03 มิถุนายน 2564
1,949

“อยู่บ้าน” หยุดเสี่ยงโควิด-19 ยึดหลัก “3 เก็บ” ป้องกัน “ไข้เลือดออก - ซิกา - ปวดข้อยุงลาย”

“อยู่บ้าน” หยุดเสี่ยงโควิด-19 ยึดหลัก “3 เก็บ”  ป้องกัน “ไข้เลือดออก - ซิกา - ปวดข้อยุงลาย”
Highlight

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กรมควบคุมโรค เตือนประชาชน
แม้การอยู่บ้าน ลดความเสี่ยงจากโควิด-19 แต่อย่าลืมเฝ้าระวัง “โรคไข้เลือดออก” ระบาดหนักช่วงหน้าฝน

หยุดอยู่บ้าน หยุดเสี่ยงแพร่เชื้อโควิด-19 แต่ “ฝนตก น้ำขัง” ระวัง ! ยุงลาย

นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

กล่าวว่า มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือ “การหยุดอยู่บ้าน หยุดการแพร่เชื้อ” ทำให้ทุกคนจำเป็นต้องอยู่บ้านมากขึ้น ประกอบกับในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกลงมาต่อเนื่อง ส่งผลให้มีน้ำขังตามภาชนะต่าง ๆ ภายในบริเวณบ้าน จนอาจเป็น “แหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย”

ต้นเหตุของ “โรคไข้เลือดออก”

 

มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค”

“3 เก็บ”

1. เก็บบ้านให้โล่ง อากาศปลอดโปร่ง ไม่ให้ยุงลายเกาะพัก
2. เก็บขยะ เศษภาชนะต่าง ๆ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
3. เก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด เช่น โอ่ง ไห ขวด ถัง เป็นต้น ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

ทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงที่ทุกคนอยู่บ้าน ควรช่วยกัน

 

“ป้องกัน 3 โรค”

1. ไข้เลือดออก
2. ไข้ซิกา
3. ไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา)

 

“โรคไข้เลือดออก”

อาการ :

1. มีไข้สูง
2. ปวดศีรษะ
3. ปวดเมื่อยตามตัว
4. อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร
6. ใบหน้าหรือผิวหนังแดง
7. อาเจียน
8. ปวดท้อง

 

“โรคไข้ซิกา”

อาการ :

1. มีไข้
2. ปวดศีรษะ
3. มีผื่นแดงที่บริเวณลำตัว แขนขา
4. เยื่อบุตาอักเสบ
5. ตาแดง
6. ปวดข้อ
7. อ่อนเพลีย

 

“โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา)”

อาการ :

1. ไข้สูง
2. ปวดข้อ
3. ข้อบวมหรือข้ออักเสบร่วมกับอาการปวดศีรษะ
4. ปวดกระบอกตา
5. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
6. มีผื่น
7. อ่อนเพลีย

 

ถ้ามีอาการข้างต้น รีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาได้ทันเวลา ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดอาการช็อก ทำให้เสียชีวิตได้

 

ข้อแนะนำในการกำจัดยุงลายในบ้าน

1. ใช้สารเคมีพ่นกำจัดแมลงชนิดสเปรย์กระป๋อง (ราคาไม่แพง , หาซื้อง่าย , ใช้งานสะดวก และส่วนใหญ่มีใช้ในครัวเรือนอยู่แล้ว)
2. ก่อนพ่นสารเคมี จะต้องให้คนและสัตว์เลี้ยงออกจากห้องหรือบริเวณที่จะฉีดพ่น
3. ผู้ที่ฉีดพ่นควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดก่อนฉีดพ่น
4. หลังจากฉีดพ่นแล้วให้ทิ้งไว้ 10-15 นาที จากนั้น จึงเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศ
5. หลังการฉีดพ่นทุกครั้ง “ควรล้างมือและฟอกสบู่”
6. เก็บกระป๋องสเปรย์ให้มิดชิด ห่างไกลจากมือเด็กหรือเปลวไฟหรือที่ที่มีความร้อน ห้ามนำกระป๋องไปเผาเพราะจะเกิดการระเบิดได้ และขอให้แยกทิ้งเป็นขยะอันตราย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ติดต่อโฆษณา!