27 มกราคม 2567
300

One Day with เภสัชกร


One Day with Me by RAMA Channel วันนี้จะพาไปดูการปฏิบัติหน้าที่และภารกิจประจำวันที่สำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ คือ ภก.ทาม ทาเอื้อ หน่วยผสมยาเคมีบำบัด ฝ่ายเภสัชกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้ให้ความรู้ด้านวิชาชีพเภสัชกรกรรมกับเราในวันนี้
 

ถึงแม้งานจะเครียด และมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ หากผิดพลาดนิดเดียวจะส่งผลถึงระบบโดยรวม แต่ก็มีข้อดี ที่ทำให้ผมมี Passion ยังทำงานอยู่ถึงทุกวันนี้ คือเมื่อผู้ป่วยรับยาจากเรา แล้วเขาสบายใจ เพราะต้องเข้าใจว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีความเครียด หรือความกังวลอยู่แล้ว บางทีเขาอาจจะแสดงอาการที่ทำให้เราไม่พอใจ ต้องอย่าไปฟังในสิ่งเหล่านั้น ที่เราควรฟังคือ จริง ๆ แล้วเขารู้สึกอย่างไร เข้าใจเขาถึงหัวใจของเขา ก็จะสามารถทำงานไปได้ในแต่ละวัน” ภก.ทาม กล่าว

ภารกิจในช่วงเช้า เมื่อเดินทางมาถึงยังโรงพยาบาล ภก.ทาม ก็จะเริ่มการทำงานที่หน่วยบริการเภสัชกรรมด้านยาเคมีบำบัด ซึ่งอยู่ติดกับ OPD เพราะว่าห้องผสมยาเคมีบำบัด พอผสมยาเสร็จก็สามารถส่งยาให้กับหน่วย OPD ได้ สามารถนำไปบริหารยากับผู้ป่วยได้เลย 

เวลา 08.30 น. จะทำงานที่โซนออฟฟิศก่อน จะรับเคสที่เหลือจากเมื่อวาน

20240430-b-01.png

ในช่วง 08.00 - 09.00 น. แพทย์จะเริ่มตรวจผู้ป่วย เภสัชกรตรวจสอบรายการยาที่แพทย์สั่ง หากมีปัญหาเกิดขึ้นสามารถตรวจทานซ้ำกับคุณหมอได้ 

เพียงมองผ่านกระจกไป ก็จะเห็นห้องผสมยาเคมีบำบัด ซึ่งจะมีตู้ผสมยาอยู่ทั้งหมด 4 ตู้ด้วยกัน ทุกคนจะต้องแต่งกายให้มิดชิด ถูกต้องตามมาตรฐาน 

ยาเคมีบำบัด มีแบบที่ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น มีทั้งแบบผงและแบบน้ำ และตู้เย็นสำหรับแช่ยาเคมีบำบัด ตู้เย็นจะเปิดตลอด 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส 

หลังจากนำยาออกมาจากห้องผสมยาเคมีบำบัด ก็จะนำยามาวางเตรียมส่งมอบให้ผู้ป่วย และจะมีการตรวจสอบยาก่อนถึงมือผู้ป่วยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด พยาบาลก็จะนำยาเคมีบำบัดจากในตะกร้า ไปบริหารยาให้กับผู้ป่วยต่อไป นอกจากนี้ ยังมียากลับบ้าน ผู้ป่วยสามารถมารับยาเองได้ หรือถ้าห้องยาจะปิดแล้ว

ยังไม่ได้ส่งยาให้กับผู้ป่วย เภสัชกรนำยาไปส่งให้กับผู้ป่วยที่เตียงรายบุคคล 

ชั้น 6 จะเป็นห้องยาผู้ป่วยใน จะมีทั้งการจัดยาจากผู้ช่วยและจัดยาโดยตู้ยา Robot จากนั้นเภสัชกรจะตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนที่จะส่งยาไปที่ชั้นต่าง ๆ จะมีลิฟต์ในการขนส่งยา ในลิฟต์มีตะกร้าอยู่หลายตะกร้าจะส่งไปยังชั้นต่าง ๆ ตั้งแต่ชั้น 1 - 5 

นอกจากนี้เภสัชกร ยังต้องทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ เช่น บริษัท อาร์ เอฟ เอส จำกัด (RFS) ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี คอยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งจะมีพนักงานส่งยาให้กับหน่วยต่าง ๆ บริการส่งผลเลือดให้กับ Lab หรือเบิกยาด่วนให้ผู้ป่วยที่ต้องการใช้ยา 

นอกจากห้องยา ชั้น 6 แล้วจะมียาที่ห้องชั้นอื่นที่เราจำเป็นต้องขอยาด้วย เพราะห้องยา ชั้น 6 อาจไม่มียาทุกชนิดในโรงพยาบาล อย่างเช่น ห้องยา ชั้น 4

ห้องยาเคมีบำบัดมีการส่งยาไปทั่วโรงพยาบาล ทั้งการส่งยาไปที่ Short Stay 2 หรือไปที่อาคารหลัก การส่งยาจะมีตู้เย็นสำหรับขนส่งยาที่ต้องเก็บความเย็นและที่ไม่ใช่ตู้เย็นสำหรับขนส่งยาที่ไม่ใช่ยาเย็น และมีคุณ RFS เข็นไปส่งที่ Short 2 รอบการขนส่งยา วันหนึ่งจะมีหลายรอบ ตั้งแต่ 09.30 น. 10.30 น. 12.00 น. 13.00 น. 14.30 น. และ 16.30 น.

ถ้าสมมติมียาตกรอบไป ห้องยาก็จะนำไปส่งให้เองหรือว่าถ้าความผิดพลาดเกิดจากต้นทาง ต้นทางก็จะมารับยาเอง 

สำหรับในช่วงบ่าย ภก.ทาม ก็เริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ห้องผสมยาเคมีบำบัด ก่อนเข้าห้องผสมยาก็ต้องเปลี่ยนชุดปลอดเชื้อและสวมถุงมือ เพื่อเข้าไปในห้องของหน่วยผสมเคมีบำบัด อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ 

ภายในห้องเคมีบำบัดประกอบด้วยบุคลากรทั้งหมด 7 คน เภสัชกร 5 คน และผู้ช่วยอีก 2 คน แต่ละตู้จะมีเภสัชกรประจำอยู่ตู้ละ 1 คน 4 ตู้ รวม 4 คน 

เภสัชกรอีกหนึ่งคนจะทำหน้าที่ Verify Order หลังจากที่ผู้ป่วยจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อย และมีการแจ้งมาที่เภสัชกรแล้ว ก็จะมีการ Verify Order และตรวจสอบ Order ซ้ำอีกครั้ง ก่อนที่จะเข้าไปทำในตู้ทำยา 

หลังจากจากนั้น เมื่อตรวจสอบแล้ว ผู้ช่วยเภสัชกรจะนำยาเคมีบำบัดไปแจกจ่ายยาให้เภสัชกรตามตู้ต่าง ๆ หลังเภสัชกรแต่ละตู้ผสมยาเรียบร้อย ก็จะมีเภสัชกรตรวจสอบปริมาณความถูกต้องอีกครั้ง พร้อมที่จะส่งออกข้างนอก 


20240430-b-02.png

หลังจากผสมยาเคมีบำบัดเสร็จ ก็เป็นช่วงเย็นแล้ว หรือ 16.00 น. จากนั้นจะตรวจเยี่ยมผู้ป่วยใน และจ่ายยากลับบ้านให้กับผู้ป่วย เพราะห้องยาจะปิดก่อนที่ผู้ป่วยจะให้ยาเสร็จ เราก็ต้องไปจ่ายยาผู้ป่วยให้เสร็จเรียบร้อย 

  • สิ่งสำคัญในการเป็นเภสัชกรเคมีบำบัด

    ต้องเป็นคนใจเย็น ละเอียด รอบรอบ เพราะถ้าเราใจร้อนแล้ว ทำอะไรไม่ละเอียดรอบคอบ ทำให้เสร็จ ๆ ไป เวลาเกิดข้อผิดพลาด ผลกระทบจะเป็นวงกว้างและค่อนข้างจะอันตรายมาก

    ยาเคมีบำบัด เป็นยาที่อันตรายและมีราคาค่อนข้างสูง ความผิดพลาดไม่ควรเกิดขึ้นเลย ไม่เหมือนกินยาพาราเซตามอล ที่กินเกินไปบ้างจะเกิดอาการง่วงซึม แต่ยาเคมีบำบัด หากได้รับมากเกินไป จะเกิดอันตรายต่อร่างกาย

    ถ้าผิดพลาดแค่นิดเดียว แค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน ก็จะส่งผลถึงชีวิตผู้ป่วยได้เลย ดังนั้น ไม่สามารถพลาดได้เลย ดังนั้นต้องใจเย็น ๆ เช็กความถูกต้อง

    ถ้าพูดถึงนวัตกรรมใหม่ที่จะเข้ามาในโรงพยาบาลรามาธิบดี คือ หุ่นยนต์ หรือ Robot ที่ช่วยผลิตยาเนื่องจากยาบางชนิด ใช้เวลาผลิตนาน แต่ไม่ได้ซับซ้อนขนาดนั้น ได้ Robot มาช่วยจะเป็นเรื่องที่ดีมาก ทำให้เภสัชกรสามารถไปทำงานอย่างอื่นที่มีความละเอียดซับซ้อนมากกว่า

  • การทำยาถือเป็นเคสที่ยากไหม

    ถือว่าเป็นเคสที่มีความเสี่ยงที่สุด เคสยาที่ทำคือ ยาที่หาไม่ได้ในประเทศไทย ยา 1 ขวด มีราคาหลายแสนบาท เพราะฉะนั้นความผิดพลาดคือ 0 ห้ามผิดพลาดเลย เพราะถ้าผิดพลาดก็จะไม่มียาให้ผู้ป่วย ยาต้องส่งมาจากต่างประเทศ ก็มีความกดดันมาตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง แต่สุดท้ายไม่มีปัญหา ก็ผ่านไปได้

คติในการทำงาน

“Passion ในการทำงานของผมคือ เภสัชกรต้องมีความใจเย็น ละเอียด รอบคอบ ถ้าเกิดข้อผิดพลาด ผลกระทบจะเป็นวงกว้าง ค่อนข้างอันตรายมาก ยาเคมีบำบัดเป็นยาที่อันตรายและมีราคาสูง อยากดูแลผู้ป่วยทุกคนให้ดีที่สุด” ภก. ทาม กล่าว



รับชมวิดิโอ : https://youtu.be/oFlkEO7WmYE?si=21Xvwqfz9kQ3dcCV


ติดต่อโฆษณา!