29 สิงหาคม 2567
154

เงินบาทไทยแข็งค่าเร็ว ทุก ๆ 1% กระทบส่งออก 1 แสนล้านบาท

เงินบาทไทยแข็งค่าเร็ว ทุก ๆ 1% กระทบส่งออก 1 แสนล้านบาท


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเงินบาทไทยค่อนข้างผันผวนและพลิกกลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนส.ค. 67 ติดตามความเป็นมา ผลกระทบ และการคาดการณ์แนวโน้มในระยะสั้น

🔸 การเคลื่อนไหวของเงินบาทค่อนข้างผันผวนนับจากต้นปี 2567 โดยเริ่มต้นปีด้วยการทยอยอ่อนค่าทะลุแนว 37.00 ในช่วงปลายเดือนเม.ย. 67 ก่อนจะพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 จนหลุดแนว 34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

🔸 ค่าเงินดอลลาร์ฯ ที่ยังอาจถูกกดดันจากโอกาสการลดดอกเบี้ยของ Fed อาจทำให้มีความเป็นไปได้ที่เงินบาทจะแข็งค่าแตะระดับ 33.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในระยะสั้น อย่างไรก็ดี ธนาคารกสิกรไทยยังคงตัวเลขคาดการณ์ค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2567 ที่ 34.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ เนื่องจากเงินบาทยังมีโอกาสแกว่งตัวตามสถานการณ์และข้อมูลเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเพิ่มเติม

🔸 ท่ามกลางสภาวะที่เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เงินบาทที่แข็งค่าทุกๆ 1% อาจมีผลกระทบต่อรายได้ผู้ส่งออกเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นกว่า 0.5% ของ Nominal GDP


🔸 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2567 เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบผันผวน ในช่วง 33.88 - 37.17 บาทต่อดอลลาร์ฯ

🔸 สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่งน่าจะทำให้เฟดเลื่อนเวลาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไป กอปรกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศของไทยที่ยังอ่อนแอ กระตุ้นให้มีกระแสเงินทุนไหลออกจากทั้งในส่วนของตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ไทย

🔸 สถานการณ์เงินบาทเริ่มพลิกผันกลับมาแข็งค่าขึ้นตั้งแต่เดือนก.ค. 67 จนทะลุแนว 34.00 ไปแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 13 เดือนที่ 33.88 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในเดือนสิงหาคม 2567 

🔸 หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการเตรียมปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลังข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของสหรัฐฯ เริ่มมีภาพอ่อนแอลง ส่งผลค่าเงินผันผวนทั่วโลก

🔸 ขณะที่ เงินดอลลาร์สหรัฐ ที่อ่อนค่าและสถานการณ์ความไม่แน่นอนในตะวันออกกลางดันให้ราคาทองคำในตลาดโลกพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ ซึ่งเพิ่มแรงหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกทางหนึ่ง

🔸 ภาพดังกล่าว ไม่ได้ปรากฎเฉพาะค่าเงินบาท แต่เกิดขึ้นกับสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาคเช่นกัน โดย ณ วันที่ 28 ส.ค. 67 เงินบาทแข็งค่ามากสุดเป็นอันดับ 3 (+0.4% YTD จากต้นปี 2567) ตามหลังอันดับ 1 ซึ่งก็คือ เงินริงกิตของมาเลเซีย (+5.8% YTD) และอันดับ 2 อย่างดอลลาร์สิงคโปร์ (+1.3% YTD) ตามลำดับ 


🔸 แนวโน้มเงินบาทยังแข็งค่าต่อในระยะสั้น หรือประมาณ 1 - 2 เดือนจากนี้ มองว่า หาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ฯ ที่อ่อนแอจากเรื่องแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed ยังคงมีต่อเนื่อง อาจเห็นเงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 33.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ (คาดการณ์โดยสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย  

🔸 โดยตลาดคาดการณ์ว่า Fed น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงทุกรอบการประชุม FOMC ใน 3 รอบการประชุมที่เหลือของปีนี้ ประมาณ 0.75 - 1.00% เทียบกับโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ในขณะนี้ตลาดคาดว่า อาจเกิดขึ้นประมาณ 1 ครั้งในปีนี้ 

🔸 เนื่องจากความผันผวนของค่าเงินที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตามความซับซ้อนของปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองโลก ดังนั้น ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ส่งออก - ผู้นำเข้า ที่มีรายรับ - รายจ่ายในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ จึงต้องให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เช่น Forward, Options, Futures 

🔸 และแนะนำควรกระจายตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าเพื่อลดความเสี่ยง หลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาโดยตั้งเป้าหมายเพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการให้เหนือคู่แข่ง เลือกใช้เงินสกุลท้องถิ่น (Local Currency) ตลอดจนบริหารจัดการรายได้และต้นทุน และลดความเสี่ยงจาก FX ด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น Natural Hedge หรือ Foreign Currency Deposits (FCD) เป็นต้น

ติดต่อโฆษณา!