13 ตุลาคม 2567
142
เปิด 5 รูปแบบ แชร์ลูกโซ่ กลโกงลงทุน เสี่ยงสูญเงิน
5 รูปแบบการชักชวน ที่กลโกงส่วนใหญ่รวมถึง “แชร์ลูกโซ่” มักใช้หลอกลวงหรือจูงใจ หากใครเจอแบบนี้ต้องระวัง! ไว้ก่อน
.
1. ให้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันสั้น ชวนเชื่อว่าจะได้ผลตอบแทนหรือกำไรจากการลงทุนจำนวนมากอย่างรวดเร็วและง่ายดาย และใช้ เทคนิค กระตุ้นด้วยรูปถ่ายคู่กับเงินก้อนโต หรือรถหรู สร้างความหวังว่าทุกคนเป็นเจ้าของได้ สะกิดต่อมความโลภ
>> เช็กก่อนเชื่อ – ไม่มีการลงทุนใดที่ให้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว และพึงตระหนักว่าการลงทุนที่อาจให้ผลตอบแทนสูง ย่อมมีความเสี่ยงสูงตามมาด้วย
.
2. การันตีผลตอบแทน บอกว่าจะได้ผลตอบแทนสูงเท่านั้นเท่านี้เป็นตัวเลขแน่นอน เช่น 10% – 15% ต่อสัปดาห์ หรือ 40% ต่อเดือน
>> เช็กก่อนเชื่อ – ไม่มีการลงทุนไหนที่การันตีผลตอบแทนที่แน่นอนได้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือคริปโตก็ตาม เพราะราคาจะเคลื่อนไหวจากหลายปัจจัย
.
3. เร่งรัดให้ตัดสินใจ โดยมักจะเสนอสิทธิพิเศษเฉพาะในช่วงเวลานั้น เช่น วันนี้วันเดียวเท่านั้น, เหลือเวลาแค่ 5 นาที หรือเหลือที่ไม่มากแล้ว เพื่อลดโอกาสในการไตร่ตรองของเรา
.>> เช็กก่อนเชื่อ – ต้องทำความเข้าใจสิ่งที่จะลงทุน ไม่ด่วนตัดสินใจลงทุนจากแรงบีบคั้น และโดยหลัก ผู้แนะนำการลงทุนต้องไม่เร่งรัดการตัดสินใจของลูกค้า เพื่อให้เวลาลูกค้าคิดให้ถี่ถ้วน
.
4. อ้างว่าใคร ๆ ก็ลงทุน ถ้าไม่รีบอาจพลาดตกขบวน หรืออ้างบุคคลที่มีชื่อเสียง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการลงทุน ถ้าไม่เข้าร่วมจะตกขบวนความร่ำรวย
>> เช็กก่อนเชื่อ – จริง ๆ แล้วไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครมาร่วมลงทุน แต่ขึ้นอยู่กับการลงทุนหรือธุรกิจนั้นมีอยู่จริงและถูกกฎหมายหรือไม่
.
5. ธุรกิจจับต้องไม่ได้ บอกว่าทำธุรกิจแต่ไม่เห็นสินค้า หรือชักชวนลงทุนในแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาต อ้างธุรกิจว่าได้รับการรับรอง แต่ไม่สามารถตรวจสอบธุรกิจได้
>> เช็กก่อนเชื่อ – ควรตรวจสอบว่าเป็นธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากเป็นธุรกิจ ณ ตลาดทุนหรือสินทรัพย์ดิจิทัล ตรวจสอบรายชื่อผู้ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่แอปพลิเคชั่น SEC Check First หรือเว็บไซต์ ก.ล.ต.
.
▪️ เมื่อพบเห็นหรือถูกชักชวนลงทุนที่น่าสงสัยว่าจะเป็นแชร์ลูกโซ่ สามารถแจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงยุติธรรม
.
1. ให้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันสั้น ชวนเชื่อว่าจะได้ผลตอบแทนหรือกำไรจากการลงทุนจำนวนมากอย่างรวดเร็วและง่ายดาย และใช้ เทคนิค กระตุ้นด้วยรูปถ่ายคู่กับเงินก้อนโต หรือรถหรู สร้างความหวังว่าทุกคนเป็นเจ้าของได้ สะกิดต่อมความโลภ
>> เช็กก่อนเชื่อ – ไม่มีการลงทุนใดที่ให้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว และพึงตระหนักว่าการลงทุนที่อาจให้ผลตอบแทนสูง ย่อมมีความเสี่ยงสูงตามมาด้วย
.
2. การันตีผลตอบแทน บอกว่าจะได้ผลตอบแทนสูงเท่านั้นเท่านี้เป็นตัวเลขแน่นอน เช่น 10% – 15% ต่อสัปดาห์ หรือ 40% ต่อเดือน
>> เช็กก่อนเชื่อ – ไม่มีการลงทุนไหนที่การันตีผลตอบแทนที่แน่นอนได้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือคริปโตก็ตาม เพราะราคาจะเคลื่อนไหวจากหลายปัจจัย
.
3. เร่งรัดให้ตัดสินใจ โดยมักจะเสนอสิทธิพิเศษเฉพาะในช่วงเวลานั้น เช่น วันนี้วันเดียวเท่านั้น, เหลือเวลาแค่ 5 นาที หรือเหลือที่ไม่มากแล้ว เพื่อลดโอกาสในการไตร่ตรองของเรา
.>> เช็กก่อนเชื่อ – ต้องทำความเข้าใจสิ่งที่จะลงทุน ไม่ด่วนตัดสินใจลงทุนจากแรงบีบคั้น และโดยหลัก ผู้แนะนำการลงทุนต้องไม่เร่งรัดการตัดสินใจของลูกค้า เพื่อให้เวลาลูกค้าคิดให้ถี่ถ้วน
.
4. อ้างว่าใคร ๆ ก็ลงทุน ถ้าไม่รีบอาจพลาดตกขบวน หรืออ้างบุคคลที่มีชื่อเสียง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการลงทุน ถ้าไม่เข้าร่วมจะตกขบวนความร่ำรวย
>> เช็กก่อนเชื่อ – จริง ๆ แล้วไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครมาร่วมลงทุน แต่ขึ้นอยู่กับการลงทุนหรือธุรกิจนั้นมีอยู่จริงและถูกกฎหมายหรือไม่
.
5. ธุรกิจจับต้องไม่ได้ บอกว่าทำธุรกิจแต่ไม่เห็นสินค้า หรือชักชวนลงทุนในแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาต อ้างธุรกิจว่าได้รับการรับรอง แต่ไม่สามารถตรวจสอบธุรกิจได้
>> เช็กก่อนเชื่อ – ควรตรวจสอบว่าเป็นธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากเป็นธุรกิจ ณ ตลาดทุนหรือสินทรัพย์ดิจิทัล ตรวจสอบรายชื่อผู้ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่แอปพลิเคชั่น SEC Check First หรือเว็บไซต์ ก.ล.ต.
.
▪️ เมื่อพบเห็นหรือถูกชักชวนลงทุนที่น่าสงสัยว่าจะเป็นแชร์ลูกโซ่ สามารถแจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
– ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 1359
– กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โทร. 1202
– กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โทร. 1441
– หรือแจ้งความออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com
.ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงยุติธรรม