06 มกราคม 2567
7,801

ตาเข ตาเหล่ในเด็ก อันตรายใกล้ตัวจากการจ้องจอนาน ๆ


คุณพ่อ คุณแม่ ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าอาการ ตาเข ตาเหล่ ในเด็กไม่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือเข้าใจว่าเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ โรคนี้นอกจากจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ การมองเห็น และความมั่นใจแล้ว ยังนำไปสู่โรคสายตาขี้เกียจได้อีกด้วย 

ช่วงวัยเด็กดวงตากำลังอยู่ในช่วงที่กำลังพัฒนา หากเกิด ตาเข ตาเหล่ ขึ้นมา จะทำให้เด็กใช้งานตาข้างนั้นน้อยกว่าอีกข้าง จนเกิดภาวะตาขี้เกียจได้ เพราะดวงตาไม่ได้ใช้งาน และการพัฒนาจะด้อยกว่าตาอีกข้างหนึ่ง และหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจทำให้ “ตาบอด”ได้ 

ดังนั้นการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะส่งผลดีต่อตัวเด็กมากที่สุด 

“ลัดคิวหมอรามา” จะพาทุกคนไปหาคำตอบเรื่องนี้ กับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รศ. นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และ ผศ. พญ.วฎาการ วุฒิศิริ ภาควิชาจักษุวิทยา  คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี 


อันตรายจากการจ้องจอโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการตาเข ตาเหล่ หรือตาบอดได้อย่างไร 


▪️ สาเหตุของ ตาเข ตาเหล่ 

แบ่งออกเป็น 2 ช่วงอายุ  ช่วงแรก เกิดขึ้นในช่วงแรกเกิดถึง  6 เดือน และช่วงที่สอง เกิดขึ้นหลังจากอายุ 6 เดือนไปแล้ว 

ในกรณีแรก ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจจะมีพัฒนาอื่น ๆ เป็นปกติ เช่น คลอดตามกำหนด แต่บางครั้งพบว่าหลังจาก 6 เดือนถึง 1 ขวบ มีอาการตาเหล่เข้าใน 


20240106-b-01.jpg


▪️ ประเภทของตาเหล่ 

- ตาเหล่เทียม - ไม่มีภาวะตาเหล่ มีลักษณะใบหน้าที่เหมือนตาเหล่เข้าใน หรือตาเหล่ออนอก 

- ตาเหล่แฝง - อาการตาเหล่จะแสดงออกเมื่อมีการปิดตาสลับ เนื่องจากขัดขวางความสามารถในการรวมภาพ  

- ตาเหล่แท้ - ตาเหล่ที่แสดงออกชัดเจน  แสงสะท้อนไม่อยู่ตรงกลางตาดำ  ปิดตาสลับมีการขยับของตาอย่างชัดเจน 


20240106-b-02.jpg


▪️ สาเหตุ ตาเหล่แท้ 

1. เป็นตั้งแต่เด็ก แสดงอาการก่อน 6 เดือน 
2. เป็นภายหลัง 6 เดือน ซึ่งแบ่งเป็น 

- การกรอกตาปกติ มุมตาเหล่เท่ากันทุกทิศทาง เช่นตาเหล่เข้าข้างใน ตาเหล่ออกนอก 

- การกรอกตาผิดปกติจากเส้นประสาทสมอง คู่ที่ 3, 4, และ 6 ทำงานผิดปกติ


▪️ ตาเหล่ที่พบในโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง MG 

วิธีการสังเกตุง่าย ๆ ว่าเด็กมีอาการตาเหล่หรือไม่ ให้ถ่ายรูปเปิดแฟลช ให้ดูแสงสะท้อนแฟลช ว่าอยู่ตรงกลางตาดำหรือไม่ ซึ่งจะสังเกตุเห็นชัดเจน ถ้าแสงไฟแฟลชอีกด้านไม่อยู่ตรงตาดำ แสดงว่าตาเข 

ส่วนใหญ่การประเมินเด็กว่าจะตาเหล่หรือไม่ ต้องรอให้อายุ เกิน 6 เดือนไปแล้วเพราะจุดรับภาพในดวงตาของเด็กจะชัดเจนมากขึ้นในช่วงอายุ 3 เดือนขึ้นไป 

ตาเหล่เข้าใน จะพบในเด็กวัยก่อน 6 เดือนค่อนข้างมาก และเมื่อสมองไม่สามารถกระตุ้นตาสองข้างพร้อมกันก่อนได้ก่อน 6 เดือนแรก จะทำให้ความสามารถในการดูภาพสามมิติเสียไป 

ดังนั้นหากสามารถผ่าตัดตาให้มองตรงได้ภายใน 2 ขวบปีแรก อย่างน้อยจะทำให้เด็กมองภาพสามมิติได้อย่างคร่าวๆ ได้

แต่ถ้าตาเหล่เข้าใน แล้วมาผ่าตัดตอนโต หรืออายุมากกว่า 10 ขวบไปแล้ว การผ่าตัดจะได้เพียงความสวยงามอย่างเดียว เรื่องการมองภาพสามมิติ การดูหนัง CD ต่าง ๆ ก็จะมองไม่เห็น 

ดังนั้นเมื่อพบเด็กมีภาวะตาเหล่ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อจะได้รักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่จะกลายเป็นภาวะตาขี้เกียจ ซึ่งจะทำให้เซลสมองด้านที่เป็นตาขี้เกียจตายลง หรือฝ่อลง และการรักษาเซลสมองให้กลับมาได้ ต้องทำภายใน 10 ขวบ จึงจะแก้ไขได้ดี 

การรักษาก็คือ แพทย์จะปิดตาด้านที่ใช้งานได้ตามปกติเอาไว้ แล้วเปิดใช้งานตาขี้เกียจเพื่อกระตุ้นการมองเห็นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถใช้สายตาดีเท่ากับอีกข้าง หรือใกล้เคียง 


▪️ เด็กจ้องจอเยอะ มีส่วนต่อการเป็นตาเหล่มากหรือไม่ 

- ตาเหล่ จากการจ้องจอ ไม่ว่าจะเป็นจอมือถือ หรือแท็บเล็ต มีพบตาเหล่เข้าในมากขึ้นในปัจจุบัน 

- มุมเหล่เป็นค่อนข้างมาก และมักจบลงด้วยการผ่าตัด โดยเริ่มพบในช่วงอายุ 2-3 ขวบ  หรือในช่วงวัยทำงาน 30-40 ปี 


20240106-b-03.jpg

▪️ การรักษาตาเหล่ 

ไม่ผ่าตัด - ใช้วิธีใส่แว่นตาเพื่อปรับค่าสายตา, การรักษาภาวะตาขี้เกียจด้วยการปิดตาอีกข้าง, การบริหารกล้ามเนื้อตา (กรณีตาเหล่ออก) 

การผ่าตัด - เมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าจะต้องผ่าตัด 


ตาเหล่ออก จะทำให้การมองภาพสามมิติเสียไป ซึ่งส่วนใหญ่แก้ไขด้วยการผ่าตัด 

หลังการผ่าตัด ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สายตา ไม่เล่นมือถือ หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานานๆ อาจจะเปลี่ยนเป็นเปิดดูผ่านโทรทัศน์ หรือจอใหญ่ ๆ ที่ระยะห่างมากขึ้น เกิน 30 cm จะช่วยได้มาก 

การให้เด็กเล็กดูโทรศัพท์ หรือโทรทัศน์ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเกิดภาวะออทิสติกเทียม สมาธิสั้น และมีภาวะทางสายตาสั้น ตาเหล่เข้าในได้ 

แม้ยุคปัจจุบันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ปกครองควรจะจำกัดเวลาให้เด็กดูจอครั้งละไม่เกิน 2 ชั่วโมง หรือ พักดูเป็นช่วง ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงลง 

โดยปกติแล้วเด็กชอบอยู่กับคนมากกว่า แต่ในเมื่อผู้ใหญ่ไม่มีเวลา ทำให้เด็กต้องชดเชยด้วยการใช้สื่อโซเขียลเหล่านั้น ดังนั้นผู้ปกครอง หรือ พ่อ แม่ ต้องลดการเล่นโซเชียลของตนเองก่อน เพื่อเป็นแบบอย่างกับเด็ก ๆ ให้เวลากับเด็กมากขึ้น จะช่วยความเสี่ยงในการดูจอของเด็กลงได้









รับชมวิดิโอเพิ่มเติม : https://youtu.be/MgnrLaMezy0?si=wVrvn4rjY8Nxt-ZR
ติดต่อโฆษณา!