04 สิงหาคม 2564
2,912

ตรวจเชื้อโควิดด้วยตนเอง เจอผลเป็นบวก ทำไงต่อ?

ตรวจเชื้อโควิดด้วยตนเอง เจอผลเป็นบวก ทำไงต่อ?
HighLight
ยอดติดเชื้อโควิด-19 พุ่งทะลุ 20,200 คนต่อวัน ยอดเสียชีวิตสะสมทะลุกว่า 5,000 คน การแพร่ระบาดในรอบที่3 ค่อนข้างหนักหน่วง เราต้องเพิ่มความระมัดระวังและใส่ใจกับสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างให้มากยิ่งขึ้น

ในภาวะที่เตียงผู้ป่วยหายาก เช่นนี้ หลายๆคนที่มีความกังวลว่าจะติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ สามารถหาซื้อชุดตรวจสอบการติดเชื้อเพื่อตรวจสอบเองได้ที่บ้าน หรือที่เรียกว่าชุดตรวจ Antigen Test Kit
 

มาเรียนรู้ กระบวนการนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลกัน

 
1. ผู้ตรวจพบเชื้อ ติดต่อ
  • โทร. สายด่วน 1330  (สปสช.)
  • Line สปสช.
  • http://crmsup.nhso.go.th
2. ได้รับการคัดกรอง เข้ารับการรักษา ตามระดับอาการ ดังนี้
  • Home Isolation (การแยกกักตัวที่บ้าน) จำนวน 226 แห่ง เข้า รพ. สนาม/ Hospitel จำนวน 138 แห่ง
  • Community Isolation (ศูนย์พักคอยการส่งตัว) จำนวน 46 แห่ง/5,295 เตียง
  • รพ. สนาม Hospitel จำนวน 138 แห่ง
  • รพ. หลัก 132 แห่ง
 
โดยจะได้รับสิ่งสนับสนุนดังนี้
  • อาหาร 3 มื้อ
  • เครื่องวัดอุณหภูมิ
  • เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด
  • ยาจำเป็น
  • การเยี่ยมโดยแพทย์ พยาบาล ผ่านระบบทางไกล


เพิ่มเติม สำหรับ ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อด้วยตัวเอง

 
สำหรับวิธีการใช้งานให้ดำเนินการตามเอกสารเป็นหลัก เนื่องจากชุดตรวจแต่ละชนิดอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยเบื้องต้นมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
 
1. ใส่ไม้ SWAB ลงไปในหลอดที่มีน้ำยาสกัด หมุนวนและบีบอย่างน้อย 5 รอบ เพื่อให้สารคัดหลั่งได้สัมผัสกับน้ำยาให้มากที่สุด ก่อนนำไม้ออกและปิดด้วยจุกฝาหลอด

2. ตลับทดสอบจะมีหลุมให้หยอดน้ำยา โดยให้หยอดน้ำยาลงในตลับทดสอบตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด เมื่อหยอดเสร็จแล้วน้ำยาจะไหลไปตามแผ่นกรองที่อยู่ด้านใต้

3. รออ่านผล ระยะเวลาก็ตามที่ชุดตรวจกำหนดเลยครับ อาจจะประมาณ 15-30 นาที โดยให้อ่านผลตามเวลานั้นๆ ห้ามอ่านก่อนหรือเลยเวลาที่กำหนดเด็ดขาด เพราะจะทำให้ผลคลาดเคลื่อน
 
 
วิธีอ่านผลตรวจ
 
บนตลับทดสอบจะมีแถบการแสดงผล ที่เป็นตรวจ T และ ตัว C โดยจะต้องมีเส้นขึ้นบนแถบตัว C เนื่องจากเป็นแถบควบคุม ถ้าแถบตัว C ไม่ขึ้นหมายความว่าที่ดำเนินการตรวจมาทั้งหมดไม่ถูกต้องและต้องหาชุดตรวจมาตรวจใหม่
 
ต่อมาเมื่อแถบตัว C ขึ้นเรียบร้อย ให้ดูแถบตัว T หากมีเส้นแสดงว่าผลเป็นบวก หากไม่ขึ้นแสดงว่าผลเป็นลบ พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเราติดเชื้อโควิด จะขึ้น 2 ขีด ถ้าเราไม่ติดเชื้อโควิด จะขึ้นแค่ขีดเดียว
หากตรวจตามขั้นตอนที่ระบุแล้ว ผลออกมาเป็นบวก ซึ่งหมายถึงติดเชื้อโควิด-19
 
ให้ดำเนินการแจ้งหน่วยบริการใกล้บ้านที่ติดต่อได้ เช่น คลินิกชุมชนอบอุ่น หรือ ศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. สถานพยาบาลจะทำการประเมินว่าจะต้องดำเนินการรักษาอย่างไร ตามอาการของเรา
 
ส่วนในกรณีที่ผลการทดสอบให้ผลเป็นลบ อาจไม่ได้หมายความว่าไม่ติดเชื้อเสมอไป หากประเมินตัวเองแล้วว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเชื้ออาจจะอยู่ในระยะฟักตัวนั้น ควรทำการแยกกักตัวเช่นกัน และทดสอบซ้ำอีกครั้ง ภายหลัง 3-5 วันจากการทดสอบครั้งแรก
แต่หากช่วงระหว่าง 3-5 วันนั้น เกิดมีอาการเช่น ไข้ขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ก็สามารถตรวจซ้ำได้ทันที
 
ห้ามนำอุปกรณ์หรือตลับทดสอบอันเดิมมาใช้ซ้ำ แล้วก็นำชุดตรวจที่ทดสอบแล้ว พร้อมอุปกรณ์ของชุดตรวจที่เหลือจากการใช้งาน แช่น้ำยาฆ่าเชื้อและแยกใส่ถุงปิดให้มิดชิดแล้วทิ้งให้เหมาะสม พร้อมกับล้างมือให้สะอาดภายหลังทำการทดสอบด้วย

แหล่งที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว

ติดต่อโฆษณา!