01 เมษายน 2567
525
แบคทีเรียกินเนื้อ! กลุ่มภูมิต้านทานต่ำมีความเสี่ยงสูง
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า มหานครโตเกียว เมืองหลวงประเทศญี่ปุ่น ออกคำเตือนหลังพบจำนวนคนติดเชื้อโรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า (flesh-eating-disease) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ “สเตรปโตคอคคัส กลุ่มเอ” เพิ่มสูงขึ้น โดยตรวจพบแล้วกว่า 500 คน สร้างความหวาดวิตกแก่ชาวญี่ปุ่นและบรรดานักท่องเที่ยวผู้เดินทางไปเยือน
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ชาวไทย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่าน Facebook ถึงกรณีแบคทีเรียกินเนื้อคน ที่กำลังระบาดอยู่ที่ญี่ปุ่นในขณะนี้ โดยระบุกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือกลุ่มภูมิต้านทานต่ำ แต่โดยทั่วไปสามารถรักษาได้
ศ.นพ.ยง อธิบายว่า “แบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ กินยากดภูมิต้านทาน หรือมีโรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ”
ที่มีข่าวกันมากขณะนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus group A เป็นแบคทีเรียที่เกิดโรคได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในคนที่แข็งแรงดีก็จะไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่โต สามารถรักษาได้
“แต่ถ้าภูมิต้านทานต่ำ และการติดเชื้อที่ผิวหนังก็จะทำให้ลุกลามอย่างรวดเร็วได้ อย่างที่เป็นข่าวในประเทศญี่ปุ่น ในประเทศไทยก็พบได้ แต่ไม่ได้มากมายและสามารถรักษาได้ มียาปฏิชีวนะที่รักษาเชื้อดังกล่าว” ศ.นพ.ยง ระบุ
นอกจากนี้ยังมีแบคทีเรียอย่างอื่นอีกหลายชนิดที่อาจจะรุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น Clostridium perfringens ทำให้เกิด Gas gangrene ผมเคยเห็นคนไข้แล้ว น่ากลัวมาก ใครสนใจค้นดูรูปจาก Google คงไม่ยาก
แต่ที่อยากให้เห็นวันนี้ ทีมของผมรายงานผู้ป่วยที่เกิดการอักเสบของ “แบคทีเรียจะเรียกว่ากินเนื้อก็ได้ ที่เกิดจากแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำทะเล” โดยทั่วไปจะเป็น Shewanella algae แต่รายงานนี้เป็นรายงานแรกที่ผมได้รายงานเป็นภาษาอังกฤษ ที่เกิดจากเชื้อ “Shewanella haliotis” ในผู้ป่วยที่กินยากดภูมิต้านทาน
“แบคทีเรียตัวนี้ที่พบครั้งแรกพบในหอยเป๋าฮื้อ ทีมของเราได้ เผยแพร่ในในวารสาร EID โดยรอยโรคการติดเชื้อเกิดที่ขาเป็นภาพที่ไม่น่าดูเลย จึงต้องขอ เบลอภาพดังกล่าว” ศ.นพ.ยง ระบุ
พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร โรงพยาบาลพระราม 9 เผยแพร่บทความให้ความรู้เกี่ยวกับแบคทีเรียกินเนื้อ เมื่อต้นเดือนก.พ. 67 ว่าเชื้อดังงกล่าวมีการตรวจพบจากการกินอาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น หอยนางรม หอยต่าง ๆ กุ้ง ปู ปลาหมึก เป็นต้น
กลุ่มเสี่ยงคือ คนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อรุนแรง ได้แก่ โรคตับแข็ง โรคพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบเรื้อรัง รวมถึงตับอักเสบจากไขมันเกาะตับ เบาหวาน ภาวะธาตุเหล็กเกิน โลหิตจางธาลัสซีเมียเมเจอร์ โรคไตวายเรื้อรัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และคนไข้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
การรักษาจะประคับประคองทุกอวัยวะในหอบำบัดผู้ป่วยวิกฤติ และผ่าตัดเนื้อตายออกอาจถึงขั้นสูญเสียขาหรือแขน ซึ่งการรักษาโดยเร็วทันท่วงทีช่วยลดการเสียชีวิตได้ ซึ่งโอกาสเสียชีวิตในกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่องมีสูงถึงร้อยละ 40 - 90
วิธีป้องกันการรักษาประคับประคองทุกอวัยวะในหอบำบัดผู้ป่วยวิกฤติ และผ่าตัดเนื้อตายออกอาจถึงขั้นสูญเสียขาหรือแขน ซึ่งการรักษาโดยเร็วทันท่วงทีช่วยลดการเสียชีวิตได้ ซึ่งโอกาสเสียชีวิตในกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่องมีสูงถึงร้อยละ 40 - 90
ที่มา :
https://www.praram9.com/vibrio-vulnificus-causes-necrotizing-fasciitis-and-death/