14 กันยายน 2567
672

ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง


โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบและกลุ่มหลอดเลือดสมองแตก เป็นโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ตั้งแต่มีปัญหาการพูด พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ มีปัญหาการกลืน 

หากผู้ป่วยผ่านช่วงวิกฤตไปแล้ว และได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและเหมาะสม สมองจะฟื้นตัวได้เร็ว 



🚩 โรคหลอดเลือดสมอง คืออะไร

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke) คือภาวะที่เส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรือตัน หรือภาวะที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองในบริเวณใดบริเวณหนึ่งไม่พอ ทำให้เนื้อสมองส่วนนั้นทำงานได้ไม่เหมือนเดิม 


20240914-b-01.jpg



🚩 สัญญาณเตือน โรคหลอดเลือดสมอง

- ใบหน้าเบี้ยว  ปากเบี้ยว อ่อนแรง
 
- แขนขาอ่อนครึ่งซีก

- พูดไม่ชัดหรือนึกคำพูดไม่ออก 
 
ทั้งนี้โรคหลอดเลือดสมอง มักจะพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และปัจจุบันพบในอายุที่น้อยลงเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ  เช่นการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ภาวะโรคอ้วน เป็นต้น

กลุ่มที่ความเสี่ยง จะต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด  เพื่อป้องกันอาการที่รุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และเสี่ยงการเกิดสโตรก

ดังนั้นหากมีความสงสัยเกี่ยวกับอาการหลอดเลือดสมอง จะต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะในช่วง 4 - 5 ชั่วโมงแรก ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เพื่อหาสาเหตุ อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านเกล็ดเลือด ทั้งนี้หากรักษาได้เร็วจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อน 

ในกรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ แพทย์จะช่วยเหลือพยุงชีพก่อน จนกระทั่งผู้ป่วยมีสภาวะคงที่ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา ซึ่งอาจมีการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการรักษามีหลากหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย รวมทั้งระยะเวลาในการรักษาก็ขึ้นอยู่กับตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย 


🚩 การฟื้นฟู โรคหลอดเลือดสมอง

1. ยืดกล้ามเนื้อ ส่วนที่มีการยึด หรือตึงออกก่อน 

2. ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ต้นแขน ต้นขา แล้วขยับไปหามัดเล็ก

3. ฝึกการสื่อสาร ผู้ป่วยที่ไม่สามารถแสดงสีหน้า ท่าทางได้ 

4. ฝึกท่าทางพื้นฐาน คล้ายการฝึกเด็กแรกเกิดเคลื่อนไหว 


20240914-b-03.jpg

🚩 การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

- ควบคุมระดับความดันให้อยู่ในระดับปกติ 

- กินอาหารที่มีประโยชน์ 

- ออกกำลังกายสม่เสมอ

- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

- ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด 


20240914-b-02.jpg


🚩 การดูแลผู้ป่วยในระยะฟื้นฟู

ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจต้องทำกายภาพ อย่างสม่ำเสมอ 

ถ้าเป็นผู้ป่วยติดเตียง ญาติผู้ป่วยจะมีบทบาทในการดูแล จะต้องคอยพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ เพื่อป้องกันแผลกดทับ การขยับตัวเพื่อป้องการข้อติด การให้อาหาร ทางสายยาง  การเตรียมอาหาร เป็นต้น และค่อย ๆ ฝึกให้ผู้ป่วยรับประทานได้เอง

ปัจจุบันมีศูนย์ดูแลป่วย ที่เข้ามาช่วยดูแลด้านกายภาพ การทำความสะอาด และการจัดการอาหารให้ผู้ป่วย เพื่อแบ่งเบาภาระญาติผู้ป่วย


รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/EK5jc4y_kuQ?si=vn-9KHyUYZCTRx6D

ติดต่อโฆษณา!