09 มีนาคม 2567
856

โรคต่อมน้ำลายอักเสบ ภาวะผิดปกติที่ทำลายช่องปาก



โรคต่อมน้ำลายอักเสบ คือโรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำลาย หรือท่อน้ำลายเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ จะทำให้การไหลของน้ำลายลดลง ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการเจ็บในปาก หน้าบวม คอบวม คางบวม เป็นต้น 

โรคนี้อาจทำให้ใบหน้าผิดรูปได้ อย่างไรก็ตาม โรคต่อมน้ำลายบางชนิด ไม่สามารถป้องกันได้  ดังนั้นหากสงสัยเป็นโรคต่อมน้ำลายอักเสบควรปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัย เพราะอาการบางอาการ อาจมีความคล้ายกับโรคอื่นได้ 

รายการลัดคิวหมอรามา ในวันนี้พบกับ ผศ. นพ.สิระ กอไพศาล ภาควิชาอายุรศาสตร์ และ อ. พญ.โยษิตา หมื่นแก้ว ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี แพทย์ทั้งสองท่าน มาให้ความรู้ คำแนะนำ รวมทั้งการป้องกันและรักษาโรค โรคต่อมน้ำลายอักเสบในวันนี้ 


20240309-b-01.jpg



▪️ โรคต่อมน้ำลายอักเสบ เกิดจากอะไร 

โรคต่อมน้ำลายอักเสบ คือภาวะการอักเสบบริเวณต่อมน้ำลาย หรือน้ำลาย ถ้าสังเกต เราจะมีต่อมน้ำลายช่วงหน้าหู 1 คู่ บริเวณใต้คาง 1 คู่ และส่วนเล็ก ๆ อื่น ๆ ในช่องปากอีกเป็นจำนวนมาก

สาเหตุของการอักเสบ มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ส่งผลให้ท่อน้ำลายหรือต่อมน้ำลาย เกิดการอักเสบ ทำให้การไหลของน้ำลายลดลง ส่วนใหญ่มาจากการกินน้ำน้อย จึงทำให้ช่องปาก ไม่ค่อยชุ่มชื่น มีน้ำไหลเวียนอยู่ในช่องปาก หรือเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติ เช่นในผู้ป่วยบางกลุ่มที่เคยฉายแสงรังสี หรือกลืนแร่ ทำให้ต่อมน้ำลายลดลงหรือผิดปกติไป หรือการฉายแสงทำให้ท่อน้ำลายตีบ ตัน ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน 

ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย จะติดเข้าไปจากอาหาร เช่น เชื้อไวรัสคางทูม หรือการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย อาจจะมีอาการหน้าเบี้ยว หน้าบวมได้  ดังนั้นจึงอยู่ที่การกินน้ำที่เพียงพอ  การดูแลสุขภาพในช่องปาก ช่องฟัน ให้สะอาดอยู่เสมอ


20240309-b-02.jpg


▪️ อาการต่อมน้ำลายอักเสบ 

- หน้าและใบหูบวมแดง 
- รับรสชาติผิดปกติ
- อ้าปากได้ไม่สุด
- เจ็บในปาก ปากแห้ง
- บวมใต้คางหรือลำคอ
- มีไข้ หนาวสั่น 


▪️ การป้องกันต่อน้ำลายอักเสบ  

- ดื่มน้ำลายอักเสบวันละ 8 - 10 แก้ว
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ 
- ประคบร้อนบริเวณต่อมน้ำลายที่อักเสบ
- นวดบริเวณต่อมน้ำลายที่อักเสบ
- ทำความสะอาดช่องปากอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

แพทย์อาจจะแนะนำเพิ่มให้กินของเปรี้ยว ผลไม้รสเปรี้ยว ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ไหลได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเมื่อพยายามรักษาอาการตามคำแนะนำแล้วไม่ดีขึ้นก็ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ รับยาปฏิชีวนะ บางคนต่อมน้ำลายไม่ทำงานตามปกติ อาจจะเกิดเป็นหนองขึ้นได้ 

อย่างไรก็ตาม แพทย์พบนิ่วในต่อมน้ำลาย ขวางท่ออยู่ ทำให้การไหลของน้ำลายติดขัด ทำให้คั่งอยู่ต่อมน้ำลายก็จะป่องขึ้น  ทำให้ไม่มีน้ำลายออกมาช่วงกินอาหาร แต่จากนั้นจะค่อย ๆ ไหลออกมา



▪️ ความรุนแรงของโรค 

การอักเสบติดเชื้อ ไม่อันตรายมาก แต่สำหรับบางคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจเป็นหนองติดเชื้อ ถึงขั้นต้องผ่าตัด ให้สังเกตุอาการตนเอง ยิ่งถ้ามีอาการบวมๆ ยุบๆ ก็น่าจะมาจากสาเหตุของการไหลท่อน้ำลายไม่ค่อยดี ต้องหมั่นดื่มน้ำมาก ๆ  

อย่างไรก็ตาม หากมีก้อนป่องที่กระพุ้งแก้มตลาดเวลา ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการ เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่า อาจเป็นเนื้องอกได้ 


20240309-b-03.jpg

▪️ การรักษาอาการ

เริ่มจากการดูแลตนเอง ดื่มน้ำให้ได้ 8 - 10 แก้วต่อวัน  ให้ถ้าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย จะใช้เวลาในการรักษา 1 - 2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอาการก็จะค่อยๆดีขึ้นเอง มีข้อสังเกต หากมีอาการบวม เป็น ๆ หาย ๆ ก็ควรพบแพทย์ อย่างไรก็ดีแม้รักษาอาการหายแล้ว แต่โรคนี้สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ อยู่ที่การดูแลสุขภาพช่องปาก ช่องฟัน ของเราเอง


รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/jA_dJXZBvPs?si=edwvKp7VYwH1DTsr



ติดต่อโฆษณา!