01 สิงหาคม 2565
5,390

5 ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับกองทุน SSF - RMF

Highlight

SSF และ RMF เป็นการลงทุนในกองทุนรวมระยะยาว ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ทั้งสองประเภทกองทุน แต่มีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักลงทุนต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนการลงทุน SSF ต้องลงทุนครบ 10 ปี และ RMF ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่องและขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปี และสามารถสับเปลี่ยนได้ในประเภทกองทุนเดียวกัน ทั้งนี้ผลตอบแทนจากการลงทุนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ประเภทสินทรัพย์ในการลงทุน โอกาสและการเติบโตของสินทรัพย์ นั้นๆ Phillip Fund Supermart แหล่งรวมกองทุนรวมจากทุกบลจ. และมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการลงทุน

Phillip Capital

เนื่องจากการลงทุนที่ผันผวน ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นปี ทำให้การลงทุนในกองทุน SSF-RMF เป็นที่สนใจตั้งแต่ช่วงกลางปี มาทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับ 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงทุน SSF และ RMF คืออะไรบ้าง

ชัชพล ตันเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์กองทุน จาก Phillip Fund Supermart บมจ.หลักทรัพย์ฟิลลิป กล่าวว่า กองทุน SSF และ RMF ในปัจจุบันมีหลากหลายมาก แต่ละ บลจ.มีนโยบายของกองทุน SSF และ RMF ที่แตกต่างกันไป บางกองทุนลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ บางกองทุนลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ระยะยาวการเติบโตก็ไม่เท่ากัน ความเสี่ยงก็ไม่เท่ากัน

เพราะฉะนั้นนักลงทุนต้องเลือกให้เหมาะสมกับตนเอง ไม่ใช่ว่าจะเลือกลงทุนอะไรก็ได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเลือกกองทุนก็คือ จะลงทุน SSF หรือ RMF เพราะทั้งสองกองทุนนี้มีเงื่อนไขแตกต่างกัน

20220801-a-01.jpg

5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกองทุน SSF-RMF

🔸1. แค่ต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี กองทุนอะไรก็ได้

การลงทุนใน SSF และ RMF โดยทั่วไปมีหลักเกณฑ์การลงทุนดังนี้

  • เป็นการลงทุนระยะยาว ไม่สามารถขายได้หากไม่ถึงกำหนด
  • สามารถสับเปลี่ยนกองทุนในประเภทเดียวกันได้
  • ไม่สามารถสับเปลี่ยนข้ามประเภทได้

 เงื่อนไขการลงทุน

  • SSF ต้องลงทุนครบ 10 ปี
  • RMF ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่องและขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปี

ดังนั้นในเมื่อทั้งสองกองทุนนี้มีเงื่อนไขการลงทุนที่ต่างกัน นักลงทุนต้องพิจารณาดูว่า สนใจกองทุนประเภทแบบไหน เลือกความเสี่ยงแบบไหน และเป็นสินทรัพย์อะไร

🔸2. ลงทุน SSF-RMF ไปแล้วเปลี่ยนกองทุนไม่ได้ต้องถือยาวจนครบอายุ

เป็นความเชื่อที่ผิด เกิดกับบางคนโดยเฉพาะนักลงทุนมือใหม่ที่ศึกษาการลงทุนเบื้องต้นใน SSF-RMFจะได้รับการเตือนว่ากองทุนต่างๆ ลงทุนแล้วลดหย่อนภาษีได้จริง แต่มีเงื่อนไขต้องปฎิบัติตาม ก็คือ SSF ต้องลงทุนอย่างน้อยครบ 10 ปีถึงจะขายได้ RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องจาถึงอายุ 55 ปีถึงจะขายได้

นักลงทุนก็จะเข้าใจว่า ต้องลงทุนในกองทุนนั้นระยะยาวไม่สามารถเปลี่ยนกองทุนได้ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะเงื่อนไขการลงทุนอาจจะขายไม่ได้ก็จริง แต่ว่าช่วงที่เราลงทุนสามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้

ลงทุน SSF หุ้นไทยไป ลงทุนไป 3-4 ปีรู้สึกว่าการเติบโตไม่ค่อยดีให้ผลตอบแทนน้อยกว่าหุ้นต่างประเทศ อยากเปลี่ยนกอง แต่ขายไม่ได้ แต่สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ แต่ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ การสับเปลี่ยนก็มีเงื่อนไขคือต้องสับเปลี่ยนในกองทุนประเภทเดียวกัน

SSF ก็ต้องสับเปลี่ยนกองทุนประเภทเดียวกัน  กองทุน SSF ก็ต้องเปลี่ยนกับ SSF ส่วน RMF ก็ต้องสับเปลี่ยนกับ RMF

🔸3. กองทุน SSF-RMF จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในระยะยาวเสมอ เพราะมีมืออาชีพบริหารให้

ความเข้าใจที่ว่า กองทุน SSF-RMF จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในระยะยาว เพราะมีมืออาชีพบริหารให้ เป็นความเชื่อที่มีส่วนถูก แต่ไม่ถูกทั้งหมด เพราะเมื่อมีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น มักจะได้ยินเสมอว่า การลงทุนในหุ้นระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน เกืดขึ้นได้ แต่ถ้ามีระยะการลงทุนที่ยาวพอ คุณมีสิทธิ์มีกำไรได้สูง โดยเฉพาะการลงทุนในกองทุนรวม มีผู้จัดการกองทุน ช่วยบริหารพอร์ตลงทุนให้ จะได้ผลตอบแทนที่ดีแน่นอน ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง

จริงๆ แล้วต้องไปดูสินทรัพย์ที่กองทุนนั้นไปลงทุนด้วย เช่นบางกองทุนมีนโยบายลงทุนในกองทุนน้ำมัน ช่วงนี้ราคาน้ำมันพุ่งแรง คนที่ลงทุนก็อาจจะดีใจ แต่ถ้ามองการลงทุนในระยะยาวของสินทรัพย์เหล่านี้ เกิดพื้นฐานเปลี่ยนไป ในอนาคตอาจใช้น้ำมันน้อยลง ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เมื่อถูกลดทอนความสำคัญลง

จนพื้นฐานเปลี่ยนแปลงไป ต่อให้เป็นกองทุนน้ำมันที่มีผู้จัดการกองทุนน้ำมันดูแลอยู่ แต่ถ้าสินทรัพย์นั้นมีพื้นฐานเปลี่ยนไป โอกาสเติบโตน้อยลง ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะขาดทุนได้

ดังนั้นจึงย้อนกลับมาที่คำถามว่าการถือระยะยาว มีกำไรดีแน่นอน เพราะมีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลพอร์ตการลงทุนให้ อาจเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะต้องดูแลสินทรัพย์ที่ลงทุนด้วย

🔸4. เลือกกองทุน SSF-RMF ที่มีผลตอบแทนสูงๆในแต่ละปี

การเลือกกองทุนเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะกองทุนมีเป็นจำนวนมาก เป็นพันๆ กอง สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่หรือนักลงทุนมือใหม่มักจะนิยมดูคือ “ผลตอบแทน”หรือ “Performance” ถ้ากองทุนไหนที่ทำผลตอบแทนได้ดีก็มักจะเลือกกองทุนนั้น เป็นความเชื่อที่มีส่วนถูกต้อง เป็นเครื่องมือที่พอจะใช้ได้ในการดูผลตอบแทนในกองทุนประเภทเดียวกัน การดูผลตอบแทนก็พอจะตอบได้ว่ากองทุนใดมี Performance ที่ดีกว่า แต่ดูผลตอบแทนอย่างเดียวไม่ได้ เพราะว่าต้องดูสินทรัพย์ที่ไปลงทุนด้วย

ส่วนใหญ่จะสังเกตว่านักลงทุนมือใหม่หลายคนชอบทำคือ เห็นผลตอบแทนปีที่แล้วของกองทุนนั้นดี ก็ลงทุนตาม แต่อีก 1 ปีผ่านไป กองทุนนั้น Performance ไม่เป็นอย่างที่คาดการณ์ไว้ ก็ต้องย้อนกลับไปดูสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุน รวมถึงนโยบายกองทุนนั้นในช่วงปีที่ผ่านมา สินทรัพย์นั้นเติบโตด้วยปัจจัยอะไร และมีปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตอยู่หรือไม่

ดังนั้นการดูผลตอบแทนอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องทั้งหมด ต้องดูสินทรัพย์ที่ไปลงทุนด้วย

🔸5. ต้องซื้อกองทุนเดียว หรือ บลจ.เดียวเท่านั้น เพื่อสะดวกในการติดตามข้อมูล

ความคิดนี้เป็นสิ่งที่ถูกในสมัยก่อน การลงทุนในกองทุนเดียว หรือ บลจ.เดียวกันจะสะดวกในการติดตามข้อมูล เป็นความเชื่อที่ถูกต้องในอดีต เพราะในอดีตกองทุนรวมออกมาจากแต่ละ บลจ. ซึ่งแต่ละ บลจ.ก็จะขายกองทุนของตนเอง แต่พอมีนักลงทุนที่ขยันในการศึกษากองทุนรวม เช่นเลือกลงทุนกับกองทุนนี้ที่มีผลตอบแทนดีกับกองทุนที่แตกต่าง บลจ.ออกไป แต่พอเวลาผ่านไปอยากดูภาพรวมของพอร์ตตัวเอง ต้องติดตามจากหลายที่ก็ไม่สะดวก ซึ่งในอดีตเป็นอย่างนั้นจริงๆ

ปัจจุบัน ที่ๆเดียวสามารถซื้อกองทุนจากหลาย บลจ. ได้แล้วอย่าง Phillip Fund Supermart เป็นเหมือน Supermarket ของกองทุนรวม สามารถซื้อกองทุนได้จากทุก บลจ.และมีเครื่องมือที่จะช่วยนักลงทุนในการเลือกลงทุน และมีทีมงานผู้แนะนำการลงทุนที่คอยให้คำปรึกษาได้

บมจ.ฟิลลิป จัดสัมนาฟรี หัวข้อ “ถึงเวลาขึ้นยาน กองทุนพลังงานสะอาด - Semiconductor” จัดขึ้นวันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 เวลา 18.00 น.ผ่านระบบ Webinar ผู้สนใจเข้าร่วมงานลงทะเบียนผ่านระบบ QR Code

คุณชัชพล กล่าวทิ้งท้ายว่า การลงทุน ต้องศึกษาและมีความรู้ก่อนที่จะเลือกลงทุนและต้องเข้าใจสิ่งที่เราจะลงทุนว่า เรากำลังลงทุนในสินทรัพย์อะไร มีความเสี่ยงแบบไหน เรากำลังจะเจออะไร อนาคตมีโอกาสเติบโตหรือไม่ ทั้งหมดนี้ถ้านักลงทุนศึกษาไว้ก่อนก็จะสามารถรับมือกับการลงทุนได้

Phillip Fund Supermart แหล่งรวมกองทุนรวมมากกว่า 20 บลจ. ลงทุนสะดวกทุกกองทุนรวม ให้คำแนะนำลงทุนที่เป็นกลางและทันต่อสถานการณ์

สามารถติดตามข่าวสารการลงทุนผ่านช่องทาง
Facebook : PhillipCapital Thailand
LINE : @phillipcapital
You Tube : PhillipCapital TH
Tel : 02-635-1718

ติดต่อโฆษณา!