20 กุมภาพันธ์ 2563
999
รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 7 ตอน GSB SMEs Extra Liquidity
Highlight
- “GSB SMEs Extra Liquidity” เกิดมาจากปัญหาของลูกค้า SMEs ที่รายได้ลดลง แต่ต้องจ่ายหนี้เท่าเดิมกับสถาบันการเงินต่างๆ
- ธนาคารออมสินไม่ได้มุ่งให้มีการรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินเดิม เพียงแค่ต้องการเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับ SMEs เท่านั้น
- ทางรอดของ SMEs ไทย เติมเต็มนวัตกรรม ทั้งผลิตภัณฑ์ ขั้นตอน และมาร์เก็ตติ้ง
อีกหนึ่งสินเชื่อที่ออมสินช่วยเหลือผู้ประกอบการ…ไม่ใช่การรีไฟแนนซ์ แต่เป็นการเพิ่มสภาพคล่อง คืออะไร?
“GSB SMEs Extra Liquidity” เกิดมาจากปัญหาของลูกค้า SMEs ที่รายได้ลดลง แต่ต้องจ่ายหนี้เท่าเดิมกับสถาบันการเงินต่างๆอยู่
สิ่งที่ SMEs อยากได้ คือ ยืดหนี้ – พักต้น แต่ถ้าแบงก์พาณิชย์ไม่พักให้ ก็มาหาออมสิน เอาเงินออมสินไปจ่ายแทน
สมมุติว่าจ่ายหนี้ 50 ล้านบาท จ่ายเงินต้นปีละ 10 ล้านบาท ถ้าแบงก์อื่นๆ ยืดหนี้ไปให้ 1 ปี เงิน 10 ล้านก็สามารถเอามาหมุนเวียนทำธุรกิจ เช่น ปรับปรุงเครื่องจักร จ่ายเงินเดือนพนักงาน แนะนำให้ขอธนาคารเดิมให้ยืดหนี้ สัก 1-2 ปี แต่ถ้าไม่ได้มาหาเรา ธนาคารออมสินพร้อมจ่ายเงินต้นแทน SMEs
⭕️ขั้นตอน และเงื่อนไขเป็นอย่างไร?
ตัวอย่างเช่น มีวงเงินกู้ 50 ล้านบาท ชำระเงินต้น 10 ล้านบาท ธนาคารให้วงเงินกู้ 10 ล้านบาท โดย SMEs จ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นไปก่อน และนำใบเสร็จมาเบิกกับธนาคารออมสินทุกเดือนเป็นเวลา 12 เดือน ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 6 ปี ปลอดเงินต้น 1 ปี เท่ากับมีระยะเวลาผ่อนเงินต้น 5 ปี เป็นการแบ่งเบาภาระ SMEs ได้สูงสุดถึง 6 ปี ซึ่งจะทำให้ SMEs มีสภาพคล่องดีขึ้น มีเงินลงทุนต่อได้
โดยมีเงื่อนไข คือ
☑️เป็นลูกค้าผ่อนชำระหนี้ปกติมาไม่น้อยกว่า 1 ปี
☑️ งบการเงินแข็งแรง ยังมีกำไรอยู่
☑️ไม่ต้องมีหลักประกันใดๆ
รัฐบาลสนับสนุนให้ โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อนี้ได้ 100% อัตราดอกเบี้ยเท่ากับสถาบันการเงินเดิม ต่ำสุดไม่เกิน MLR-1% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MLR ของธนาคารฯ ปัจจุบัน = 6.375% ต่อปี)
วงเงินรวมสินเชื่อโครงการ “GSB SMEs Extra Liquidity” ทั้งหมด 50,000 ล้านบาท ธนาคารออมสินไม่ได้มุ่งให้มีการรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินเดิม เพียงแค่ต้องการเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับ SMEs เท่านั้น
⭕️…ข้อแนะนำสำหรับ SMEs สำหรับ ปี 63 ?
จากผลวิจัย ระดับความเชื่อมั่นของธุรกิจ SMEs
กลุ่ม SMEs รุ่นเก่า ปรับตัวลำบาก 👉🏻ระดับความเชื่อมั่นต่ำกว่า 50%
กลุ่มSMEs ที่มีนวัตกรรม สร้างโอกาสขายสินค้าผ่านออนไลน์ 👉🏻ระดับความเชื่อมั่นกว่า 60%
ดร. ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน แนะนำว่า ธุรกิจ SMEs ควรจะมีการปรับตัว เติมเต็มนวัตกรรม ทั้งผลิตภัณฑ์ ขั้นตอน และมาร์เก็ตติ้ง ทางรอดของ SMEs ไทย เพียงแต่เข้ามาใน Government Savings Bank | ธนาคารออมสิน
หรือ ที่ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ได้เตรียมข้อมูลสำคัญ และมีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ
ทุกสาขาของธนาคารออมสิน สามารถให้คำปรึกษาได้หมด
⭕️มองภาพการแข่งขัน ในกลุ่มธนาคารอย่างไร?
“ธนาคารออมสิน” เรามองว่าเราไม่ได้แข่งขันโดยตรง เราส่งเสริมธุรกิจฐานราก เป็นภารกิจหลักของธนาคารออมสิน นอกจากนี้ในกลุ่ม SMEs เราอยากจะช่วย SMEs กลุ่ม บริษัทสตาร์อัพที่มีนวัตกรรม
“เรากล้าพูดว่า เราลงทุนมากที่สุดในประเทศไทยใน บริษัทสตาร์อัพ เราลงทุนไปแล้วประมาณ 28 รายประมาณ 600 ล้านบาท และอยู่ระหว่างขั้นตอนอีก ประมาณ 1,200 ล้านบาท เราจะเป็นองค์กรที่เข้าไปช่วยแบบครบวงจร “
“วันนี้ ออมสินเปลี่ยนไปแล้ว เราช่วยหมดในทุกเซ็กเมนต์ ไม่ใช่แค่เด็กๆ อีกต่อไป”
⭕️มาตรฐานการคัดสรรเลือกลงทุน สำหรับบริษัทสตาร์อัพ มีแนวทางอย่างไร?
ธนาคารออมสินจะให้เงื่อนไขดอกเบี้ย (พิเศษ) กับ 3 กลุ่ม คือ
🔸Product Innovation
🔸Process Innovation
🔸Marketing Innovation
ลูกค้าของเรา จะเริ่มเป็นคนรุ่นใหม่ มีนวัตกรรมใหม่ๆ มีการประกวดแผนธุรกิจผ่านโครงการ“GSB สุดยอด SMEs Startup ตัวจริง” รางวัล 1 ล้านบาท เราเพาะบ่มตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย ต่อยอดมาเป็นเจ้าของธุรกิจได้เลย…
ข่าวยอดนิยม

6 แอปฯ "ออมทอง" ไม่ต้องมีเงินก้อน ก็เริ่มลงทุนได้ !

7 แอป สร้างรายได้เสริม ไม่ต้องออกจากบ้าน ก็หาเงินได้!

ส่องรายได้คนขับส่งอาหาร ทางเลือกอาชีพยุคโควิด

6 บัญชี “ออมทรัพย์ดิจิทัล” ดอกเบี้ยดีต่อใจ สมัครง่ายผ่านออนไลน์ !
