12 มิถุนายน 2566
2,082

เจาะลึก !! เทรนด์ลงทุนครึ่งปีหลัง 2566

Highlight

ทิศทางการลงทุนจะเป็นอย่างไร หลังจากตลาดอิ่มตัวจากการซึมซับปัจจัยการเมืองในประเทศหลังผ่านการเลือกตั้งมาได้ราวหนึ่งเดือน และเริ่มหันมามองดูปัจจัยจากต่างประเทศมากขึ้น คุณติยะชัย ชอง, Head of Wealth and Preferred Segment Consumer Banking CIMBT กล่าวว่าสิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงถึงในเวลานี้คือ ถ้าหากเศรษฐกิจโลกและเอเชียชะลอตัวนานกว่าที่คาด อาจใช้เวลาข้ามปีในการฟื้นตัว เราจะรับมืออย่างไร ?


ในไตรมาสมาสแรกดูเหมือนว่าผลประกอบการจะดีขึ้น แต่เราต้องดูว่ามันมีความยั่งยืนหรือไม่ เหตุผลที่ขึ้นเพราะอะไร Earning quality เป็นอย่างไร ซึ่งอยากให้นักลงทุนระมัดระวัง 

อย่างไรก็ตาม ยังมีเครื่องมือในการลงทุน ซึ่งเป็นตัวช่วยบริหารจัดการความเสี่ยง ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งมีคำแนะนำดังนี้ 

นักลงทุนไม่ควรลงทุนแบบ Market Timing หรือเลือกเวลาในการลงทุน โดยเฉพาะพอร์ตหลัก ยกตัวอย่าง S&P500 ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสหรัฐ สำหรับการลงทุน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในเวลา 20 ปี จะได้รับกำไรกว่า 60,000 ดอลลาร์ แต่ถ้าเราพลาดช่วงสำคัญแค่เพียง 10 วันเราอาจพลาดกำไรที่ดีที่สุดไปราวครึ่งหนึ่ง หรือถ้าพลาดไป 20 วันก็ยิ่งลดลงไปอีกเยอะเลยทีเดียว

เหตุผลคือช่วงที่ตลาดผันผวน นักลงทุนจะยิ่งตื่นตระหนกและขายออก แต่ช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาที่เราสร้างกำไรได้สูงสุดเช่นกัน  

20230612-a-01.png

ดังนั้นพอร์ตหลัก ควรลงทุนระยะยาว ไม่ควรใช้วิธี Market Timing ซึ่งพอร์ตหลักส่วนใหญ่จะลงทุน 50-70% ในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่นเงินฝาก หุ้นกู้ คุณภาพดี ที่ให้ ผลตอบแทน 4% ขึ้นไป 

ดัชนี SET ซึ่งมีความผันผวนและไม่แน่นอน ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง รวมปันผลด้วย มีกำไรเฉลี่ย 3% ต่อปี 

ถ้าสมมุติเราลงทุนในหุ้นกู้ชั้นดี ก็สามารถสร้างผลตอบแทน 4-6% ต่อปี ก็เป็นการลงทุนที่สามารถสร้างความมั่นคงได้ 

การแบ่งสินทรัพย์ลงทุนในพอร์ตหลักจะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ ซึ่งส่วนใหญ่ CIMBT จะแนะนำลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งสามารถลงทุนในหุ้นกู้รายตัวได้ ซึ่งจุดเด่นของ CIMBT คือเป็นธนาคารในระดับ Reginal มีตลาดหุ้นกู้รองรับ 

ดังนั้นในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน นักลงทุนสามารถโยกเงินมาพักในตลาดตราสารหนี้ได้ 
ซึ่งมีให้เลือกทั้งหุ้นกู้ในประเทศและต่างประเทศ และสามารถขายคืนได้ โดยไม่ต้องลงทุนระยะยาว หรือถือจนครบกำหนด

สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้นั้น แนะนำลงทุนในตราสารหนี้บริษัทจดทะเบียนที่มีความมั่นคงด้านรายได้และกำไร มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำ และถ้ารับความเสี่ยงได้มากขึ้น แนะนำให้กระจายการลงทุนไปยังหุ้นกู้ต่างประเทศ

บริษัทขนาดใหญ่ของไทยบางบริษัท ก็ออกหุ้นกู้เป็นดอลลาร์สหรัฐก็มี เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ผลตอบแทนค่อนข้างดี 6-8% ถ้าเปรียบเทียบกับความเสี่ยงการลงทุนในตลาดหุ้นในระยะสั้น 



การบริหารจัดการพอร์ตในช่วงที่เงินเฟ้อสูง ซึ่งมีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อไปกดเงินเฟ้อ จะส่งผลต่อทิศทางการลงทุนอย่างไร ?

คุณติยะชัยกล่าวว่า ในเรื่องนี้มีความเห็นที่หลากหลาย บางธนาคารมองว่าเรื่องเงินเฟ้อยังไปได้อีกไกลหรือใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ขณะที่บางธนาคารวิเคราะห์ว่า เงินเฟ้อเริ่มทรงตัว และคาดว่าปีนี้ การขึ้นดอกเบี้ยก็เริ่มชะลอเช่นเดียวกัน

ในด้านการลงทุนโดยส่วนตัวมองไปที่บริษัทมากกว่าว่า ภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นนั้นบริษัทสามารถส่งต่อต้นทุนผ่านไปยังผู้บริโภคได้หรือไม่

ในระยะสั้น สิ่งที่สำคัญกว่าดอกเบี้ย คือปัจจัยพื้นฐาน หรือ Fundamental ของบริษัทนั้น โดยให้น้ำหนักในเรื่อง sustainability เช่น บางบริษัทปลดพนักงานออก ซึ่งอาจจะทำให้ผลประกอบการกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย แต่ต้องดูว่ามีความมั่นคงหรือไม่ 

20230612-a-03.jpg


แนะนำการจัดพอร์ตการลงทุน 

ยังเน้นพอร์ตที่มีความมั่นคง โดย 50%-70% ในหุ้นกู้ไทยคุณภาพสูง และสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้ ลงทุนในหุ้นกู้ต่างประเทศ 10%-20%  ในธุรกิจที่เรามีความมั่นใจ และเข้าใจเป็นอย่างดี อาจจะเริ่มจากหุ้นกู้ดอลลาร์ที่ออกโดยบริษัทไทยก็ได้  สิ่งสำคัญอยู่ที่ความต้องการและความเสี่ยงที่รับได้ และพอร์ตหลักต้องมั่นคง 

นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น แนะนำลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น 

1. หุ้นสหรัฐฯ เพราะมี Track Record ที่ยาว เช่น S&P500, Nasdaq ลงทุนระยะยาว ผลประกอบการค่อนข้างดี 

2. ถ้าดูเป็น Tactical หุ้นจีนน่าสนใจ แม้จะผันผวน แต่บาง Sector น่าสนใจ เช่น กลุ่มธนาคาร เมื่อเรามีฐานที่มั่นคง เราจะมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นอเมริกา หุ้นญี่ปุ่น ก็น่าสนใจเช่นกัน

ติดต่อโฆษณา!