13 กันยายน 2566
392

อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ทั่วโลกเพิ่มขึ้น เริ่มส่งสัญญาณวิกฤต ?

อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ทั่วโลกเพิ่มขึ้น เริ่มส่งสัญญาณวิกฤต ? สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เมื่อเร็ว ๆ นี้เผยแพร่บทความ Capital Market Snapshot เรื่อง "อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ทั่วโลก เริ่มส่งสัญญาณวิกฤต ?

โดยประเด็นการผิดนัดชำระหนี้ เป็นที่สนใจของนักลงทุนมากขึ้น หลังจากหลายบริษัทไทยและต่างประเทศเริ่มประสบปัญหากันมากขึ้นในปีนี้ จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี และถูกซ้ำเติมจากสถานการณ์โควิดนับตั้งแต่ปี 2563 รวมทั้งนโยบายการเงินที่เข้มงวดของสหรัฐฯ ในการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อหยุดเงินเฟ้อ 

ผลการศึกษาระบุว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้เป็นอย่างมาก ทำให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้ (Default Rate) เมื่อเทียบกับ Speculative grade Bonds ทั้งหมดของทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 1.7 % ในปี 2021 เป็น 1.9% ในปี 2022 และของ Asia Pacific เพิ่มขึ้นมากจาก 3.2 % ในปี 2021 เป็น 6.4% ในปี 2022

สาเหตุหนึ่งที่สำคัญมาจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน นอกจากนี้ ยังพบว่าใน Asia มี Average Time to Default เร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

จากสถิติพบว่าระหว่างปี 1981 - 2022 ทั่วโลกมี Corporate Default ถึงจำนวน 3,253 ครั้ง แต่ในเอเชีย ระหว่างปี 1993 - 2022 มี Corporate Bond Default  เพียง 131 ครั้ง 

สำหรับปี 2022 มูลหนี้ของ Corporate Defaults ทั่วโลกมากกว่า 107 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และใน Asia มีมากกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

โดย Asia มี Default Rate สูงสุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น และยังพบอีกว่า Bond Default ในเอเชียสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งสวนทางกับทั่วโลก ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบจากอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในจีน 

ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก รวมประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ Emerging Market ออก bonds ที่ Rating BBB หรือระดับ Investment Grade เป็นสัดส่วนมากที่สุด แต่ในมุมทั่วโลกพบว่ามีสัดส่วนการออกบอนด์ที่ Rating B หรือ Speculative Grade มากที่สุด

ตราสารหนี้ใน Asia มี Average Time to Default เร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก นับจาก Credit Rating เริ่มต้นในเอเชียเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5 ปี ขณะที่เฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 6.2 ปี 

ปี 2022 ใน Asia สัดส่วนการออก Rating Bond ดีกว่าทั่วโลก แต่ระยะเวลาเฉลี่ยที่จะ Default นั้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกในทุก Rating

ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2023 ฐานข้อมูล SEC Open Data แสดงข้อมูลตราสารหนี้ของไทย ณ ปัจจุบัน พบว่ามี Investment - Grade Bond มูลค่าสูงถึง 27 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 93% ของตราสารหนี้ทั้งหมด

นอกจากนี้พบว่าในวิกฤตที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งนั้นจำนวน Corporate Bond Default สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ติดต่อโฆษณา!