22 มกราคม 2567
319

ธ.ไทยเครดิต เตรียมขายหุ้น IPO ราคา 28 - 29 บาท เข้าเทรด 9 ก.พ. 67 นี้

ธ.ไทยเครดิต เตรียมขายหุ้น IPO ราคา 28 - 29 บาท เข้าเทรด 9 ก.พ. 67 นี้

ธนาคารไทยเครดิต (CREDIT) ประกาศกำหนดช่วงราคาเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 28.00 - 29.00 บาท/หุ้น  ระหว่างวันที่ 23 - 26 ม.ค. 67 และสำหรับผู้ลงทุนสถาบันระหว่างวันที่ 31 ม.ค. - 2 ก.พ. 67  โดยจะสรุปราคาขายสุดท้ายในวันที่ 29 ม.ค. 67 

คาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET) วันที่ 9 ก.พ. 67

ธนาคารฯ แต่งตั้งผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย 3 ราย คือ บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) บล.บัวหลวง บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)

ผู้ร่วมรับประกันการจำหน่ายอีก 6 ราย คือ บล.กรุงศรี บล.กรุงศรี พัฒนสิน บล.ดาโอ (ประเทศไทย) บล.พาย บล.ไอร่า บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ และตัวแทนจำหน่ายหุ้น 1 ราย คือ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน


จำนวนหุ้นที่เสนอขาย ธนาคารจะเสนอขายหุ้นจำนวนไม่เกิน 347,029,122 หุ้น ประกอบด้วย 

(1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่เกิน 64,705,890 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 5.2% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลัง IPO

(2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย OCA Investment Holdings I Pte. Ltd. จำนวนไม่เกิน 282,323,232 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 22.9% รวมทั้งหมดคิดเป็นไม่เกิน 28.1% รวมมูลค่าการเสนอขาย 9,716,815,416-10,063,844,538 บาท

มูลค่าที่ตราไว้ (par) 5 บาทต่อหุ้น มูลค่าตามราคาบัญชี (book value) ณ วันที่ 30 ก.ย. 66 ที่ 14.43 บาทต่อหุ้น

ราคาเสนอขายหุ้น IPO พิจารณามูลค่าตามบัญชีของธนาคารฯ ณ วันที่ 30 ก.ย. 66 เท่ากับ 16,807.2 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด 1,229,289,222 หุ้น 

ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ จะได้มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Per Share) เท่ากับ 13.7 บาทต่อหุ้น และอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/B) ประมาณ 2.05 - 2.12 เท่า

ธนาคารฯ ได้เปรียบเทียบอัตราส่วน P/B ของธนาคารพาณิชย์เทียบเคียงที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 8 ธนาคาร และบริษัทที่ประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 3 บริษัท BBL (0.58) KBANK (0.53) KKP (0.82) KTB (0.63) BAY (0.61) SCB (0.75) TISCO (1.86) TTB (0.68) MTC (2.66) SAWAD (2.23) TIDLOR (2.34)

วัตถุประสงค์การใช้เงิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ ราว 863-895 ล้านบาท ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure) 863 - 895 ล้านบาท

นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อัตราการเติบโตสินเชื่อรายย่อยซึ่งเป็นจุดแข็งของธนาคารจะยังเติบโตต่อไป 30% อย่างน้อย 3 - 5 ปี ล่าสุด ธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อ 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 1.4 แสนล้านบาท

ติดต่อโฆษณา!