04 มกราคม 2564
1,632

ตั้งการ์ด “พอร์ตลงทุน” ปี64 ยังไง ให้รอดจาก COVID-19 ระลอกใหม่

ตั้งการ์ด “พอร์ตลงทุน” ปี64 ยังไง ให้รอดจาก COVID-19 ระลอกใหม่
Highlight
เหมือนวันนี้ ไม่มีใครรู้ว่าโรคระบาดระลอกใหม่จะจบลงเมื่อไหร่ ?
เศรษฐกิจโดยรวมจะเป็นอย่างไร?
เพราะเพิ่งเริ่มได้รับผลกระทบ แปลว่า อาจจะยังเร็วไปที่จะสรุปผลกระทบในระยะยาว

ดังนั้น ในสถานการณ์แบบนี้ “การเลือกลงทุน” จึงเป็นสิ่งสำคัญ และสำคัญกว่า การหยุดลงทุนไปเลย ด้วยสถิติที่น่าสนใจ “ตลาดหุ้นไทยหลังทุกโรคระบาด”

20210104-a-01.jpg

ผลแทนตอบตลาดหุ้นไทยหลังเกิดโรคระบาด


จากสถิติพบว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก โดย

  • 1 เดือนหลังจากเกิดโรคระบาด ตลาดหุ้นไทยบวกขึ้นมาเฉลี่ย 1.92%
  • และ 1 ปีหลังเกิดโรคระบาด ตลาดบวกขึ้นมาเฉลี่ยถึง 19.80%

หุ้นไทยช่วงวิกฤติCOVID-19 “ถูกหรือแพง” ?

อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการ บริหารฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) แนะนำว่า โดยปกติจะดูจาก P/E Ratio (อัตราส่วนราคาตลาดต่อกําไรสุทธิ) กับ Price to Book Value (P/BV Ratio) (อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี) ของหุ้นหรือของตลาด

“แต่ไม่มีใครทราบว่า Price to Book Value จะปรับลดตัวลงไปอีกหรือไม่ ดังนั้น
ในแง่ของการลงทุน คือ ควรทยอยลงทุน หรือที่เรียกว่า วิธีการซื้อหลายๆ ไม้ หรือแบ่งไม้ซื้อ”

20210104-a-02.jpg

ยกตัวอย่าง... ลงทุน 3 – 4 ไม้ จากนั้นก็วางกลยุทธ์ว่าจะถอยหรือจะรับอย่างไร
เช่น ดัชนีหุ้นลดลง 30 จุด ก็ซื้อไม้แรก เมื่อดัชนีหุ้นปรับลดลงต่ออีก 20 จุด ก็เข้าซื้อเป็นไม้ถัดไป
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ ราคาหุ้นมากำหนดได้ เช่น ถ้าราคาหุ้นปรับลดลงมา 5 บาท ก็ซื้อไม้แรก ลดลงไปอีก 3 บาท ก็ซื้อไม้ที่สอง เป็นต้น
ที่เดี๋ยวนี้เครื่องมือต่างๆ บน แอปพลิเคชั่นลงทุนจากโบรกเกอร์ค่ายต่างๆนั้น ก็มีให้เลือกใช้ได้ง่าย และสะดวก

แนวคิดปรับพอร์ตหุ้นเอาตัว(ให้)รอด

เมื่อเกิดวิกฤติ ทางออกสําคัญประการหนึ่งเพื่อลดความสูญเสีย คือ “การปรับพอร์ต”

"การปรับพอร์ตหุ้น" ควรให้น้ำหนักกับ

  1. ฐานะการเงินของกิจการที่แข็งแกร่ง
  2. แนวโน้มการฟื้นตัวของกิจการ

คำแนะนำจาก ธนวัฒน์ ปัจฉิมกุล ผู้อำนวยการบริหาร บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ที่เชื่อว่ารัฐบาลในแต่ละประเทศ รวมทั้งไทยด้วย มีการออกมาตรการหนุนเศรษฐกิจ และกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อเร่งการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์ กลุ่มธุรกิจ Logistics และ E-Commerce ก็จะได้ ประโยชน์จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงโรคระบาด เป็นต้น และคาดว่า จะได้เห็นการควบรวมกิจการมากขึ้นหลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว

ธีมการลงทุนที่น่าจับตามอง...ปี 64

  • ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’
  • ‘การเติบโตสูง’

หุ้นกลุ่มที่มีโอกาสฟื้นตัวกลับมาได้ดี
เช่น กลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ พลังงานและปิโตรเคมี โรงแรม รวมถึงโรงพยาบาล

หุ้นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการเติบโตได้ดี
เช่น สาธารณูปโภค ค้าปลีก ขนส่งสาธารณะและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

มารู้จักกับ Top-Down Analysis ที่ใช้เลือกหุ้นในยามวิกฤติ

ทันข่าวรวบรวมเอาข้อแนะนำจาก คุณ มยุรี โชวิกรานต์, CISA, AFPTTM รองกรรมการผู้จัดการฝ่าย Smart Wealth Consulting
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ในแนวคิดการคัดเลือกหุ้นยามวิกฤติมาฝาก ซึ่งเข้ากับสถานการณ์ปี 64 นี้ได้เป็นอย่างดี

20210104-a-03.jpg

  1. วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ

         สิ่งที่ควรประเมินต่อ ได้แก่

  • เศรษฐกิจจะชะงักงันนานขนาดไหน ?
    เพราะมีผลต่อการคัดเลือก อุตสาหกรรมในขั้นต่อไป
  • นโยบายการเงิน การคลังของแต่ละประเทศมีการช่วยเหลืออย่างไร และมากน้อยเพียงใด ?
    เพื่อประคองไม่ให้เศรษฐกิจถดถอยมากไปกว่าควรจะเป็น
  • พัฒนาการวัคซีน
    เพิ่มความสามารถในการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะฟื้นตัวในอัตราเร่งขึ้นได้
     2. อุตสาหกรรมที่น่าสนใจ
  • อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์
  • อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ ผลกระทบมีทั้งทางตรงและทางอ้อม

     3. เลือกหุ้นที่น่าสนใจ เมื่อแบ่งกรอบเวลาของการลงทุนออกเป็น 2 ช่วง

  • อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากวิกฤติ - เลือกหุ้นในกลุ่มนี้
    สะท้อนดูได้จากรายได้ และกําไรจากการดำเนินงาน หลังจากนั้นก็นําราคาตลาด ณ ปัจจุบัน เทียบกับ กําไรต่อ หุ้น (EPS) ของปีที่ประเมิน เพื่อหาว่าบริษัทไหนมี
    Valuation อยู่ที่ ระดับใด รวมถึงสังเกตุ Price Performance ในช่วง 1 - 3 เดือน ที่เริ่มเกิดวิกฤติถึงปัจจุบัน ว่าราคาหุ้นปรับขึ้นมามากน้อยเพียงใด เพื่อประเมิน
    ว่าราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมาสะท้อนปัจจัยบวกไปหมดแล้ว หรือไม่
  • อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤติ
    - มองหาธุรกิจที่อยู่รอดในภาวะวิกฤติ
    - อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
      ยิ่งอัตราส่วนนี้สูง ยิ่งเสี่ยงมากกับสภาพคล่องทางการเงิน
    - อัตราส่วน EBITต่อดอกเบี้ยจ่าย
      ยิ่งอัตราส่วนนี้สูงมากเท่าไรยิ่งดี ความเสี่ยงที่จะผิดนัด ชําระหนี้ส่วนของดอกเบี้ยจ่ายแต่ละงวดจะลดลง
    - กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกมากน้อยเพียงใด
      ยิ่งบวกมาก ยิ่งสะท้อนถึงสายป่านว่าสภาพคล่องสูง

จากนั้น ก็มาดูกันที่ Valuation เช่นPrice to Book Value (P/BV) ณ ขณะนี้ต่ำกว่า 1 เท่า มากน้อยเพียงใด อัตราผลตอบแทน จากเงินปันผล (Dividend Yield)
อยู่ในระดับที่ดีหรือไม่ หรือในภาวะวิกฤติยังสามารถ จ่ายเงินปันผลได้ และ Price to EPS (PER) ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอัตราผลตอบแทน จากเงินปันผลมากน้อยแค่ไหน

และสิ่งที่สำคัญที่ต้องไม่ลืม ก็คือ เมื่อเลือกหุ้นที่น่าสนใจลงทุนได้แล้ว สิ่งที่ต้องคอยติดตามคือ หากราคาหุ้นดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วย Sentiment ของตลาดหุ้นโดยรวม
และสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของหุ้นนั้นๆ
สุดท้ายปี “ปีฉลู-2564” ตลาดหุ้นและภาพการลงทุนจะไปได้ไกลแค่ไหนนั้น ยังคงต้องติดตามกันต่อไป เพราะสูตรการลงทุนที่ยังคงใช้ได้ตลอดกาล คือ
“การกระจายความเสี่ยงถือหุ้นหลายๆ ตัวเป็นเรื่องจำเป็น “ เพราะโอกาสผิดพลาดโดยเฉพาะในช่วงภาวะวิกฤตนั้นมีสูงกว่าปกติ

ติดต่อโฆษณา!