15 กรกฎาคม 2567
455

คดีทุจริตฉ้อโกงในบริษัท EA เขย่าวงการตลาดหุ้นรอบใหม่

คดีทุจริตฉ้อโกงในบริษัท EA เขย่าวงการตลาดหุ้นรอบใหม่


เรื่องนี้เปิดฉากขึ้นเมื่อ วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ชี้แจงกรณีการกล่าวโทษบุคคลรวม 3 ราย คือ นายสมโภชน์ อาหุนัย และนายอมร ทรัพย์ทวีกุล ซึ่งเป็นกรรมการและผู้บริหารบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) รวมทั้งนายพรเลิศ เตชะรัตโนภาส ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีร่วมกระทำการทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้แก่ตนเอง และ/หรือผู้อื่น ทำให้ EA และบริษัทย่อยเสียหาย


🚩 ผลกระทบวงกว้างต่อ เจ้าหนี้ เงินกู้ ตราสารหนี้ และหุ้น 
 
• EA มีหนี้กว่า 60,000 ล้านบาท มีหุ้นกู้กว่า 31,000 ล้านบาท มีนักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นเกี่ยวข้องกว่า 42,600 ราย 

• หุ้นกู้บริษัทที่จะครบกำหนดชำระใน Q3/2567 จำนวน 5,500 ล้านบาท โดยบริษัทแจ้งว่า เตรียมออกระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้รอบใหม่วงเงิน 20,000 ล้านบาทในช่วง 23 - 25 ก.ค. นี้ เพื่อเตรียมชำระหนี้ในส่วนที่ครบกำหนด ต้องรอลุ้นว่าจะสามารถดำเนินการต่อได้หรือไม่  


🚩 ตลาดหลักทรัพย์ฯขึ้นเครื่องหมาย “H”

• ราคาหุ้นของบริษัทนับจากต้นปีร่วงลงต่อเนื่องราว 70% ราคาสุดท้ายเมื่อวันศุกร์ที่ 12 ม.ค.67 อยู่ที่ 13.10 บาท ปรับลดลงจากราคาสูงสุดในวันที่ 3 ม.ค.67

• ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ขึ้นเครื่องหมาย “H” ในวันนี้ (15 ม.ค.67) เพื่อหยุดซื้อขายชั่วคราว หุ้น EA รอชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบฐานะการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากภาระหนี้สินโดยเฉพาะเงินกู้และหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระภายในปี 2567 และแนวทางที่ชัดเจนในการชำระหนี้ดังกล่าว

• ขณะที่ราคาหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องซึ่ง EA ร่วมลงทุนด้วย เช่น NEX ร่วง 25.97% ราคา -0.40 บาท หรือระดับราคาอยู่ที่ 1.14 บาท และ หุ้น BYD ร่วง 26.82% ราคา -0.48% หรือระดับราคาอยู่ที่ 1.31 บาท 


🚩 EA เปิดแถลงข่าวด่วน ปรับบอร์ดบริหาร

EA เปิดการแถลงข่าวตั้งแต่ช่วงเช้า ของวันที่ 15 ม.ค.67 โดยนายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการบริษัทฯ ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมแต่งตั้งกรรมการบริษัทเพิ่มเติม ประกอบด้วย นายชัชวาลย์ เจียรวนนท์, นายวสุ กลมเกลี้ยง และนายฉัตรพล ศรีประทุม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ยังมีมติเห็นชอบเพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติเพิ่มจำนวนกรรมการ และพิจารณาแต่งตั้ง นายสุพันธุ์ มงคลสุธี เป็นกรรมการใหม่ของบริษัท


🚩 ยันเตรียมเงินทุนชำระหนี้ 

นายสมใจนึก ระบุว่าสำหรับภาระหนี้สินของบริษัทฯ ที่จะครบกำหนดชำระในไตรมาสที่ 3 และ 4 ในปี 2567 นี้ ประกอบด้วย ภาระหนี้จากสถาบันการเงินประมาณ 3,200 ล้านบาท และหุ้นกู้จำนวน 5,500 ล้านบาทนั้น สามารถชำระได้ด้วยกระแสเงินสดจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมประมาณ 5,000 ล้านบาท (หัก Adder ของโครงการที่ครบกำหนดแล้ว) และได้เตรียมวงเงินสำรองจากสถาบันการเงิน และหุ้นกู้ที่จะเสนอขายเพิ่มเติม โดยหุ้นกู้อยู่ระหว่างขั้นตอนการยื่นเอกสารต่อ ก.ล.ต เพื่อเสนอขาย

🚩 เบื้องหลังโป๊ะแตก คนใกล้ชิดแฉพยานหลักฐานส่ง ก.ล.ต.

• โดยเมื่อปี 2559 ทาง ก.ล.ต. ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า EA อาจมีการทุจริตผ่านบริษัทย่อยในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2  แห่ง พร้อมส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องบางส่วน จึงได้ตรวจสอบหาความจริงและความถูกต้องเป็นไปตามข้อร้องเรียนหรือไม่

• จากนั้นได้ตั้งประเด็นตรวจสอบ EA หลายประเด็นเกี่ยวพันกันกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯหลายมาตรา มีความซับซ้อนในการตรวจสอบ และมีข้อมูลที่ต้องพิจารณาจำนวนมาก

• แต่ตามกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ก.ล.ต. ต้องให้เวลาและโอกาสผู้ต้องสงสัยชี้แจงอย่างเต็มที่เพื่อความเป็นธรรม ทั้งกรณีการเรียกมาสอบถ้อยคำและการให้ชี้แจงเป็นหนังสือ จึงได้ประสานหน่วยงานกำกับในต่างประเทศหลายแห่งและได้ความร่วมมือรวมเป็นอย่างดี

• จากการการตรวจสอบข้อมูลผ่านหน่วยงาน ก.ล.ต. หลายประเทศ ซึ่งใช้เวลานาน เกือบ 10 ปี พบว่า บุคคลทั้งสามกระทำผิดจริง จึงได้กล่าวโทษ

• เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2567 ก.ล.ต. จึงได้ออกเอกสารเผยแพร่ข่าวว่า ได้กล่าวโทษ นายสมโภชน์ นายอมร และนายพรเลิศ ร่วมกันกระทำการทุจริตการจัดซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ และทุจริตการจัดซื้อโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเหตุให้บุคคลทั้ง 3 รายได้รับผลประโยชน์ จำนวนรวม 3,465.64 ล้านบาท 

• ต่อมาเมื่อ 14 ก.ค.2567 ก.ล.ต.ได้เผยแพร่ข่าวเพิ่มเติมอีกว่า การกระทำความผิดได้เกิดในช่วงปี 2556 ถึงปี 2558 ต่อเนื่องกัน โดยกรณีนี้เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 311 ซึ่งมีอายุความ 15 ปี จึงจะหมดอายุความในปี 2573 (นับแต่ปี 2558)  ส่วนกรณีความผิดตามมาตรา 281/2 วรรคสอง ประกอบมาตรา 89/7 และมาตรา 89/24 มีอายุความ 10 ปี จึงจะหมดอายุความในปี 2568 (นับแต่ปี 2558) 

• อนึ่ง มูลเหตุที่มีการร้องเรียน EA ที่ผ่านมา มีผู้ประสงค์ดีได้มีการเปิดเผยเอกสารผ่านทางเพจ คุยหุ้น ว่าผู้ที่ร้องเรียนในเรื่องนี้ก็คือ ภรรยาของนายสมโภชน์ นั่นเอง!! โดยมีใจความบางส่วนดังนี้ 

• “ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าเริ่มกังวลกับนายเอก อาหุนัย ซึ่งเป็นลูกชายคนโตของ ข้าพเจ้ากับนายสมโภชน์ เพราะนายเอก อาหนัย กำลังทำหน้าที่เป็นประทับตรายางของนายสมโภชน์ เพื่อลงนามในเอกสารทุกประเภทซึ่งนายสมโภชน์ขอให้เขาเซ็น เอกสารบางฉบับที่นายสมโภชน์ให้นายเอกลงนามนั้น ถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสาร ประกอบการเกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติการฉ้อโกง อย่างไรก็ตาม นายเอกคิดว่าการลงนามในเอกสารนั้นไม่ผิด

• ในช่วงเกือบ 6 ปีที่ผ่านมา คุณสมโภชน์ยังมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมไทย ได้สร้างภาพ และได้รับชื่อเสียงดีงามในฐานะบุคคลที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เนื่องจากเขาสามารถนำ EA ไปสู่การเดิบโตที่ โดดเด่นในเวลาเพียง 10 ปี และทำให้คุณสมโภชน์ขึ้นเป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 7 ของ ประเทศไทย ตามที่ Forbes Thailand ประกาศ นายเอกจึงมองว่านายสมโภชน์เป็นผู้นำที่ดีและเป็นผู้นำที่ มีความรู้ความสามารถเป็นพิเศษ นายเอกก็เลยเต็มใจทำตามทุกอย่างที่นายสมโภชน์สั่งให้ทำ

ติดต่อโฆษณา!