23 มีนาคม 2566
773

เฟด ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด และส่งสัญญาณจะขึ้นดอกเบี้ยต่อจนกว่าจะคุมเงินเฟ้อได้ ทำตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงหนัก

เฟด ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด และส่งสัญญาณจะขึ้นดอกเบี้ยต่อจนกว่าจะคุมเงินเฟ้อได้ ทำตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงหนัก
Highlight

ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ยังคงพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ต่อไป ด้วยการประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ในวันพุธ แม้ว่าจะมีความกังวลว่าการเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมเงินอาจยิ่งทำให้สถานการณ์ความวุ่นวายในภาคการธนาคารย่ำแย่ลงอีก เฟดระบุด้วยว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสมโดยอาจมีการขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียงหนึ่งครั้งจากระดับ 4.9% ในวันพุธ เป็น 5.1% ภายในปีนี้ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี

ระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (Federal Reserve) ยังคงพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ต่อไป ด้วยการประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ในวันพุธ แม้ว่าจะมีความกังวลว่าการเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมเงินอาจยิ่งทำให้สถานการณ์ความวุ่นวายในภาคการธนาคารย่ำแย่ลงอีก

เฟดมีแถลงการณ์หลังการประชุมด้านนโยบายสิ้นสุดลงในวันพุธว่า "ระบบธนาคารสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งดี" แต่ก็เตือนว่า ความวุ่นวายทางการเงินที่เกิดจากการล้มลงของธนาคารขนาดใหญ่สองแห่งของสหรัฐฯ "น่าจะมีผลให้มีการคุมเข้มด้านเงินกู้" และ "ให้น้ำหนักกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและเงินเฟ้อ"

เฟด ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกหากจำเป็น เพื่อฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายที่ระดับ 2%

  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,030.11 จุด ร่วงลง49 จุด หรือ -1.63%,
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,936.97 จุด ลดลง90 จุด หรือ -1.65% และ
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,669.96 จุด ลดลง15 จุด หรือ -1.60%

 

ทั้งนี้ เฟดเปิดเผยการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ซึ่งระบุว่า เจ้าหน้าที่เฟดคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสู่ระดับ 5.1% ในปีนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 ครั้งหลังการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ คาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.8% ในปี 2567 และ 1.2% ในปี 2568

อย่างไรก็ดี ตลาดร่วงลงในเวลาต่อมา หลังจากนายพาวเวลแถลงข่าวภายหลังการประชุมโดยระบุว่า “เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกหากจำเป็นในการควบคุมเงินเฟ้อ แม้เรารู้ว่าภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค แต่แน่นอนว่า เฟดจะดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงินต่อไปเพื่อฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายที่ระดับ 2%”

ถ้อยแถลงดังกล่าวของนายพาวเวลทำให้นักลงทุนกังวลว่า การเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ จะส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาคธนาคารของสหรัฐกำลังเผชิญวิกฤตการณ์ นับแตั้งแต่การล่มสลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) และซิกเนเจอร์ แบงก์ (SB)

ตลาดได้รับแรงกดดันมากขึ้นเมื่อนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐแถลงต่อสภาคองเกรสว่า บรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) ไม่มีการพิจารณาเรื่องการคุ้มครองเงินฝากทั้งหมดของภาคธนาคาร ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวทำให้นักลงทุนผิดหวัง หลังจากที่ก่อนหน้านี้สื่อหลายสำนักรายงานว่า กระทรวงการคลังสหรัฐกำลังศึกษาแนวทางในการทำให้ FDIC สามารถคุ้มครองเงินฝากได้ทั้ง 100% จากปัจจุบันที่ให้การคุ้มครองไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์

หุ้นทั้ง 11 กลุ่มที่คำนวณในดัชนี S&P500 ปิดในแดนลบ นำโดยดัชนีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ดิ่งลงกว่า 3.6% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงในวันเดียวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 2565

ดัชนี S&P500 banking index ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารที่คำนวณใน S&P500 และดัชนี KBW regional banking index ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารระดับภูมิภาค ร่วงลง 3.7% และ 5.3% ตามลำดับ

หุ้นธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิค แบงก์ (FRB) ดิ่งลง 15.5% หลังจากสื่อรายงานว่า FRB อาจจำเป็นต้องลดขนาดองค์กร หรือขอการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณด้วยว่าอาจใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของมาตรการขึ้นดอกเบี้ยสูงต่อเนื่องเพื่อควบคุมเงินเฟ้อแล้ว โดยแถลงการณ์ของเฟดชี้ว่าได้ปรับเปลี่ยนคำที่ใช้ในเรื่องนโยบายดอกเบี้ย จากที่บอกว่า "จะขึ้นอย่างต่อเนื่องในการประชุมครั้งต่อไป" เป็นการปรับใช้นโยบายตามความเหมาะสม

เฟดยังคาดการณ์ด้วยว่า อาจมีการขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียงหนึ่งครั้งจากระดับ 4.9% ในวันพุธ เป็น 5.1% ภายในปีนี้ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี อย่างไรก็ตาม เฟดระบุว่าการต่อสู้กับเงินเฟ้อยังอยู่อีกไกลกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ และ "อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้น"

เจอโรม พาวเวลล์ ประธานผู้ว่าการระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวต่อผู้สื่อข่าวในวันพุธว่า "กระบวนการนำเงินเฟ้อให้กลับลงมาอยู่ที่ระดับ 2% ยังคงอยู่อีกไกลและอาจมีเส้นทางที่ขรุขระ"

ทั้งนี้ การส่งสัญญาณของเฟดว่ามาตรการขึ้นดอกเบี้ยอาจสิ้นสุดลงเร็ว ๆ นี้ อาจช่วยผ่อนเพลาผลกระทบของความวุ่นวายในภาคการธนาคารของสหรัฐฯ และการเข้าซื้อกิจการธนาคารเครดิตสวิสในสวิตเซอร์แลนด์โดยคู่แข่งคือ ธนาคารยูบีเอส ลงได้บ้าง

เมื่อต้นเดือนนี้ พาวเวลล์กล่าวต่อคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาสหรัฐฯ ว่า เฟดกำลังพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% ในเดือนมีนาคม หลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานและการใช้จ่ายของผู้บริโภคออกมาดีกว่าที่คาดไว้ แต่หลังจากที่เกิดปัญหาในภาคการธนาคารเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้เฟดเปลี่ยนใจขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25%

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางคนเตือนว่า แม้เฟดขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ในระดับไม่สูงมาก แต่เมื่อรวมกับการขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งที่ผ่านมาก็อาจทำให้ธนาคารต่าง ๆ มีต้นทุนการกู้ยืมเงินที่สูงขึ้นจนประสบปัญหาเช่นเดียวกันธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ และธนาคารซิกเนเจอร์ได้

นักเศรษฐศาสตร์เตือนด้วยว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนี้อาจทำให้ธนาคารขนาดกลางและขนาดย่อมต้องใช้มาตรการเก็บรักษาเงินสดสำรองและปล่อยกู้น้อยลง ซึ่งหมายความว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจต่าง ๆ ก็อาจจะลดน้อยลงไปด้วย และนั่นอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

บรรดานักวิเคราะห์ในวอลสตรีทเชื่อว่า เศรษฐกิจที่อ่อนแอลงอาจส่งผลให้เฟดเริ่มลดดอกเบี้ยลงในช่วงฤดูร้อนปีนี้ได้เช่นกัน

เงินบาทไทยแข็งค่า

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.20 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.43/45 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน หลังเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25%

“บาทแข็งค่าตามภูมิภาคและทิศทางตลาดโลก หลังเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยใกล้จบในการ ประชุมครั้งหน้า ระหว่างวันน่าจะเคลื่อนไหวไปตามการย่อยข่าวผลประชุมเฟด”

นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.05 – 34.35 บาท/ดอลลาร์

ตลาดหุ้นไทยผันผวน แกว่งตัวแคบๆ ตั้งแต่เปิดตลาด แต่ไม่ปรับลดลงรุนแรงตามตลาดหุ้นสหรัฐ เมื่อเวลา 10.28 น. เคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,588.22 เพิ่มขึ้น 3.24 จุด มูลค่าการซื้อขาย 14,390 ล้านบาท

ที่มา : เอพี , VOA




ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ

🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC

ติดต่อโฆษณา!