16 เมษายน 2564
2,460

อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้ ไทยมีสิทธิเห็นตัวเลขผู้ติดโควิด-19 ถึง 2 หมื่นต่อวัน ‼️

อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้ ไทยมีสิทธิเห็นตัวเลขผู้ติดโควิด-19 ถึง 2 หมื่นต่อวัน ‼️
Highlight

อธิบดีกรมควบคุมโรคยันโควิด-19 มีสิทธิขึ้นหลัก 20,000 ต่อวันหากไม่ร่วมมือกัน ตัวเลขนี้มาจากแบบจำลองระบาดวิทยา และโมเดลต่างๆ พบว่าถ้าไม่มีมาตรการอะไรเลย ภายใน 1 เดือน 


ทันข่าวToday สรุป  5 ประเด็นน่าสนใจจากนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวในรายการ "โหนกระแส" (15 เม.ย.64) 

1. ทำไมการระบาดล่าสุดไม่เหมือนครั้งที่ผ่านมา ? 
▪️ ที่สมุทรสาคร ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว โรงงานเขาเคลื่อนย้ายไม่ค่อยเยอะ แต่การระบาด เม.ย. 64 ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว อายุเฉลี่ย 20-29 มากที่สุด  วัยทำงาน  คนหนุ่มสาว ที่เดินทางทั่วประเทศ การกระจายจะค่อนข้างเร็วจากจุดสถานบันเทิงไม่กี่แห่ง ตอนนี้กระจายเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทย
▪️ สายพันธุ์ที่เปลี่ยนไป ราวนี้เป็นสายพันธุ์อังกฤษที่เรียกว่า B117 ความสามารถของมันคือกระจายเร็ว

2. เราช้าไปมั้ยกับการตัดสินใจล็อกดาวน์ หรือสกัดกั้น ?
“ถ้าถามผมไม่ช้า การตัดสินใจแต่ละอัน ต้องมีจุดที่ตัดสินใจ ทุกการตัดสินใจมีข้อดีข้อเสียประกอบกัน”

ผมเชื่อว่าโดยระบบที่เราวาง ทางคณะกรรมการโรคติดต่อแต่ละจังหวัดเขามีมาตรการในการควบคุมเฉพาะตัวของเขา นอกจากคำสั่งของส่วนกลาง หลักๆ ของส่วนกลาง ก็จะมีควบคุมสถานบันเทิง ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดกิจกรรมบาอย่าง โดยเฉพาะเราทราบว่าจุดเสี่ยงมี 2 อย่าง หนึ่งคือสถานที่ ตรงไหนแออัด ตรงไหนอากาศถ่ายเทไม่สะดวก สองคือพฤติกรรม การไม่ใส่หน้ากากอนามัยอยู่ร่วมกันอย่างแออัด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

3. คนติดเชื้อยังไงก็ต้องไปรพ. ไม่มีสิทธิ์นอนกักตัวอยู่บ้าน ?
“ไม่มีครับ หนึ่งโรคนี้ยังไงก็เป็นโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมาย ช่วงนี้ดีหน่อยคนเจ็บป่วยเป็นคนหนุ่มสาว ไม่ออกอาการ แต่เราบอกไม่ได้หรอก วันนี้อาจสบายดี พรุ่งนี้อาจปอดบวม อีกวันอาจใส่เครื่องช่วยหายใจ อีกวันอาจเสียชีวิตได้ ถ้าท่านอยู่บ้านใครจะช่วยดูแล นี่คือประการที่หนึ่ง อยู่รพ. ไม่ว่าระดับไหนจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล

ที่สำคัญคนไทยไม่อยู่บ้านคนเดียว อยู่กับพ่อแม่ เป็นอันตรายอย่างมากที่จะเสี่ยงแพร่เชื้อต่อ

สำหรับ “โรงพยาบาลสนาม” แม้ว่าอาจจะไม่สะดวก สบาย แต่ขอความร่วมมือ อย่างน้อยยังมีความปลอดภัยในตัวท่าน และป้องกันการแพร่กระจาย เราพยายามปรับรพ.สนามให้เกิดความสะดวกสบายมากที่สุด 

ถ้าสังเกตดูคนอยู่รพ.สนาม ส่วนใหญ่อาการน้อย หรือไม่มีอาการ บางคนอยากอยู่ออสพิเทลเพราะเหมือนโรงแรม คงมีข้อดีข้อเสีย อยู่ออสพิเทลท่านอยู่คนเดียว 14 วันนะครับ แต่รพ.สนามยังเดินไปเดินมาได้ แต่เชื่อว่าขอความร่วมมือ อาจไม่สะะดวกช่วงนี้ แต่สถานการณ์จะค่อยๆ ดีขึ้น”
 
4. เมื่อไหร่ คนไทยจะได้ฉีดวัคซีนทั่วถึง และเต็มที่ ?
ตอนนี้สถานการณ์วัคซีนทั่วโลก แย่งกันซื้อ ความต้องการเยอะ และอย่างที่ทราบว่าวัคซีนไม่ใช่สินค้าที่หาซื้อได้ในท้องตลาด หลายประเทศไม่ให้ส่งออกแล้ว ซึ่งเป้าหมายที่เรากำหนดคือเดือน มิ.ย. ตอนนี้สั่งมาแล้ว 61 ล้านโด๊ส ของแอสตราเซเนกา

5. โรงงานวัคซีนในไทย รัฐไม่ช่วยออกทุนสนับสนุนให้หน่อย ? 
บ้านเราปัญหาคือโรงงานวัคซีน เรามีน้อยมาก ทำให้การวิจัยต่อยอดเป็นไปอย่างยากลำบาก ฉะนั้นในการจัดการครั้งนี้ หาวัคซีนที่มีปริมาณเพียงพอกับคนไทย ส่งมอบให้เราครบกำหนด ไม่ตกหล่น สาม เป็นราคาที่ยอมรับได้ ไม่แพงจนเกินไป 

โจทย์นี้มาก็เลยต้องมองหา หนึ่งทำยังไงให้เรามีโรงงานผลิตเองในประเทศไทย ให้มีความมั่นคงต่อไปในอนาคต วัคซีนหายากกว่าหน้ากากมาก ทำยังไงให้โรงงานอยู่ในประเทศไทย โชคดีแอสตราเซเนกาตั้งฐานผลิตที่ไทย ทำให้เราสั่งซื้อวัคซีนได้ 150 บาท ถูกที่สุดในโลก สองโรงงานอยู่ในประเทศไทย เราจะไม่มีปัญหาว่าผลิตแล้วคนไทยไม่ได้ ได้แน่ๆ รัฐบาลก็หาวัคซีนให้คนไทยทุกคนโดยไม่คิดมูลค่า กำลังผลิตที่เราประมาณไว้เบื้องต้น 61 ล้านโด๊ส แผนการผลิตเราจริงๆ ที่จะกระจายเดือนกว่า ถ้าเราวางเป้าไว้ที่ปลาย พ.ค. หรือ ต้น มิ.ย. ก็เหลืออีกแค่เดือนเดียวก็จะมีวัคซีนให้คนไทยได้อย่างเพียงพอ

อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันว่า แอสตร้าเซนเนก้าของเราถูกที่สุด และองค์การอนามัยโลกยอมรับเป็นวัคซีนที่ดี ไม่ต่างจากวัคซีนอื่น ๆ

ติดต่อโฆษณา!