางขายมายังช่องทางขายของตัวเอง เช่น เว็บไซต์ และขายในช่องทางที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียม เช่น Social Commerce ที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อเข้าถึงลูกค้า
17. Social Commerce สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์ที่ดีผ่านคอนเทนต์ รวมทั้ง Live Commerce หรือ Chat Commerce ที่ช่วยให้ผู้ขายนำเสนอสินค้าแบบเรียลไทม์ สร้างความน่าเชื่อถือและกระตุ้นให้เกิดการซื้อขาย
18. การมีช่องทางการขายของตัวเองทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า และยังสามารถสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งขึ้น เก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อนำมาพัฒนากลยุทธ์การตลาด ปรับราคาหรือโปรโมชันได้อย่างอิสระ
19. ควรเพิ่มช่องทาง เพย์โซลูชั่น (Pay Solutions) เป็นระบบชำระเงินออนไลน์ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทยที่สามารถรับชำระเงินได้ทุกช่องทาง ครอบคลุมทั้ง B2C และ B2B โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเชื่อมต่อทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์
20. เพิ่มช่องทางชำระสินค้า เช่น ผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน บัตรเดบิต บัตรเครดิต Mobile Banking หรือ Alipay WeChat Pay และสามารถรับชำระที่หน้าเคาน์เตอร์ด้วยเครื่องรูดบัตร All-in-one รองรับการผ่อนชำระทุกธนาคาร
21. รวมทั้งสามารถส่งลิงก์ รับชำระเงินผ่านแชตบนโซเชียลมีเดียได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมให้กับแพลตฟอร์ม
22. Pay Solution นอกจากจะช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมจากแพลตฟอร์มต่างชาติแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ลดการพึ่งพาบริษัทต่างชาติ ช่วยรักษาข้อมูลการทำธุรกรรม และเงินทุนให้คงอยู่ภายในประเทศ, ภาวุธ ระบุ
.
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : Forbes Thailand
จากการเปิดเผยของ ป้อม-ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์โซลูชั่น จำกัด ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์แห่งแรกของไทย และผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซและธุรกิจดิจิทัลไทย ระบุตลาดออนไลน์ไทยกำลังมีความเสี่ยง มาดูความเป็นมาเรื่องนี้กัน และทางรอดควรทำอย่างไร
1. ไทยถูกแพลตฟอร์มต่างชาติยักษ์ใหญ่ผูกขาดเบ็ดเสร็จ พร้อมใจกันขึ้นค่าธรรมเนียมตามใจชอบ
2. หวั่นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อยู่ยาก ไร้อำนาจต่อรอง ยิ่งขายกำไรยิ่งลด แถมยังเข้าไม่ถึงข้อมูลลูกค้าได้อย่างเต็มที่
3. แนะวิธีปลดแอก เร่งสร้างช่องทางขายของตัวเอง และใช้ระบบชำระเงินออนไลน์ของไทย
4. ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยถูกผูกขาดจากแพลตฟอร์มต่างชาติเพียง 2-3 ราย คือ Shopee Lazada และ TikTok
5.โดยมีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้ากว่า 40 ล้านคน
6. ทำให้แพลตฟอร์มสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการขาย ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ค่าธรรมเนียมการจัดส่ง
6. การเพิ่มค่าธรรมเนียมดังกล่าว ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มเป็นเท่าตัว
7. พ่อค้า แม่ค้า ประสบปัญหา “ยิ่งขาย กำไรยิ่งลด”
8. แพลตฟอร์มต่างชาติมีการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมถึง 2-3 ครั้งใน 1 ปี โดยไม่มีใครควบคุม
9. สำหรับในปี 2567 นี้ ทั้ง Shopee Lazada และ TikTok ขึ้นค่าธรรมเนียมแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน และขึ้นอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม ซึ่งการปรับครั้งล่าสุดนี้เพิ่มขึ้นถึง 50-150%
10. การที่ผู้ขายต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติ ทำให้มีอำนาจในการต่อรองน้อย หรือไม่มีเลย โดยที่สามารถเปลี่ยนนโยบาย กฎระเบียบ และเงื่อนไขการให้บริการได้ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงกะทันหัน อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยไม่มีโอกาสตั้งรับ
12. เศรษฐกิจดิจิทัลไทย เสี่ยงพังจากผลกระทบของการพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติ ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
13. แพลตฟอร์มต่างชาติ จะเป็นเจ้าของข้อมูลลูกค้า เช่น พฤติกรรมการซื้อ สินค้าที่สนใจ ข้อมูลติดต่อ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นับว่ามีมูลค่ามาก เพราะสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ตลาด พัฒนาสินค้าและบริการ และทำการตลาดเป้าหมายได้
14. ในอนาคตหากแพลตเฟอร์มต่างชาตินำข้อมูลลูกค้าไปใช้ประโยชน์แล้วส่งสินค้าราคาถูกจากจีนมาตัดราคา ผู้ประกอบการไทยก็จะอยู่ไม่ได้
15. ปัญหานี้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่แพลตฟอร์มท้องถิ่นเติบโตอย่างมั่นคง ประชาชนสนับสนุนแพลตฟอร์มในประเทศ ทำให้แพลตฟอร์มมีเงินทุนในการพัฒนาและแข่งขันได้
16. ทางรอดของผู้ประกอบการไทย จากการครอบงำของแพลตฟอร์มต่างชาติ คือ การกระจายช่องทางขายมายังช่องทางขายของตัวเอง เช่น เว็บไซต์ และขายในช่องทางที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียม เช่น Social Commerce ที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อเข้าถึงลูกค้า
17. Social Commerce สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์ที่ดีผ่านคอนเทนต์ รวมทั้ง Live Commerce หรือ Chat Commerce ที่ช่วยให้ผู้ขายนำเสนอสินค้าแบบเรียลไทม์ สร้างความน่าเชื่อถือและกระตุ้นให้เกิดการซื้อขาย
18. การมีช่องทางการขายของตัวเองทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า และยังสามารถสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งขึ้น เก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อนำมาพัฒนากลยุทธ์การตลาด ปรับราคาหรือโปรโมชันได้อย่างอิสระ
19. ควรเพิ่มช่องทาง เพย์โซลูชั่น (Pay Solutions) เป็นระบบชำระเงินออนไลน์ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทยที่สามารถรับชำระเงินได้ทุกช่องทาง ครอบคลุมทั้ง B2C และ B2B โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเชื่อมต่อทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์
20. เพิ่มช่องทางชำระสินค้า เช่น ผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน บัตรเดบิต บัตรเครดิต Mobile Banking หรือ Alipay WeChat Pay และสามารถรับชำระที่หน้าเคาน์เตอร์ด้วยเครื่องรูดบัตร All-in-one รองรับการผ่อนชำระทุกธนาคาร
21. รวมทั้งสามารถส่งลิงก์ รับชำระเงินผ่านแชตบนโซเชียลมีเดียได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมให้กับแพลตฟอร์ม
22. Pay Solution นอกจากจะช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมจากแพลตฟอร์มต่างชาติแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ลดการพึ่งพาบริษัทต่างชาติ ช่วยรักษาข้อมูลการทำธุรกรรม และเงินทุนให้คงอยู่ภายในประเทศ, ภาวุธ ระบุ
.
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : Forbes Thailand