02 พฤศจิกายน 2562
2,510
รู้จักกับ “แบคทีเรียกินเนื้อคน” โรคที่มาจากแผลเล็กๆ

2. แบคทีเรียที่พบบ่อย 2 ชนิด คือ Streptococcus pyogenes Staphylococcus aureus เชื้อนี้เป็นสาเหตุที่คนเราเป็นฝีหนองที่ผิวหนัง ที่พบบ่อยในเด็ก ที่คนทั่วไปเรียก โรคน้ำเหลืองไม่ดี จริงๆไม่มีโรคนี้ โรคนี้คือ ติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ชนิดอื่นๆ เช่น ในน้ำสกปรก คือเชื้อ Aeromonas app.
3. เชื้อนี้สามารถลุกลาม เข้าไปชั้นลึกใต้ผิวหนัง ได้ ลามจนถึงชั้น กล้ามเนื้อ ไขมัน และกระดูก ถ้าเข้ากระแสเลือด ทำให้อาการรุนแรงได้ ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด คนไข้จะไข้สูง ซึม ช็อกได้ พบกรณี คนไข้มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน ผู้สูงอายุ หรือคนไข้ที่ไม่มีโรคประจำตัวแต่มาพบแพทย์ช้า หรือ ดูแลแผลไม่สะอาด
🌡อาการที่สังเกตเห็น:
หากแบ่งอาการของโรค ตามระยะเวลาที่เกิดโรค จะแบ่งออกได้ ดังนี้
• วันที่ 1-2 มีอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค บวม และแดง
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า “ในผู้ป่วยบางรายจะไม่ค่อยแสดงอาการบริเวณผิวหนังเท่าใดนัก เนื่องจากเกิดในผิวหนังชั้นลึก ซึ่งทำให้มองไม่เห็น แต่จะสามารถรู้สึกถึงอาการปวดได้ หรือมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว หัวใจเต้นเร็ว เพราะฉะนั้น ถ้ามีอาการลักษณะเช่นนี้ อย่าละเลย ต้องรีบพบแพทย์ทันที”
• วันที่ 2-4 พบว่าบริเวณที่บวมจะกว้างกว่าบริเวณผิวหนังที่แดง มีผื่นผุพองซึ่งบ่งบอกว่าผิวหนังขาดเลือด และมีเลือดซึม ผิวมีสีออกคล้ำเนื่องจากผิวหนังเริ่มตาย และผิวเริ่มมีสีดำ
• วันที่ 4-5 จะมีความดันโลหิตต่ำ และมีภาวะโลหิตเป็นพิษ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้สึกตัว
4. เมื่อลามไปใต้ผิวหนัง อาจลามไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เน่าตาย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ติดเชื้อในกระแสเลือด อวัยวะต่างๆทำงานบกพร่องเช่น ไต ตับ และสมอง
5. การรักษามี 3 ข้อ ให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าเส้น เช่น Cloxacillin อย่างน้อย 7-14 วัน แพทย์จะส่งหนอง สารคัดหลั่งเพาะเชื้อและปรับยาตามเชื้อ แล้วแต่กรณี ตัดเนื้อตาย เพื่อไม่ให้ลุกลาม บางคนมาช้า หรือแผลขนาดใหญ่ และมีโรคประจำตัวอาจโดนตัดอวัยวะได้เช่น นิ้ว แขน ขา มือ ทำแผล
6.การป้องกัน เมื่อมีบาดแผล ควรรักษาความสะอาด ถ้าบวมแดง อักเสบมาก ต้องรีบมาพบแพทย์ มีแผลไม่ควรล้วงแคะ แกะเกา เล็บต้องสั้น และดูแลแผลให้สะอาด
ขอบคุณเนื้อหาบางส่วน จาก เพจ: Inflections ง่ายนิดเดียว และ ข้อแนะนำจาก อธิบดีกรมควบคุมโรค