25 มกราคม 2567
447

One Day with นักฉุกเฉินการแพทย์

นักฉุกเฉินการแพทย์ เป็นอาชีพที่เพิ่งมีมาไม่นานในประเทศไทย เพิ่งมีมา 10 กว่าปีนี้เอง แต่ในต่างประเทศมีมานานแล้ว เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล

One Day with Me by RAMA Chanel ในวันนี้ จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาชีพการเป็น นักฉุกเฉินการแพทย์ หรือ Paramedic โดย อ. นฉพ.พลวัฒน์ กานต์ชยาวงศ์ หรือคุณยิม นักฉุกเฉินการแพทย์ และผู้ช่วยอาจารย์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทยบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ให้คำแนะนำและอธิบายภารกิจ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลือชีวิตคนในช่วงนาทีความเป็นและความตาย 

เริ่มต้นกันเลย ภารกิจในช่วงเช้า อ. นฉพ.พลวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า จะเป็นการเรียนการสอนหรือการทำ Workshop การปฏิบัติการกลุ่มย่อย กลุ่มละ 3 - 4 คน โดยใช้เวลา 10 - 15 นาที

20240423-b-01.png

จากนั้นมี Class การสอนใส่ท่อช่วยหายใจ หรือ Endotracheal Tube ให้กับนักศึกษาฉุกเฉินการแพทย์

ในช่วง 13.00 น. เป็นการ Orientate นักศึกษาฝึกงานชั้นปีที่ 4 ผ่านทางออนไลน์ โดยใช้เวลาในการสอน 1 ชั่วโมง จากนั้นก็พาไปต่อยังหน่วยที่เรียกว่า หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หรือ Ramathibodi Emergency Medical Operation Unit (RAMA EMO Unit) 

โดยเป็นหน่วยปฏิบัติการทางการแพทย์ที่นอกจากจะออกรับแจ้งเหตุผู้ป่วยฉุกเฉินออกไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่นอกโรงพยาบาล ยังมีการประสานงานเพื่อนำส่งผู้ป่วยเข้าไปสู่ห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 

หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับรางวัลมากมาย ล่าสุดเป็นรางวัลการแข่งขันEMS Asia 2023 Championship หรือการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับเอเชีย ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยหน่วยปฏิบัติการของโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับรางวัลที่ 2 ของเอเชีย 

ศูนย์สั่งการหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จะเป็นห้องประสานงานนำส่งผู้ป่วยและเป็นห้องสั่งการเวลาออกเคสฉุกเฉินต่าง ๆ ซึ่งมีแพทย์ Consult 24 ชั่วโมง และมีเจ้าหน้าที่ดู Monitor สามารถ Monitor กลับมาที่ศูนย์ได้นอกจากนี้ จะมีเจ้าหน้าที่ตำแหน่ง EMD ที่คอยรับสาย รับแจ้งเหตุ แล้วจดประสานงานข้อมูลต่าง ๆ อีกด้วย

ทั้งนี้ ศูนย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดีจะรับสายด่วน 1669 เพราะติดกับศูนย์บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ซึ่งจะแบ่งเป็น 12 โซน เกิดเหตุใกล้ที่ไหน โรงพยาบาลที่ใกล้จะออกไปรับตามความเหมาะสม


20240423-b-02.png

เวลามีเคสโทรมาที่สายด่วน 1669 ก็รับสายและบันทึกข้อมูลและสั่งการพิมพ์ได้ เมื่อกดออด ทีมที่ Stand by อยู่ 24 ชั่วโมง ก็จะไปที่รถ Ambulance เพื่อออกเคส และเดินทางไปจุดเกิดเหตุ

นักฉุกเฉินทางการแพทย์ Paramedic ของที่นี่มีด้วยกัน 20 คน และมีอาจารย์แพทย์ที่เป็น Staff ด้วย จะมีรถ Ambulance ที่เป็นคันสีเหลืองสำหรับส่วนฉุกเฉินการแพทย์ 3 คัน รวมอุปกรณ์ที่ใช้ในการแพทย์ฉุกเฉินต่าง ๆ 

นอกจากนี้มีห้องพักสำหรับการรอปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สามารถพักผ่อน หลังออกเคสแล้วก็จะมารอในห้องประชุม เพื่อทำการรีวิวเคส เพื่อประเมินว่า ส่วนไหนที่ทำได้ดี และส่วนไหนที่จะปรับปรุงบ้าง ก็จะมีการคุยกันหลังจากนั้น

ก่อนจะเริ่มเวรบ่ายในวันอังคารและพฤหัสบดี ก็จะมีการออกกำลังกายของเจ้าหน้าที่ ที่เป็นนักฉุกเฉินการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ มาออกกำลังกายร่วมกัน เวลาออกไปเคสข้างนอก เราจะต้องยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก จะสามารถใช้ท่าที่ถูกต้องได้และจะได้มีสุขภาพกายที่ดีและแข็งแรงตลอดเวลา 

รถ Ambulance ของโรงพยาบาลรามาธิบดี มีสีตามระเบียบใหม่ของสำนักงานฉุกเฉินแห่งชาติ รถคันนี้ก็จะเป็นไปตามมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด มีมาตรฐานความปลอดภัยครบถ้วน

  • อุปกรณ์ที่อยู่ในรถ Ambulance 

    หลัก ๆ ก็จะมีอุปกรณ์ไว้ช่วยชีวิต จะแบ่งออกเป็น 2 กระเป๋า คือ อุปกรณ์สำหรับทางเดินหายใจ (Airway) อีกกระเป๋าจะเป็น Circulation เกี่ยวกับเรื่องของความดัน เรื่องของเลือด การให้สารน้ำ หรือน้ำเกลือต่าง ๆ ก็จะอยู่ในกระเป๋าเดียวกันเพื่อให้สะดวกต่อการหยิบใช้  

    การออกเคส 1 ครั้งจะใช้บุคลากร 3 คน โดยที่ 2 คน แบ่งหน้าที่ช่วยกันรักษา อีกคนก็ช่วยขับรถและดูแลความปลอดภัยว่า ในทีมจะต้องมีความปลอดภัยอย่างไรบ้าง หรือว่าจะเคลื่อนย้ายอย่างไร เลือกอุปกรณ์เคลื่อนย้ายให้เหมาะสม

    นอกจากนี้ ยังมีเครื่องวัดความดันที่สามารถใช้วัดความดันได้และช็อกไฟฟ้าหัวใจได้ เป็นเครื่อง Monitor เชื่อมต่อกับศูนย์สั่งการได้ เป็นระบบแบบ Real Time ข้อมูลไปถึงแพทย์สามารถตัดสินใจช่วยเหลือและรักษาได้เร็วมากขึ้น

    ความพิเศษของรถคันนี้ที่คันอื่นไม่มีคือ เปลไฟฟ้าระบบ Hydraulic ซึ่งปัญหาของนักฉุกเฉินการแพทย์ส่วนใหญ่หรือปัญหาของบุคลากรทางการแพทย์ มีปัญหาอาการปวดหลัง ซึ่งเปลนี้ก็ลดภาระของบุคลากรได้บ้าง 

    สำหรับตัวผมเอง ได้รับโอกาสเข้าไปช่วยกำกับหรือเป็นที่ปรึกษาในซีรีส์หลายเรื่อง ที่เป็นซีรีส์ทางการแพทย์ ยกตัวอย่าง ซีรีส์เรื่องรักฉุดใจนายฉุกเฉิน หรือในเรื่องอื่น ๆ ทำให้คนรู้จักอาชีพนี้ หรือรู้จักสาขานี้มากขึ้น”

  • สิ่งที่ต้องมีสำหรับนักฉุกเฉินทางการแพทย์

    สิ่งที่ต้องมีประการแรก คือ ต้องเตรียมใจให้ดี เราต้องเจอกับอะไรหลายอย่าง ต้องรอบคอบแล้วก็ปลอดภัย เตรียมใจให้ดีกับอะไรที่อาจจะเกิดขึ้น มีไหวพริบ ปฏิภาณ มีสติตลอดเวลาที่อยู่หน้างาน

    การเรียนจะมีการฝึกจำลองสถานการณ์ ดังนั้นระหว่างที่เรียนจะมีการสอบปฏิบัติ ในเวลาที่จำกัดเพื่อประเมินว่าสามารถจัดการผู้ป่วยอย่างเหมาะสมได้หรือไม่ 

    อีกอย่างที่ต้องมีคือ “ความเสียสละ” เพราะอาชีพนี้ต้องเข้าไปช่วยเหลือคน ต้องอยู่เวรไม่เป็นเวลา ยิ่งช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่เกิดเหตุฉุกเฉินมาก เช่น อุบัติเหตุทางจราจร คนเดินทางออกต่างจังหวัดกันมาก เพื่อให้เขาพ้นจากภาวะวิกฤติ ต้องทำการช่วยเหลือตรงนั้น 

ความประทับใจในการเป็นนักฉุกเฉินการแพทย์

การต้องอยู่กับผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ระหว่างความเป็นกับความตาย การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน แม้จะมีเพียง 1% ที่ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตเพิ่มขึ้น เราถือว่า คุ้มที่จะเสี่ยง ที่จะช่วยให้เขารอดชีวิต และอาชีพนี้ต้องเสียสละ เพราะต้องช่วยเหลือคนและอยู่เวรไม่เป็นเวลา” นฉพ.พลวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย


รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/Udu_2tzIC0Y?si=4x--xomFHgk-akgt



ติดต่อโฆษณา!