17 สิงหาคม 2565
924

Asia Plus คาดหุ้นไทยทำกำไร Q2/65 สูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 3.2 แสนล้านบาท ต่างชาติทะลักลงทุน

Asia Plus คาดหุ้นไทยทำกำไร Q2/65 สูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 3.2 แสนล้านบาท ต่างชาติทะลักลงทุน
Highlight


บริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส รวบรวมผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน Q2/65 ซึ่งทยอยประกาศถึง 15 ส.ค คิดเป็น 87% ของตลาดรวม พบว่ามีกำไรรวมสูงถึง 3.2 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และคาดกำไรรวมทั้งปีจะทะลุ 1 ล้านล้านบาท โดยกลุ่มที่ทำกำไรโดดเด่นสำหรับ Q2/65 คือกลุ่มพลังงาน โรงกลั่น ธนาคาร และอุปโภคบริโภค และคาดครึ่งหลังเศรษฐกิจฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวทำให้มีโอกาสเห็นกำไรเติบโตต่อเนื่อง เงินทุนต่างชาติไหลเข้าแล้วเดือนนี้กว่า 1.8 หมื่นล้านบาทและคาดไหลเข้าต่อเนื่องขณะที่ หุ้นสหรัฐฯ และยุโรป น่าสนใจน้อยลงหลังเริ่มมีสัญญาณ เศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคโดย GDP ลดลงต่อเนื่อง 2 ไตรมาส


20220817-a-01.jpg

20220817-a-02.jpg

ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส (ASPS) รวบรวมผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งทยอยแจ้งผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2/2565 ถึงวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้ประกาศออกมาแล้ว 465 บริษัท คิดเป็น 87% ของมูลค่าตลาดรวม (Market Cap) พบว่ามีกําไรสุทธิรวม 3.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.2% จากไตรมาสก่อน (QoQ) และ 27.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ALL TIME HIGH)

“และสัปดาห์นี้อาจเห็นการทยอยประกาศงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนไทย 2Q65 ที่ เหลือทั้งหมด คาดว่าจะช่วยหนุนให้กําไร 2Q65 มีโอกาสขึ้นทําจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ได้ เพราะเท่าท่ีประกาศออกมา สูงกว่ากําไรสูงสุดเดิมในงวด 1Q61 ที่ 2.95 แสนล้านบาท ไปแล้ว” ฝ่ายวิจัย ASPS ระบุ

ดังนั้นกําไรที่เติบโตต่อเนื่อง อาจหนุนให้กําไรครึ่งปีแรก 2565 สูงเกิน 6 แสนล้านบาท หรือสูงเกินครึ่งหนึ่งของที่ฝ่ายวิจัย ASPS ทําประมาณการทั้งปี 2565 ที่ 1.04 ล้านล้านบาท (ประมาณการกำไรต่อหุ้น หรือ EPS ปี65 อยู่ที่ 88.9 บาท/หุ้น)

ASPS คาดเศรษฐกิจไทยและกำไรบริษัทจดทะเบียนในครึ่งปีหลัง65 เติบโตต่อเนื่อง

จากแนวโน้มเชิงบวกดังกล่าว ASPS ระบุว่าทีมวิจัยอาจปรับประมาณการกําไรทั้งปีเพิ่มข้ึน แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้นหลังจากกังวลกับหลายประเด็นลบส่งผลกําไรถูกกดดันลดลงมาพักหน่ึง

จากการประกาศผลกำไรที่ดีกว่าที่คาด และที่สําคัญเป็นกําไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ของบริษัทจดทะเบียนไทย ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเปิด Upside ให้กับประมาณการ กําไร และเป้าหมาย SET Index เบื้องต้นเป็นไปได้ที่ฝ่ายวิจัยจะปรับตัวเลข EPS ปี 2565 ขึ้นไปเหนือ 94 บาท/หุ้น นักวิเคราะห์จาก ASPS กล่าว

ส่วนภาพใหญ่ในทางเศรษฐกิจไทย ยังเห็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเมื่อ 15 สิงหาคมมีการประกาศ GDP งวด 2Q/65 โดยเติบโต 2.5% ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการเติบโตสวนทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐ และ อังกฤษ ท่ีหดตัว QoQ และมีโอกาสทยอยเข้าสู่ภาวะ Technical Recession ภาพดังกล่าวน่าจะหนุน Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย

FUND FLOW ไหลเข้าไทย

เมื่อประเทศพัฒนาแล้ว สุ่มเสี่ยงต่อภาวะ  RECESSION ส่วนไทย GDP คาดโตต่อเนื่องหนุน FUND FLOW เข้าหุ้นไทยต่อเนื่องมีโอกาสดันดัชนีครึ่งปีหลังสูงขึ้น

สัญญาณบ่งชี้เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มถดถอยคือ ตัวเลข GDP งวด 2Q/65 พบว่าติดลบ -0.9% QoQ ถือเป็นการติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา 2 ไตรมาสต่อเนื่อง ทําให้เข้าสู่นิยามของภาวะเศรษฐกิจถดถอยเรียบร้อย ขณะที่ GDP อังกฤษ -0.1% QoQ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.8% QoQ ในไตรมาสแรก โดยได้รับผลกระทบจากการขายปลีก และการบริโภคในครัวเรือนที่ลดลงครั้งแรกในรอบกว่าหนึ่งปี (หดตัวลงในไตรมาสที่สองเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิด COVID-19)

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเรื่อง Technical Recession ยังไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทย และเศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตได้ต่อไป หนุนให้ Fund Flow ต่างชาติไหลเข้าหุ้นไทยในระยะถัดไป ด้วย 3 เหตุผล ดังนี้

1. GDP ไทยยังแข็งแกร่ง ไม่ติดลบรายไตรมาส โดยในปี 2565 ไทยยังไม่เคยมีไตร มาสที่ GDP ลดลง QoQ โดยตัวเลข GDP ที่ประกาศเมื่อ 15 ส.ค. เติบโต 2.5% อีกทั้งตั้งแต่ 2Q/65 ไทยทยอยเปิดกิจกรรม ทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งพัฒนาการดังกล่าวทําให้ความเสี่ยงที่จะเกิด GDP ติดลบเป็นไปได้ยาก

2. ตัวเลขเศรษฐกิจไทยท่ียังแข็งแกร่ง อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) เดือน กรกฎาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 42.4 เพิ่มข้ึนจากเดือนมิถุนายน ซึ่งอยู่ท่ี 41.6 โดยเป็นการเพิ่มข้ึน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

3. ค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.26 บาท/เหรียญฯ(1 เดือน ก่อนหน้าอยู่ที่ 36.5 บาท/เหรียญฯ) เป็นหนึ่งในแรงหนุนให้ Flow ต่างชาติไหลเข้า หุ้นไทย เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX Loss) น้อยลง


สรุปคือ ประเทศฝั่งพัฒนาแล้วภาพรวมเศรษฐกิจสุ่มเสี่ยงเกิด Recession นําโดย สหรัฐฯที่เกิด Technical Recession และอังกฤษท่ี GDP 2Q/65 ติดลบแล้ว 1 ไตรมาส ขณะที่ไทย GDP รายไตรมาสยังเป็นบวกอยู่ บวกกับตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง คาด หนุนให้ Fund Flow ต่างชาติมีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อ

นอกจากนี้หุ้นธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ติด 1 ใน 13 หุ้นทั่วโลก เข้าดัชนี MSCI GLOBAL STANDARD เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา MSCI ได้มีการปรับน้ําหนักดัชนีต่างๆ รอบไตรมาส ปกติหุ้นไทยจะไม่เห็น การคัดเข้าออกรอบเดือนสิงหาคม แต่รอบนี้ KBANK กลับเป็น 1 ใน 13 หุ้นที่ถูกคัดเข้าดัชนี MSCI Global Standard ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในราคาปิดวันท่ี 31 สิงหาคม 2565

และตามสถิติในอดีตช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หุ้นที่ถูกคัดเข้ามีโอกาสขยับขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวัน มีผลบังคับใช้ และมักจะให้ผลตอบแทนดีสุด หากซื้อตั้งแต่วันประกาศและขายทํากําไร วันที่มีบังคับใช้ มีโอกาสได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 9.8%

สรุปการที่ KBANK กลับเข้ามาในดัชนี MSCI Global Standard ถือเป็นอีกหนึ่งแรง ที่ดึงดูด Fund Flow ไหลกลับเข้ามาหนุนหุ้นมากขึ้น พร้อมกับตลาดหุ้นที่กําลังเข้าสู่ ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นพอดี

สรุปคือ ทั้งตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแรง โดย CCI เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 และ GDP งวด 2Q65 ยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง แตกต่างกับสหรัฐที่เริ่มชะลอลง บวกกับกําไรบริษัท จดทะเบียนที่เติบโตและออกมาดีกว่าคาด หนุนให้ Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้า ตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยเดือนสิงหาคมนี้ ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยกว่า 1.85 หมื่นล้านบาท

สําหรับกลยุทธ์การลงทุน เลือกหุ้นขนาดใหญ่ที่มีแรงหนุนเฉพาะตัว เช่น KBANK (กลับเข้ามาดัชนี MSCI Global Standard อีกครั้ง), BAM (ไม่หลุดดัชนี MSCI เหมือนที่ตลาดคาด แนวโน้ม กําไรยังเติบโตต่อเนื่อง), CENTEL (หุ้นเปิดเมืองเด่น หวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและ ตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มต่อเนื่องหนุน)

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) เมื่อเวลา 11.26 น. ของวันที่ 17 ส.ค.65 เคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,633.03 จุด เพิ่มขึ้น 6.08 จุด +0.37% มูลค่าการซื้อขายรวม 2.63 หมื่นล้านบาท หุ้นที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก คือ KBANK ราคาอยู่ที่ 152 บาท เพิ่มขึ้น 0.33% , DELTA ราคาอยู่ที่ 608 บาท เพิ่มขึ้น 3.05% และ BH ราคาอยู่ที่ 193 บาท เพิ่มขึ้น 2.11%



ติดต่อโฆษณา!