28 เมษายน 2565
1,263

ดีมานด์ทองคำโลกพุ่ง 34% ในไตรมาส 1/65 วิตกเงินเฟ้อ

ดีมานด์ทองคำโลกพุ่ง 34% ในไตรมาส 1/65 วิตกเงินเฟ้อ
Highlight

สภาทองคำโลกเปิดเผยว่า ธนาคารกลางและนักลงทุนสถาบันพากันเก็บทองในไตรมาสแรก ห่วงสถานการณ์เงินเฟ้อพุ่งสูง ส่งผลให้ความต้องการลงทุนทองคำเพิ่ม 35% ดันราคาสูง 5%  อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งดอกเบี้ยยังคงมีสูง ทำให้ให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเป็นระยะ และยังคงต้องติดตามปัจจัยเศรษฐกิจและการเมืองโลกอย่างใกล้ชิด


สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยในวันนี้ (28 เม.ย.) ว่าความต้องการทองคำทั่วโลกพุ่งขึ้นแข็งแกร่งถึง 34% สู่ 1,234 ตันในไตรมาส 1/2565 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมืองได้ผลักดันให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

WGC ระบุว่า “ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยผลักดันให้นักลงทุนแห่ซื้อทองคำ และทำให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นอย่างมาก โดยราคาทองปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 5% ในไตรมาส 1/2565 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2564”

“ความต้องการทองคำของกองทุน ETF แข็งแกร่งมากเป็นพิเศษ โดยมีการถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 269 ตันในไตรมาส 1 สู่ระดับ 3,836 ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดอันดับที่สองนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563”

“ราคาทองคำที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง, ความอ่อนแอของตลาดหุ้น, อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศที่ไม่อาจคาดเดาได้ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำอย่างคึกคักในไตรมาส 1 แม้ธนาคารกลางหลายแห่งเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ตาม” WGC ระบุในรายงาน

อย่างไรก็ดี การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำในไตรมาส 1 ลดลง 20% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ระดับ 282 ตัน ขณะที่ความต้องการอัญมณีลดลง 7% แตะที่ 474 ตัน โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการล็อกดาวน์เมืองสำคัญในประเทศจีน

ทั้งนี้ WGC คาดการณ์ว่า ความต้องการผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะลดลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2 เนื่องจากจีนขยายพื้นที่การล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19

WGC ระบุว่า ธนาคารกลางทั่วโลกเข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในไตรมาส 1/2565 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2564 โดย WGC ได้ทำการสำรวจมุมมองของธนาคารทั่วโลกที่มีต่อทองคำ ซึ่งพบว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเหตุผลอันดับแรกที่ทำให้ธนาคารกลางเข้าถือครองทองคำ

ส่วนอุปทานทองคำโดยรวมในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 4% ในไตรมาส 1 แตะที่ 1,156.6 ตัน เนื่องจากอุปทานที่สูงขึ้นทั้งในเหมืองและการรีไซเคิล โดย WGC ระบุว่า การพุ่งขึ้นของราคาและการชะลอตัวของเศรษฐกิจเป็นปัจจัยผลักดันให้อัตราการรีไซเคิลทองคำปรับตัวขึ้น

นายคริสฮาน โกพอล นักวิเคราะห์ตลาดของ WGC กล่าวว่า แม้ราคาทองคำปรับตัวลงในช่วงหลายวันที่ผ่านมา เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐและการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด แต่เขาเชื่อว่า ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อและวิกฤตการณ์ในยูเครน จะยังคงเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำ

จากการที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (26 เม.ย.) ขานรับแนวโน้มที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลว่าเศรษฐกิจของยุโรปจะถูกกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

ทั้งนี้ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจะลดความน่าดึงดูดของทองคำ โดยทำให้สัญญาทองคำมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ส่วนการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย

สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าเฟดอาจจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดกล่าวว่า เขาสนับสนุนให้เฟดดำเนินการเร็วขึ้นเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ และระบุว่ามีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนพ.ค. ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% นับตั้งแต่ปี 2543

นอกจากนี้ ตลาดยังกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงขึ้นหลังเดือนพ.ค. โดยอาจปรับขึ้น 0.75% เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.39 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อ จากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.33 บาท/ดอลลาร์

วันนี้คาดว่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง เนื่องจากทิศทางของดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ซึ่งตลาดยังคงปิดรับความเสี่ยง อันเนื่องจากความกังวลในหลายด้าน เช่น การประกาศล็อกดาวน์ของจีนจากการระบาดโควิด, ความกังวล ต่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งในยุโรปกังวลกรณีที่รัสเซียจะไม่ส่งแก๊สให้กับโปแลนด์ เป็นต้น ซึ่ง ทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน

อย่างไรก็ดี วันนี้ตลาดจับตาการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น โดยติดตามว่าจะมีการปรับทิศทางนโยบายการเงินอย่างไร เนื่อง จากช่วงที่ผ่านมาเงินเยนอ่อนค่าไปค่อนข้างเร็ว

YLG Bullion International วิเคราะห์สถานการณ์การลงทุนทองคำในประเทศว่า ราคาทองคำเมื่อวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 17.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ว่าราคาทองคำในระหว่างวันจะดีดตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,906.86 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่แรงขายยังคงสลับออกมา แข็งแกร่งบวกรวมปัจจัยพื้นฐานส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นปัจจัยกดดันทองคำได้แก่ 

1. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรฐับาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่ดีดตัวส่รูะดับ 2.84% จากการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ก่อนการประชุมนโยบายการเงินของเฟด ในสัปดาห์หน้า

2. ดัชนีดอลลาร์ พุ่งขึ้น 0.68% และแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่มกราคม 2017 ที่ 103.28 จากแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดขณะที่ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending homesales) ลดลงน้อยกว่าที่นักวิเคราะหค์าดการณ์ไว้ช่วยหนุนดอลลารเ์ช่นกัน

3. สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงส่รูะดบัต่าสดุในรอบ5ปีที่1.0515ท่ามกลางภยัคุกคามจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยูโรโซนจากความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะระงับการขนส่งก๊าซธรรมชาติของรัสเซียไปยังหลายประเทศในยุโรปเนื่องจากไม่ได้ชำระค่าก๊าซเป็นเงินสกุลรูเบิลซึ่งการอ่อนค่าของยูโรเป็นปัจจัยหนุนดอลลารเ์พิ่ม

4. ดัชนีดาวโจนสปิดเพิ่มขึ้น 61.75 จุด หรือ+0.19%, ดัชนี S&P 500 ปิด+0.21% ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัทไมโครซอฟท์และวีซ่า ซึ่งบั่นทอนความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยปัจจัยที่กล่าวมากดดันให้ราคาคาทองคำร่วงลงจากระดับสูงสุดในระหว่างวันลงมา ทดสอบระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 เดือนที่ 1,881.43 ดอลลารต์ต่อออนซ์ 

ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -5.52 ตัน สำหรับวันนี้นอกจากติดตามผลการประชุมธนาคารกลางปุ่น (BOJ) แล้ว ยังมีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ อาทิ ประมาณการครั้งแรกจีดีพีช่วงไตรมาส 1/2022 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ การว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ 

สำหรับแนวรับระยะสั้นอยู่ที่ $1,873-1,854  และแนวต้านที่ $1,897-1,915

ติดต่อโฆษณา!