21 กุมภาพันธ์ 2567
1,169

NCDs และ โรคกระดูก โรคฮิต มาแรง “รู้ทันป้องกันได้”



มารู้จักโรค NCDs  เตรียมพร้อมรับมือและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตไปด้วยกัน 

NCDs คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  เป็นโรคที่สร้างขึ้นมาเองได้ จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หลอดเลือดสมองหัวใจตีบ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง เป็นต้น 

NCDs และ โรคกระดูก โรคใกล้ตัว ยอดฮิต มาแรง ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน   
แต่ถ้า "รู้ทันป้องกันได้"  ในวันนี้โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ บจก. เด็นโซ่ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ ผ่านรายการ Stay Healthy !  by RAMA Channel กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว และ ผศ. นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา ศัลยกรรมกระดูกและข้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลรามาธิบดี มาร่วมแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาพ และนำไปเป็นความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว 

คุณศักดา เหล่าวราพันธุ์ ผู้อำนวยการบริษัทเด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดให้มีกิจกรร

มพิเศษด้านสุขภาพสำหรับพนักงาน โดยก่อตั้ง Healthcare Center หรือคลินิกในโรงงาน โดยจัดตั้งที่แรกขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ชลบุรี  และปลายปีที่ผ่านมา ก่อตั้งแห่งที่สองที่โรงงานนิคมอุตสาหกรรมเวลโก เพื่อให้พนักงานเข้าถึงการรักษา สะดวกไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล 

ล่าสุดร่วมมือกับโรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ เกี่ยวกับโรค NCDs และโรคกระดูก โรคฮิต มาแรง “รู้ทันป้องกันได้” 


20240221-b-01.jpg



▪️ NCDs โรคร้ายที่คุณสร้างเอง คืออะไร

NCDs หรือ Non-communicable disease คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน  หลอดเลือดสมองหัวใจตีบ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง เป็นต้น 

NCDs เป็นโรคที่สร้างเองได้ หมายถึง โรคที่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเอง  ที่อาจจะชอบรับประทานอาหารบางประเภท ซึ่งถ้าเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ก็ลดโอกาสการเกิดโรค NCDs เหล่านั้น 

เช่น ลดการกินเค็ม ช่วยลดภาวะการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ลดกินหวานมาก ป้องกันโรคเบาหวาน


20240221-b-02.jpg


▪️ สัญญาณเตือน 6 โรคร้าย NCDs 

👉โรคเบาหวาน - ฉี่บ่อยตอนกลางคืน น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ เป็นแผลแล้วหายยาก มีปื้นดำที่คอ ข้อพับ และขาหนีบ 

👉โรคความดันโลหิตสูง - หลังตื่นนอนจะมึนงง ตาพร่า  เลือดกำเดาออกบ่อย ๆ ปวดหัวเฉียบพลันบ่อย ๆ เหนื่อยง่าย ใจสั่น 

👉โรคถุงลมโป่งพอง - ไอเรื้อรัง เป็นหวัดง่าย หายช้า เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงวี้ด 

👉โรคหัวใจ สมองหลอดเลือด - แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน ปลายมือปลายเท้าชา ปวดร้าวที่อกซ้าย ปากเบี้ยว พูดลำบาก 

👉โรคมะเร็ง - เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลงจากเดิม 

👉โรคอ้วนลงพุง - รูปร่าคล้ายลูกแพร์  เหนื่อยง่าย  ช่องท้องมีไขมันสะสมเป็นชั้น ๆ ข้อเข่ารับน้ำหนักไม่ไหว


20240221-b-03.jpg

▪️ ปรับพฤติกรรมห่างไกล NCDs 

- หากนั่งนานควรจัดเวลาให้มีการขยับร่างกายบ่อย ๆ 

- เลี่ยงกินอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ 

- พักผ่อนให้เพียงพอ 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน 

- ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ

- ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่ 


ถ้าหากเราไม่ปรับพฤติกรรมเหล่านี้ จะนำไปสู่ภาวะการเกิดโรค ต้องรีบปรับพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่าปล่อยไว้จนมีอาการ เมื่อไหร่ที่มีอาการแสดงว่า โรคกำเริบและมีความรุนแรงขึ้นแล้ว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ คิดว่าเจ็บหน้าอกนิดนึง จะเป็นอาการเริ่มต้นหรือไม่ แต่ความจริงไม่ใช่ ถ้าอุดตันจะเจ็บหน้าอกมาก ต้องมาโรงพยาบาลทันที 

โรคกระดูก เช่นข้อเสื่อมต่าง ๆ ก็เป็นหนึ่งในโรค NCDs ที่สร้างขึ้นมาให้ตัวเราเอง เราสร้างขึ้นมากเกินกว่าที่สภาพร่างกายรับได้ ก็จะทำให้เกิดโรคพวกนี้ได้ ไม่ว่า จะเป็นโรค หัวใจ  โรคไต โรคเบาหวาน หรือ โรคความดัน ก็ตาม 

ร่างกายของเราเปรียบเสมือนรถยนต์หนึ่งคัน จะมีรอบการเช็กระยะ ร่างกายก็เช่นเดียวกัน ควรมีการตรวจเช็กเป็นรอบ ๆ เหมือนรถ หากเราละเลยไม่ตรวจเช็ก ก็เปรียบเสมือนรถที่ไม่ได้เช็กระยะ อาจจะมีปัญหาในการใช้งาน การดูแลรักษามักจะยุ่งยากกว่าการที่เราดูแลอย่างสม่ำเสมอ  

การกินอะไรก็ตามไม่ควรกินในประมาณมากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือหากจะดื่ม เช่น ผู้ชายจะดื่มเบียร์ ก็ไม่ควรเกิน 2 กระป๋องต่อครั้ง ผู้หญิงไม่ควรเกิน 1 กระป๋อง  ส่วนเหล้าไม่เกิน 40 ดีกรี ไม่ควรเกินสัปดาห์ละครั้ง และไม่ดื่มในปริมาณมาก และออกกำลังกายเกือบทุกวัน หากเราควบคุมการกินได้ ก็ลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายแรงลงได้ 

NCDs เกี่ยวกับข้อและกระดูก ซึ่งมักจะพบมากขึ้นในวัยทำงาน อาการปวดกระดูก มักเกิดขึ้นตามร่างกายหากเราใช้งานหนัก ถ้าเกิดขึ้นแล้วเป็นเวลานานไม่หาย อาจจะมีปัญหาทางโครงสร้าง ก็อาจจะต้องไปพบแพทย์ 

เช่น อาการปวดมือและข้อมือ มีอาการชา จากการใช้งานข้อมือเยอะ ๆ จนมีผังผืดเกาะหนา ทำให้เกิดอาการชาที่มือ นอกจากนี้มียังโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อต่างๆที่พบบ่อย เช่น อาการปวดเข่า ปวดไหล่ ปวดหลัง และอาการปวดคอ 

อาการกระดูกสันหลังเคลื่อน ปวดลงมาที่หลัง นั่งนานไม่ได้เหมือนเดิม ร้าวลงมาที่ขา มีอาการขาชา เดินไม่สะดวก หรือมีอาการปวดเข่า จากการเดิน หรืองอเข่าเยอะ จากการนั่งกับพื้นนาน ๆ ทำให้ข้อต่อทำงานหนักกว่าปกติ ซึ่งอาจจะเกิดจากน้ำหนักตัวเยอะกว่ามาตรฐาน ก็ต้องหาสาเหตุ หากเกิดจากโรคอ้วนก็ต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในมาตรฐาน 


20240221-b-05.jpg

▪️ สาเหตุหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท 

- อุบัติเหตุที่ทำให้ ความดันในหมอนรองกระดูกสูงเฉียบพลัน 

- นั่งพิงผิดท่า หรือก้มยกของหนักไม่ถูกวิธี

- ไอ หรือจาม แรง ๆ 

- ความเสื่อมของร่างกาย 


20240221-b-04.jpg


▪️ หมอนรองกระดูกเสื่อมแสดงอาการอย่างไร

- ระยะที่ 1 ส่วนโค้งเริ่มเสียสมดุล ในระยะนี้ยังไม่แสดงอาการ 

- ระยะที่ 2 กระดูกปูดนูนตรงข้อต่อกระดูก  จะมีอาการแสดงเช่น ปวดหลังเป็น ๆ หาย ๆ

- ระยะที่ 3 หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท อาการที่พบ เช่น ปวดร้าวลงแขนและขา แขนขา ชา หรืออ่อนแรง

- ระยะที่ 4 หมอนรองกระดูกตีบแคบลง ข้อต่อกระดูกแข็ง อาการที่แสดง เช่น ปวดหลังรุนแรง 

ถ้ากิยาแล้วไม่ดีขึ้น อาจมีปัญหาทาง ต้องพบแพทย์ 


20240221-b-07.jpg


▪️ วิธีป้องกัน โรคกระดูกเสื่อม 

- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

- ควบคุมน้ำหนัก 

- ออกกำลังกาย 

- เปลี่ยนอริยาบทบ่อย ๆ

- กินอาหารที่มีประโยชน์ 

แม้การลดน้ำหนักเป็นเรื่องยาก แต่เพียงควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นก็นับว่ามีประโยชน์ ไม่เพิ่มแรงกดดันให้กับข้อต่อกระดูกในส่วนต่าง ๆ และโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมา รวมทั้งการออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพียงเท่านี้ เราก็สามารถห่างไกลโรค NCDs โรคที่เราสร้างขึ้นมาเองได้แล้ว..


รับชมวิดีโอ : https://fb.watch/qlgsuz6U9c/

ติดต่อโฆษณา!