29 พฤษภาคม 2567
366

วัยทำงานยุคใหม่ หยุดพฤติกรรมร้าย นิสัยเสี่ยงโรค (NCDs)

วัยทำงานยุคใหม่ หยุดพฤติกรรมร้าย นิสัยเสี่ยงโรค (NCDs)


โรค NCDs กลายเป็นภัยเงียบของกลุ่มคนวัยทำงานยุคใหม่ เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเราเอง เช่นการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือกินในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เกิดโรคร้ายไม่ติดต่อเรื้อรังตามมา 

Stay Healthy by RAMA โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ และ ผศ. นพ.สิระ กอไพศาล สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโรค NCDs 

และในได้วันนี้ได้รับเกียรติจาก คุณรชตพงศ์ บุญวัตรสกุล กรรมการบริหารฝ่ายอาชีวอนามัยความปลอดภัย ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อม บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อพนักงานขององค์กรมีสุขภาพที่ดี และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข 

20240506-a-01.jpg

🚩NCDs โรคร้ายที่คุณสร้างขึ้นเอง คืออะไร 

NCDs - Non-Communicable Diseases หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  พฤติกรรมที่สะสมเรื้อรังจนก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 

- โรคความดันโลหิตสูง 
โรคถุงลมโป่งพอง
โรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ
โรคเบาหวาน
โรคอ้วนลงพุง
โรคมะเร็ง

โดยปกติแล้ว ในหลาย ๆ โรคจะไม่มีอาการแจ้งล่วงหน้า เมื่อมีอาการแสดงว่าเราเริ่มเป็นโรคเหล่านั้นแล้ว และต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา 

20240506-a-04.jpg


🚩สัญญาณเตือน 6 โรคร้าย NCDs เป็นอย่างไรบ้าง 

▪️ โรความดันโลหิตสูง

หลังตื่นนอนจะมึนงง ตาพร่า
เลือดกำเดาออกบ่อย ๆ
ปวดหัวเฉียบพลันบ่อย ๆ
เหนื่อยง่าย ใจสั่น


▪️ โรคถุงลมโป่งพอง

ไอเรื้อรัง
เป็นหวัดง่าย หายช้า
เหนื่อยหอบ
หายใจมีเสียงหวีด 

ไม่ควรสูบบุหรี่ รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้า หากสูบบุหรี่ยาวนาน จะเกิดอาการ ไอ หลอดลมตีบ เกิดเสียงหวีด PM2.5 อาจจะกระตุ้นอาการอักเสบเรื้อรัง 


▪️ โรคหัวใจ สมอง หลอดเลือด

แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน
ปลายมือปลายเท้าชา
ปวดร้าวที่อกซ้าย จะเกี่ยวกับโรคหัวใจ
ปากเบี้ยว พูดลำบาก จะเกี่ยวกับโรคเส้นเลือดในสมอง

▪️ โรคเบาหวาน

ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หากไม่มั่นใจก็ควรมาพบแพทย์ 
น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
เป็นแผลแล้วหายยาก
มีปื้นดำที่คอ ข้อพับ ขาหนีบ

▪️ โรคอ้วนลงพุง 

รูปร่างคล้ายลูกแพร์
เหนื่อยง่าย
ช่องท้องมีไขมันสะสมเป็นชั้น ๆ 
ข้อเข่ารับน้ำหนักไม่ไหว

▪️ โรคมะเร็ง

เบื่ออาหาร โดยไม่ทราบสาเหตุ 
น้ำหนักลด มากกว่าร้อยละ 10 โดยไม่ได้ตั้งใจลด น้ำหนัก 
ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลงจากเดิม เช่น มะเร็งลำไส้ ขับถ่ายป็นเลือด 

ส่วนใหญ่จะรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีวัคซีนป้องกันแล้ว คือวัคซีน SPV ฉีดได้ตั้งแต่ 9 ขวบ ผู้ชายส่วนใหญ่จะเป็นมะเรผ็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น 

20240506-a-02.jpg


🚩กลุ่มโรค NCDs โรคใด หากติด COVID-19 จะมีอาการรุนแรง 

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคไตวายเรื้อรัง 
โรคหัวใจ
โรคความโลหิตสูง
โรคเบาหวาน

หากผู้ป่วย NCDs เหล่านี้เป็นผู้สูงอายุด้วย จะผลกระทบค่อนข้างสูง และเกิดความรุนแรงของโรคได้มากกว่ากลุ่มอื่น 

20240506-a-03.jpg

🚩อัตราการเสียชีวิต จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

1. โรคหลอดเลือดสมอง 27,884 คน ร้อยละ 42.6
2. โรคหัวใจขาดเลือด 18,992 คน ร้อยละ 28.92
3. โรคเบาหวาน 11,665 คน ร้อยละ 17.83 
4. โรคควมดันโลหิตสูง 7,578 คน ร้อยละ 11.58 
5. โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง 6,034 คน ร้อยละ 9.22

ประเทศไทยมีการตายจากโรคไม่ต่อเรื้อรังร้อยละ 75 หรือ 320,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 37 คน 

20240506-a-05.jpg
🚩 ปรับพฤติกรรมห่างไกล NCDs

- หากนั่งนาน ๆ ควรจัดเวลาให้มี การขยับร่างกายบ่อย ๆ  
- เลี่ยงกินอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้
- พักผ่อนให้เพียงพอ 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน
ทำจิตใจผ่อนคลายด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 150 นาทีต่อสัปดาห์
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่ 

20240506-a-06.jpg


🚩นั่งทำงานนานเสี่ยงเป็น NCDs และออฟฟิศซินโดรม 

- พฤติกรรมนั่งนานเป็นนิสัย
- นั่งติดต่อกันเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน
- ลุกเข้าห้องน้ำหรือกินข้าวเท่านั้น

👉 พฤติกรรมเหล่านี้เสี่ยงเป็นโรค NCDs มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขข้อ ระบบประสาท กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือด ไมเกรน 
.
คำแนะนำคือควรลุกขึ้นยืน  ยืดเหยียด เปลี่ยนท่า หรือพักสายตาทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงโรค NCDs และออฟฟิศซินโดรม 

การเลือกกินอาหารที่ถูกวิธี โดยคำนึงถึงสุขภาพ คำแนะนำคือครึ่งจานควรเป็นผัก  1/4 เป็นแป้งหรือคาร์ไบไฮเดรต และเนื้อสัตว์หนึ่งส่วนควรเป็นเนื้อขาว  ถ้าคุมอาหารได้ สามารถลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี และออกกำลังควบคู่กันไปเพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง 

เบียร์ ไวน์ หากดื่มเยอะ จะทำให้ บวม อ้วน เช่นกัน เพราะมีส่วนผสมของน้ำตาล ซึ่งเราไม่ควรดื่มเยอะเกินไป ผู้ชายไม่ควรดื่มเกินวันละ กระป๋องครึ่ง ผู้หญิงไม่ควรเกืน 3/4 กระป๋องต่อวัน 

การกินโปรตีนไม่ควรกินเกิน 2 กรัมต่อวัน หากกินสูงเกินไป อาจจะทำให้ภาวะโรคไตได้ ไม่ควรกินเกลือเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน ที่ไม่ควรกินเลย คือ น้ำหวาน ดังนั้นจะต้องกินในปริมาณพอดี ไม่มากเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายสมดุล และแข็งแรง ห่างไกลโรสค NCDs

ติดต่อโฆษณา!