07 เมษายน 2567
1,650

สุขภาพจิตเด็กไทย อ่อนไหวกว่าที่คิด

"ความเครียด" ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ใหญ่อีกต่อไปแล้ว เพราะเด็กก็เครียดเป็นเหมือนกัน จะแตกต่างกันก็เพียงสาเหตุของความเครียดเท่านั้น โดยปัจจุบัน เด็กและวัยรุ่นในประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพจิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความเครียดและความวิตกกังวล ปัญหาความรัก และภาวะซึมเศร้า

นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิต เผยยังพบเด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้า และปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกกันในโรงเรียน (Bullying) ภาวะซึมเศร้า และพยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

สาเหตุ

  • ครอบครัว เช่น ความรุนแรงในครอบครัว, พ่อแม่ทะเลาะกัน หรือ ถูกตำหนิบ่อยๆ 
  • การเลี้ยงดูและความคาดหวัง
  • โรงเรียน เช่น ครูดุหรือเข้มงวดเกินไป, ลงโทษรุนแรง, การบ้านเยอะ หรือ เพื่อนแกล้ง ล้อเลียน ไม่คบด้วย
  • การปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง เช่น การย้ายโรงเรียน, การย้ายบ้าน หรือ พ่อแม่เลิกรา

อาการ

  • ความผิดปกติด้านการกิน/การนอน
  • การแสดงอารมณ์ที่แปรปรวนหรือรุนแรง ผิดไปจากเดิม หงุดหงิดง่ายหรือซึมเศร้า 
  • พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น มีอาการทางสุขภาพอย่างปวดท้องหรือปวดท้อง, ไม่ใส่ใจดูแลสุขอนามัยของตนเอง, การกระทำที่มากไป/น้อยไปจนเกินพอดี, วิตกกังวล, สับสนและย้ำคิดย้ำทำ
  • เก็บตัวหรือหลีกหนีสังคม

การตรวจ

  • ลักษณะทั่วไป รูปร่าง หน้าตา กริยา ท่าทาง ว่าผิดปกติหรือไม่
  • การพูดและการใช้ภาษา
  • ควรดูว่าเด็กมีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาของตน 
  • ตรวจโดยสังเกตว่าเด็กมีอารมณ์เป็นอย่างไร
  • สังเกตว่าเด็กสามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กตามปกติ หรือเด็กไม่สนใจในสถานที่ บุคคล และสิ่งรอบตัว
  • สังเกต สมาธิ การเคลื่อนไหว
  • สังเกตความสัมพันธ์กับคนอื่นและการปรับตัว
  • ตรวจสอบ ระดับเชาวน์ปัญญาของเด็ก
  • การตรวจร่างกายทั่วไป และในบางครั้งจำเป็นต้องมีการตรวจละเอียดในบางระบบ เช่น ระบบประสาท

แนวทางการรักษา

  • การฟื้นฟูสภาพจิตใจด้วยการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวและจัดการอารมณ์
  • การทำจิตบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ
  • การทำครอบครัวบำบัด
  • การใช้กิจกรรมบำบัดหรือกลุ่มบำบัด
  • การใช้ยาในการรักษา

การป้องกัน

  • สร้างความเชื่อใจ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกกล้าพูดคุยเปิดเผย บอกสิ่งต่างๆ กับพ่อแม่เพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย สื่อสารพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอด้วยเหตุผล เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับลูก
  • ปลูกฝังทัศนคติเชิงบวก ไม่เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น ชื่นชมเมื่อลูกทำได้ดี แสดงความรักต่อกันเสมอ และสอนให้ลูกรู้จักยอมรับความแตกต่าง
  • สอนให้รู้จักรับมือกับความเครียด รู้จักอารมณ์ต่างๆ และการแสดงออก ที่สำคัญ ให้ลูกรู้จักควบคุมตัวเอง รู้จักอดทนรอคอย
  • ทำกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว เริ่มต้นจากการมีเวลาให้กันเสมอ หมั่นพูดคุยกับลูก มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน และควบคุมการใช้เวลาบนโลกออนไลน์อย่างเหมาะสมกับวัย

สัญญาณและอาการต่างๆ ที่ลูกแสดงออกนั้น บางครั้งเกิดขึ้นโดยที่พวกเขาเองไม่รู้ตัว หรือไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นการสังเกตอย่างใส่ใจและเริ่มหาวิธีแก้ปัญหาแต่เนิ่น ๆ จะสามารถช่วยให้อาการลูกดีขึ้น 

หากมีผู้ปกครองพบบุตรหลานมีพฤติกรรมหรือการแสดงอารมณ์ที่ผิดปกติต่างไปจากเดิม หรือมีความรุนแรงมากขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและตรวจรักษาอย่างทันท่วงที ด้วยความปรารถนาดีจาก #ทันข่าวสุขภาพ




รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/2A56bq7vg3o?si=MnlUja0Ctc9KOtfU

ติดต่อโฆษณา!