27 มกราคม 2566
1,106

ส่องหุ้น..ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น ทยอยเก็บเข้าพอร์ตก่อนราคาวิ่งแรง

ส่องหุ้น..ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น ทยอยเก็บเข้าพอร์ตก่อนราคาวิ่งแรง
Highlight

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ เตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในสัปดาห์หน้า  จากแนวโน้มเงินเฟ้อชะลอ ราคาพลังงานเริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับสูง และยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ 2% ดังนั้นดอกเบี้ยก็ยังคงขึ้นต่อไป หรือจะหยุดอยู่ที่ 5% ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับแนวโน้มของเงินเฟ้อ และตัวเลขเศรษฐกิจในอนาคตเป็นสำคัญ   บล.เอเชียพลัส แนะลงทุนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น เช่น กลุ่มธนาคาร หุ้น Net Cash หรือธุรกิจที่มีกระแสเงินสด และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการประชุม FOMC รอบแรกของปี 2566  ในวันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ. นี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 4.50-4.75%

 

  • การปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้จะไม่รุนแรงเท่ารอบก่อนๆ หลังเงินเฟ้อมีทิศทางอ่อนแรงลงอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ เดือนธ.ค. 2565 ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน โดยอยู่ที่ระดับ 6.5% YoY ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต.ค. 2564 

 

  • เงินเฟ้อจะอ่อนแรงลงแต่ก็ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงสะท้อนภาพที่แข็งแกร่งอยู่ ดังนั้นเฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง

 

  • เมื่อมองไปในระยะข้างหน้า เส้นทางดอกเบี้ยนโยบายของเฟดคงขึ้นอยู่กับข้อมูลเงินเฟ้อและเศรษฐกิจที่ออกมาเป็นสำคัญ

 

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีแรก มีแนวโน้มที่จะเห็นผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในปีก่อนหน้าของเฟด

 

  • ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้คาดว่าจะไม่เติบโต (GDP ขยายตัวราว 0%) ส่งผลให้เฟดอาจจำเป็นต้องให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมากขึ้นในระยะข้างหน้า

 

  • เงินเฟ้อสหรัฐฯ แม้จะยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของเฟดที่ 2.0% อย่างมาก แต่คาดว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะค่อยๆปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ท่ามกลางแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

 

  • จีนเปิดประเทศ อาจจะส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ขยับขึ้นบ้าง แต่คาดว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์คงไม่กลับมาพุ่งสูงขึ้นดังเช่นในช่วงปี 2565 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามรัสเซีย-ยูเครน

 

  • ภายใต้สมมุติฐานดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่า เฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกเพียงแค่ 1 ครั้งในการประชุมเดือนมี.ค. 2566 ส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ คงไปแตะระดับสูงสุดที่ราว 5.0% และเฟดอาจคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับนั้นตลอดปี 2566

 

  • หากเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังคงคาอยู่ในระดับสูงและไม่ปรับลดลงเท่าที่ควร ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ก็อาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดยังคงจำเป็นต้องเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องไปเกินกว่าระดับ 5.0%

 

ดอกเบี้ยขาขึ้น ลงทุนหุ้นธนาคาร หุ้นกระแสเงิน และหุ้นเกี่ยวข้องท่องเที่ยว

 

  • บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ดอกเบี้ยมีทิศทางขาขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.50% เมื่อ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา

 

  • เป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 ของไทยอเมื่อนับจากปี 65 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อเนื่อง และ เพื่อสกัดความร้อนแรงของเงินเฟ้อให้เข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3%

 

สรุปได้ 3 ประเด็นหลัก กนง. ยังคงทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย มีดังนี้ 

 

  1. ความเสี่ยงเชิงลบจากต่างประเทศลดลง โดยเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ อย่างสหรัฐและยุโรป มีโอกาสที่จะชะลอตัวแบบ Soft Landing ได้ จากมุมมอง Downside Risk ที่จำกัด สะท้อนจากตลาดแรงงานในสหรัฐที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง รวมถึงราคาพลังงานในยุโรปทยอยปรับลดลงมา ซึ่งน่าจะส่งผ่านมายังเศรษฐกิจ ไทยให้มีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วง ครึ่งหลังของปี 66 

 

  1. เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวสู่ระดับก่อน Pre-Covid ยังได้แรงหนุนจากการผ่อนคลาย มาตรการเดินทางของจีน โดยปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย ในปีนี้จาก 22 ล้านคน เป็น 25.5 ล้านคน (คาดแตะ 34.0 ล้านคนในปี 67) เป็น แรงส่งต่อเนื่องไปยังการจ้างงานจนถึงการบริโภคภาคเอกชน หนุนความสามารถ ในการชำระหนี้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจดีขึ้น รวมถึงการส่งออกทางด้าน บริการจะเร่งขึ้นมาแรง ทดแทนการส่งออกสินค้าที่ลดลง

 

  1. การต่อสู่กับเงินเฟ้อยังไม่สิ้นสุด ซึ่งในระยะถัดไปหากจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทย มากกว่าคาดไว้ อาจกดดันราคาอาหารสำเร็จรูป จนส่งผลให้ Core CPI ปรับตัวลง ได้ค่อนข้างช้าเช่นกัน และบ้านเราอาจเผชิญกับเงินเฟ้อในรูบแบบ Demand Pull

 

ในส่วนของนโยบายการเงินระยะถัดไป กนง. พร้อมจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับแนวโน้ม เศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจใน Q1/66 ค่อนข้างมีความสำคัญที่ ธปท. จะนำไปพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม กนง. ครั้งที่ 2 (วันที่ 29 มี.ค. 66) 

 

สรุป กนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.50% สอดคล้องกับการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจไทย และการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะ ถัดไปะเป็นตามแนวโน้มเศรษฐกิจและสถานการณ์เงินเฟ้อ 

 

ขณะเดียวกันการขึ้นดอกเบี้ย ตามกลไกเป็นตัวจำกัด Upside ของตลาดหุ้นไทยให้แคบลง กดดันตลาดหุ้นช่วงสั้นๆ และส่งผลให้กรอบเป้าหมายสิ้นปี 2566 ของ SET ลดลงมาอยู่บริเวณ 1740 จุด 

 

หุ้นที่ได้ประโยชน์จากประเด็นนี้มี 3 กลุ่ม คือ 

 

  1. หุ้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ (BBL ) (เน้นลูกค้า ขนาดใหญ่) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) (ราคา Laggard) ธนาคารกรุงไทย (KTB)  (จ่ายปันผลปีละครั้ง 5%ต่อปี) 


  2. หุ้น Net Cash หรือหุ้นที่มีกระแสเงินสดรับ อย่างเช่น บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป  (M),  SAPPE, บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT)


  3. หุ้นได้แรงหนุนเศรษฐกิจฟื้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ฟื้นตัวเร็ว เช่น BEM,  CPALL, ERW,  CENTEL, และ  ADVANC



    ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ

    🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
    🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
    🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
    🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC
ติดต่อโฆษณา!