10 มีนาคม 2567
5,579

ถอดรหัส มะเร็งปอด รอดหรือร่วง ?

มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดทั่วโลก สถานการณ์ในประเทศไทย โรคมะเร็งปอดถือเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อย นอกจากนี้มะเร็งปอดยังเป็นโรคที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มโรคมะเร็ง เฉลี่ยประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง อย่างไรก็ดี อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยแตกต่างกันออกไปขึ้นกับระยะของโรค สุขภาพโดยรวม และปัจจัยอื่น ๆ

ทั้งนี้ มะเร็งปอดสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 

  • ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer) พบได้ประมาณ 15% ของผู้ปวยมะเร็งปอดทั้งหมด
  • ชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) พบได้ประมาณ 85% ของมะเร็ง ปอดทั้งหมด และในกลุ่มนี้ยังมีแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น Squamous Cell Carcinoma, Adenocarcinoma และอื่น ๆ 

อาการของโรคมะเร็งปอด

  • ไอเรื้อรังมากกว่า 1 เดือน 
  • ไอมีเสมหะปนเลือด 
  • หายใจมีเสียงดังผิดปกติ
  • หายใจลำบาก 
  • เหนื่อยหอบง่ายมากกว่าปกติ 
  • เจ็บแน่นหน้าอก 
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้
  • อ่อนเพลีย
  • เสียงแหบ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด 

ปัจจุบันแพทย์ยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุของมะเร็งปอดที่เฉพาะเจาะจงได้ แต่แพทย์สามารถระบุถึงปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดได้ เช่น 

  • การสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่หรือสารพิษจากบุหรี่ทางอ้อม (ควันบุหรี่มือสอง) ในบุหรี่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ และเกิดเป็นมะเร็งในที่สุด
  • สารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น แร่ใยหิน, ก๊าซเรดอน, สารเคมีอื่น ๆ และ ฝุ่น PM2.5
  • ประวัติทางพันธุกรรม ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น
  • อายุที่มากขึ้นอาจจะส่งผลให้อวัยวะรวมถึงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลง

วิธีการคัดกรองโรคมะเร็งปอด

  • การซักประวัติผู้ป่วย
  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
  • การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (PET scan)
  • การตรวจโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) 
  • การส่องกล้องหลอดลมปอด (Bronchoscopy)
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจหาชนิดของมะเร็ง (Biopsy)
  • การตรวจยีนกลายพันธุ์

วิธีการรักษาโรค 

การรักษามีวิธีหลัก ๆ ได้แก่ 

  • การผ่าตัด 
  • การให้ยาเคมีบำบัด 
  • การฉายรังสี 
  • การใช้ยาแบบจำเพาะเจาะจง (Targeted Therapy)
  • การรักษาโดยใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากระยะของโรค ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง และการกระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยในการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม

การป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด

  • หยุดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง เช่น สถานที่มีฝุ่นควันมากหรือการทำงานในเหมืองแร่โดยไม่ใช้เครื่องมือป้องกันตนเอง
  • อยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
  • หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำ
  • ออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายควรรีบพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและตรวจรักษาอย่างทันท่วงที ด้วยความปรารถนาดีจากทันข่าวสุขภาพ

รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/tNLPHTyzBlc?si=U7L4ABDSVaW6VfbX

ติดต่อโฆษณา!