27 มกราคม 2567
1,424

โรคตาขี้เกียจ ภาวะผิดปกติที่พบได้บ่อยในเด็ก


ตาขี้เกียจ จะทำให้การมองเห็นภาพลดลง เป็นผลจากความผิดปกติของพัฒนาการของการมองเห็นในทารก มักเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 - 7 ปี ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา จะทำให้ตามัว การมองเห็นจะลดลงอย่างถาวร 

ลัดคิวหมอรามาฯ รายการวาไรตี้เพื่อสุขภาพ ที่สามารถติดตามข้อมูลได้ทุกเพศ ทุกวัย วันนี้จะพาไปรู้จักโรคตาขี้เกียจในเด็ก สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจ วิธีการป้องกัน และการรักษา

โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะมาให้ความรู้ในเรื่องนี้คือ รศ. พญ.อรวี ฉินทกานันท์ สาขาเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และ ผศ. พญ.วฎาการ วุฒิศิริ สาขาวิชากล้ามเนื้อตาและโรคตาในเด็ก ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


20240127-b-01.jpg


▪️ สาเหตุของตาขี้เกียจ มี 3 สาเหตุ

1. มีสิ่งบดบังไม่ให้แสงสามารถกระตุ้นจอประสาทตา มองไม่เห็นตั้งแต่เกิด อาจจะเป็นต้อกระจก หนังตาตก เวลาเป็นโรคตาขี้เกียจ ถ้าเป็นข้างเดียวจะแข่งขันสูง จะรักษายาก ถ้าเป็นทั้งสองข้าง จะผ่าตัดแก้ไข ง่ายกว่า

2. เป็นตาเข ตาเหล่เข้าใน หรือเหล่ออกนอก  ข้อสังเกต คือข้างที่เหล่ เป็นข้างที่ไม่ได้ใช้ และเป็นตาขี้เกียจ 

3. ดูยากที่สุดคือ ค่าสายตาผิดปกติ ถ้าผิดปกติทั้งสองข้าง จะดูง่าย พฤติกรรมการมองเห็นจะสังเกตง่าย เช่น เด็กจะเดินชน มองกระดานไม่เห็น แต่ถ้าเป็นในตาข้างเดียว เช่น สั้นมาก ๆ ยาวมาก ๆ  แต่อีกข้างใช้งานได้ดีปกติ จะค่อนข้างสังเกตได้ยาก หรือไม่รู้เลยว่าเด็กมีความผิดปกติทางสายตา ทั้งการรักษาก็ไม่ยาก เพียงใส่แว่นสายตาก็หาย แต่จะต้องพาเด็กไปตรวจวัดสายตาตั้งแต่ในช่วงที่เป็นเด็กเล็ก  

ดังนั้นก่อนที่เด็กจะเข้าเรียนอนุบาลก็จะแนะนำผู้ปกครองให้นำเด็กมาพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจเช็กสายตาทั้งสองข้าง ว่าปกติหรือไม่


20240127-b-02.jpg


▪️ โรคตาขี้เกียจสังเกตอย่างไร 

- ลูกตาดำสั่น อาจมีปัญหาการมองเห็นจากกรณีต้อกระจก ขอสมองดึงให้ตาดูนิ่งไม่ได้ 

- ไม่จ้องหน้า อาจจะมีปัญหาการมองเห็นของสายตาทั้งสองข้าง 

- เห็นภาพไม่ชัดเจน

- ร้องไห้เมื่อถูกปิดตา แสดงว่าเด็กมองไม่เห็น

- พยายามดึงมือที่ถูกปิดตาออก แสดงว่าข้างที่เปิดอยู่มองไม่เห็น 


20240127-b-03.jpg


▪️ โรคตาขี้เกียจรักษาอย่างไร 

การรักษาจะได้ผลดี กับเด็กในช่วง 7 ปีแรก หากไม่ได้รักษาจนอายุเกิน  8 - 9 ขวบ อาจทำให้ตามัวแบบถาวร ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบแนะนำให้พบจักษุแพทย์เท่านั้น หากไปตรวจวัดที่ร้านขายแว่นตา ก็มักจะแนะนำให้สวมแว่น ดังนั้นต้องรีบรักษาก่อนอายุ 10 ขวบ

เด็กที่เพิ่งคลอด จะมีแพทย์ช่วยประเมิน หรือเวลาที่นำเด็กไปฉีดวัคซีน ก็จะมีการตรวจเช็กสายตา หรือบางครั้ง การใช้วิธีถ่ายรูปเปิดแฟลช ถ้ามีแสงสะท้อนสีแดง ในดวงตาลบแสดงว่าปกติ แต่ถ้าเป็นสีเทา หรือสีขาว อาจจะบ่งบอกว่าเป็นต้อกระจก หรือมะเร็งจอตาในเด็ก 
   

วิธีการรักษา อาจทำได้ดังนี้ 

- ปิดตาข้างที่เห็นชัด เพื่อกระตุ้นให้ตาที่เป็นตาขี้เกียจ กลับมาเห็นเป็นปกติ ส่วนใหญ่ปิดวันละ 1 - 2 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ไปจนถึง 20 ขวบ เพื่อกระตุ้นการมองเห็นสองข้างให้เท่ากัน 

- ใส่แว่นสายตา  เพื่อกระตุ้นให้ตาที่เป็นตาขี้เกียจ กลับมาเห็นเป็นปกติ 

- ผ่าตัด ในกรณีที่พบว่าตาเข 


▪️ การดูแลถนอมสายตา 

การดูจอโทรศัพท์มือถือ ถ้าจ้องจอเป็นเวลานาน อาจเกิดอาการตาแห้งเหมือนผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีปัญหาตาขี้เกียจ ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิต สามารถเล่นกับเพื่อน ๆ หรือมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบข้างได้ 


▪️ ภาวะตาแห้ง ดูแลอย่างไร  

ถ้าเราใช้สายตามาก ก็ทำให้เกิดตาแห้งได้ อาจจะหยอดน้ำตาเทียมเพื่อช่วยความชุ่มชื้นสายตาได้ ไม่สามารถรับประทานอาหารเสริมเพื่อชดเชยได้ ดังนั้นควรใช้สายตาอย่างเหมาะสม พักสายตาบ้าง ไม่ใช้งานหนักเกินไป





รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/LNICaxvaQdQ?si=--I0PjxtyVZgpWB0




ติดต่อโฆษณา!