21 มกราคม 2567
401

One Day with แพทย์ผ่าตัดสมอง

One Day with Me by RAMA Channel ในวันนี้เราจะพาไปดูภารกิจในหนึ่งวันของแพทย์ผ่าตัดสมองว่า มีการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยอย่างไร

พญ.ธนพร เจริญงามเสมอ หรือคุณหมอเจน แพทย์ประจำบ้านสาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

เรามีความฝันว่าเราอยากจะพัฒนาระบบให้บริการผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง มีทุนหนึ่งที่สามารถสนับสนุนเราได้ นั่นก็คือ ทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล พอได้รับพระราชทานทุน ได้ทำงานวิจัย แล้วได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ การได้ไปเปิดมุมมองว่าคนที่ประสบความสำเร็จเขามี Passion ในสิ่งที่ชอบ หากเขาไม่ชอบคงทำในสิ่งนั้นไม่ถึงเป้าหมาย”  

07.00 น. การทำงานวันใหม่เริ่มขึ้น คุณหมอเจนเตรียมตัวเพื่อตรวจผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยใน ที่หอผู้ป่วย ประสาทศัลยศาสตร์ ชั้น อาคารหลัก (อาคาร 1) โรงพยาบาลรามาธิบดี พญาไท

เราดูผู้ป่วยทั้งตอนเช้าและตอนเย็น สิ่งที่ดูในตอนเช้า จะดูว่าผู้ป่วยมีอาการชัก มีไข้หรือเปล่า หรือว่าการปัสสาวะปกติหรือไม่ ซึ่งก็จะได้สั่งการรักษาผู้ป่วยต่อไป จากนั้นก็สอบถามอาการผู้ป่วยเตียงต่าง ๆ จากพยาบาล ตรวจดูฟิล์มผู้ป่วย และสั่งการไว้กับพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อม เช่น ผู้ป่วยที่จะเปิดแผล หรือทำแผลในวันต่อไป”

08.00 น. ออกตรวจผู้ป่วยภายในเตียงต่าง ๆ เพื่อประเมินอาการ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง  

จากนั้นก็ตรวจ OPD หรือผู้ป่วยนอก ซึ่งจะตรวจผู้ป่วยด้านประสาทศัลยศาสตร์ เช่น มีเนื้องอกในศีรษะ เส้นเลือดผิดปกติทางศีรษะรวมถึงไขสันหลัง แต่บางครั้งไม่ได้เป็นคุณหมอที่เจอผู้ป่วยครั้งแรก จะเป็นรับปรึกษาจากหน่วยอื่นมา 

ถ้าสงสัยว่ามีก้อนในสมอง ก็จะส่งผู้ป่วยไปเอกซเรย์ หรือ CT Scan หรือเข้าอุโมงค์ก็เรียกว่า MRI 

11.00 น. ตรวจ OPD เสร็จ ก็ไปกินอาหารกลางวัน  

วันไหนมีเวลาว่าง ไม่ได้อยู่เวรก็จะไปเล่นบาสเกตบอล ถ้าวันไหนอยู่เวรก็จะเว้นไป หรือถ้าว่างก็จะมาอาสาสมัครเล่นเปียโนที่โรงพยาบาล มีอาหารให้เลือกหลากหลาย หรือจะขึ้นไปกินที่โรงอาหารชั้น 2 ก็ได้ มีส่วนลดสวัสดิการ

13.00 น. ได้เวลาเข้าห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลรามาธิบดี แต่ก่อนที่จะเข้าไปก็ต้องไปเปลี่ยนชุดก่อน 

ห้องผ่าตัดมีหลายห้อง ห้องแรกเป็นห้องรอผ่าตัด ผู้ป่วยจะมารอที่ห้องนี้ก่อน ก็ต้องเช็กว่าผู้ป่วยถูกต้องไหม จะผ่าตัดถูกข้างหรือเปล่า และมีห้องสำหรับผู้ป่วยที่พักฟื้นจากการผ่าตัด มีหมอดมยา พยาบาลที่จะช่วยดูแล และมีโซนปลอดเชื้อ  

ห้องผ่าตัดมีทั้งหมด 11 ห้อง แต่สำหรับของประสาทศัลยศาสตร์มีห้องประจำอยู่ 2 ห้อง คือ ห้องผ่าตัดหมายเลข 4 และห้องผ่าตัดหมายเลข

ภายในห้องมีเครื่องเอกซเรย์ที่ทำงานได้ต่อเนื่องมากขึ้น เหมือนดูวิดีโอ การผ่าตัดสมองใช้ความละเอียดสูง จะต้องใช้กล้องที่มีความละเอียดสูง เพื่อซูมเข้าไปให้ถึงเส้นเลือด ให้เห็นว่ามีเนื้อเยื่อติดอยู่กับก้อนเนื้องอกหรือเปล่า 

ก่อนผ่าตัดก็ต้องล้างมือกันก่อน ล้างมือให้สะอาดทั้งหมด 3 ครั้ง หลังจากเช็ดให้สะอาด จากนั้นสวมชุดสำหรับผ่าตัดมีพยาบาลผู้ช่วยมาช่วยผูกเชือกข้างหลังให้ หลังจากนั้นจะใส่ถุงมือ เป็นถุงมือแบบ Sterilize เทคนิค คือ ใส่โดยไม่ให้นิ้วมือโผล่ออกมาจากชุด

ถ้าเป็นอาจารย์จะไม่ต้องใส่ถุงมือเอง เราสามารถใส่มือเข้าไปได้เลย แต่ตอนนี้พญ.ธนพร ยังเป็นแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1 ต้องฝึกใส่เองก่อน โดยแต่งกายเสร็จแล้วไม่ควรให้มือสัมผัสกับมือผู้อื่น เพราะจะได้ปลอดเชื้อตลอดเวลา เตรียมพร้อมสำหรับการผ่าตัด นี่คือหนึ่งวันของ พญ.ธนพร เจริญงามเสมอ แพทย์ประจำบ้านสาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ความประทับใจที่มีต่อทุน โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

พญ.ธนพร เป็นหนึ่งคนที่ได้ทุน โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งผู้ที่ได้รับพระราชทานทุนจะต้องไปปฏิบัติงานในต่างประเทศหรือในประเทศเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งพญ.ธนพร ได้ไปปฏิบัติงานที่ประเทศแคนาดา โดยไปทั้งหมด 3 สถาบัน แต่ละที่ก็มีความแตกต่างและไม่เหมือนกัน แต่ว่าที่เหมือนกันก็คือ มีการพัฒนาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้ดี รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เราไปดูไปศึกษาวิจัย พยายามตกผลึกและนำปรับมาใช้ที่ประเทศไทย

20240411-c-01.png

วันแรกที่ไปถึงประเทศแคนาดา โดยรวมเป็นประเทศที่หนาว อุณหภูมิติดลบ 30 องศาเซลเซียส เป็นประสบการณ์ที่ใหม่มาก ๆ ถึงแม้ว่าอากาศจะเย็นแต่คนก็มาทำงาน รวมทั้งคนที่ทำวิจัยและหมอก็ยังฝ่าพายุหิมะมาทำงานที่โรงพยาบาล

คนที่จะสมัครทุน โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ต้องเป็นคนที่มีเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ มี Passion มีความชอบกับสิ่งที่ตัวเองทำเพราะไม่ว่าตัวเองจะเจอปัญหาหรืออุปสรรค ถ้าใจเราชอบ เราก็จะทำต่อ ไม่ย่อท้อ 


รับชมวิดิโอ : https://youtu.be/T_ZYHQRStNw?si=gz0_wwaGTVv71Etz

ติดต่อโฆษณา!