18 ธันวาคม 2566
809

ไลฟ์สไตล์แบบไหน เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด




วันนี้มาติดตาม “ไลฟ์สไตล์แบบไหน เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด” เพราะหัวใจเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแล โดยรายการ Stay Healthy by RAMA Channel โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลรามาธิบดี ผศ. นพ.สิระ กอไพศาล สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและแมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ และ อ. นพ.ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์  ร่วมให้ความรู้และคำแนะนำด้านสุขภาพ โดยมีคุณรุจิรัตน์ ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านบริหาร และ คุณจุฑาทิพย์ เจริญลาภ ผู้อํานวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมแชร์ประสบการณ์ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพพนักงานของ ททท.


20231218-b-03.jpg


▪️ โรคหัวใจมีกี่ชนิด 

โรคหัวใจมีหลายชนิด สามารถเป็นได้ทั้งที่กล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ 

- โรคหลอดเลือดหัวใจ เจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตาม แขน ลำคอ 
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ อาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม บวมตามแขนขา 
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์ 
- โรคลิ้นหัวใจ มีอาการเหนื่อยง่าย และเกิดภาวะหัวใจวายุ
- โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ ไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ 
- โรคหลอดเลือดหัวใจ เส้นเลือดตีบ และภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งพบได้บ่อยขึ้นในกลุ่มอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ด้วยไลฟ์สไตส์ของคนในยุคนี้ เมื่อก่อนจะเจอผู้ป่วยในช่วงอายุมาก



20231218-b-02.png


▪️ อาการที่อาจจะเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจมีดังนี้ 

- แน่นหน้าอก หรือเจ็บหน้าอก 
- เหนื่อยหอบ หายใจไม่ออก หมดสติ 
- เหงื่อแตก
- พักแล้วไม่หายภายใน 15 นาที 
- มีอาการบวมบริเวณเท้า หรือข้อเท้า 


20231218-b-05.jpg


▪️ สัญญาณอันตรายโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคหัวใจที่พบมากในปัจจุบัน โดยผู้ป่วยอาจจะเริ่มต้นจากอาการเหล่านี้ ซึ่งอาจจะบ่งบอกว่าเริ่มมีอาการโรคหัวใจ ได้แก่ 

- เจ็บบริเวณกลางอก อกด้านซ้าย หรือแน่นหน้าอก
- วิงเวียนศีรษะ
- เจ็บที่แขน ลำคอ ใบหน้า และขากรรไกร 
- เหงื่อออกมากกว่าปกติ
- หายใจติดขัด บางรายหอบรุนแรง 
- คนไข้โรคหัวใจ จะเจ็บหน้าอกมากขึ้น เมื่อมีการออกกำลังกาย อย่างไรก็ตามบางรายอาจจะไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า และอาจจะเกิดขึ้นได้บ้าง
หากมีอาการผิดปกติตามนี้ต้องรีบพบแพทย์ทันทีเพราะเสี่ยงหัวใจล้มเหลวได้ 


20231218-b-04.jpg

▪️ วิธีรักษาและดูแลโรคหัวใจ ให้ห่างไกลโรค

- ควรออกกำลังกายเป็นประจำ 
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นอนกรนหรือคุณภาพการนอนไม่ดี ออกซิเจนตกขณะนอนหลับ อาจจะเสี่ยงเกิดโรคหัวใจเช่นกัน 
- กินอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารไขมันสูง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ธรรมดา 
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป
- ความดันสูง เบาหวาน อาจมีความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
- ควรควบคุม คลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ไม่ให้สูงเกินไป อาจเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 
- มีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที 



โรคหัวใจส่วนหนึ่งมาจากการเล่นกีฬาโดยเฉพาะของผู้บริหาร เช่น เล่นฟุตบอล ถ้าหากไม่ซ้อมมาก่อนแล้วไปเล่นอย่างหนักหน่วง บางครั้งทำให้เกิดความเครียดกับหัวใจค่อนข้างเยอะ ถ้าไขมันแตกและตัน ก็อาจจะเกิดเรื่องขึ้นกลางสนามได้ ดังนั้นจะต้องซ้อมดี ๆ ค่อย ๆ ให้ร่างกายปรับสภาพก่อนการแข่งขัน 

ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือเส้นเลือดสมองตีบ ควรตรวจเช็กสุขภาพโยเฉพาะระดับไขมันในเลือด ความดันโลหิต และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก ก็จะลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจลงได้
ติดต่อโฆษณา!