28 พฤศจิกายน 2566
1,397

จัดการความเครียดอย่างไรให้มีความสุข

จัดการความเครียดอย่างไรให้มีความสุข
"จัดการความเครียดอย่างไรให้มีความสุข" โดยรายการ  Stay Healthy by RAMA Chanel เรื่องใกล้ตัว ที่ทุกคนอาจเคยเป็นโดยไม่รู้ตัว เพราะความเครียดเป็นเรื่องสำคัญ ที่อาจบั่นทอนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ของเราได้ 

เรียนรู้ วิธีการจัดการกับความเครียดอย่างไรให้ชีวิตมีความสุข โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเกียรติจาก คุณณัฐฐานิตา พิพัฒน์ธำรงกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการศูนย์ HR Operation 2 บริษัทซีพีออล จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนโครงการ 

ซีพีออล เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานจำนวนมาก การทำงานในภาคการบริการ อาจมีความเครียดสะสมจากการทำงาน แม้ว่าบริษัทจะมีกิจกรรมผ่อนคลายให้กับพนักงานอยู่เป็นประจำบ้างแล้ว เช่น การวิ่งมาราธอน ก็อาจช่วยได้ลดความเครียดได้บ้าง 

ในวันนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รศ. นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ และ อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี มีคำแนะนำ วิธีป้องกัน และการดูแลรักษา  เพื่อบรรเทาความเครียดที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน   

20231128-b-01.jpg


▪️ สาเหตุของความเครียด

1. ปัจจัยภายใน

• เกิดจากความรู้สึกภายในร่างกายและจิตใจ

• ผู้ที่มีเรื่องกระทบกจิตใจมาเป็นระยะเวลานาน 

2. ปัจจัยภายนอก 

• การทำงาน

• ความสัมพันธ์ 

• ปัญหาสุขภาพ  

• การเปลี่ยนแปลงในชีวิต 


20231128-b-02.jpg

รศ. นพ.ศิริไชย กล่าวว่า อันที่จริงความเครียดเป็นเรื่องที่ดี เป็นแรงกระตุ้นให้มีความพยายาม เพื่อเอาชนะปัญหา หรือการเรียน หรือการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย  แต่ความเครียดที่มีปัญหา คือความเครียดที่มากเกินไป หรือเกินจุดพีค ก็จะไม่ดี และควรต้องพบแพทย์

▪️ ระดับของความเครียด 

• ระดับรุนแรง  Severe Stress ความเครียดเรื้อรัง ปรับตัวไม่ได้ อารมณ์แปรปรวน 

• ระดับสูง High Stress เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง ส่งผลต่อร่างกาย  

• ระดับปานกลาง  Moderate Stress เป็นความเครียดปกติ ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา 

• ระดับต่ำ Mind Stress  ไม่คุกคามการดำเนินชีวิต ขาดแรงกระตุ้น เชื่องช้าลง หายเองได้ 


20231128-b-03.jpg


▪️ สัญญาณของอาการความเครียดสะสม 

หากเกิดอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ บางคนอาจจะเกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว

• กลัว  เครียด กังวล 
• พฤติกรรมการกินผิดปกติ
• นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท 
• ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หนักขึ้น หรือสูบบุหรี่
• อารมณ์แปรปรวน หรือหงุดหงิดง่าย
• สมาธิจดจ่อไม่ดี หลง ๆ ลืม ๆ 
• เบื่อ รู้สึกไม่กระปี้ กระเปร่า
• ท้อแท้ หมดหวัง รู้สึกไร้ค่า  


20231128-b-04.jpg

20231128-b-05.jpg


▪️ อาการเบื่อวันจันทร์ เป็นผลจากความเครียดหรือไม่ ?

อาการเบื่อมาทำงานในวันจันทร์ เป็นความเครียดในระดับธรรมดา ถ้ามาทำงานไหว ก็ไม่มีปัญหาอะไร ถ้ามีความหงุดหงิดถึงขั้นนอนไม่หลับ ก็ถือว่าเป็นความเครียดที่ผิดปกติ  จะต้องเปลี่ยนที่ความคิดของเราว่าเกิดจากอะไร จากเพื่อนร่วมงานหรือไม่ 


20231128-b-06.jpg

▪️ ภาวะซึมเศร้ากับความเครียดต่างกันอย่างไร ?

ความเครียด คือ ไม่มีความกังวลทางกาย เช่น นอนไม่หลับ คิดฟุ้งซ่าน ถ้าเครียดนาน ๆ แล้วจัดการไม่ได้ ก็เครียดสะสมได้ทุกคน

คนทั่วไปเมื่อประสบปัญหาความเสียใจในเรื่องใดๆ ขึ้น ก็มีอาการเครียด และเสียใจตามปกติอาจจะใช้เวลาเพียง 1 - 2 สัปดาห์ก็ดีขึ้น เช่น คนในครอบเสียชีวิต ก็ยังสามารถแบ่งแยกความรู้สึก ยังสามารถดำเนินการจัดงาน รับแขกได้  ภาวะอารมณ์เสียใจนั้นจะไม่เกิดขึ้นตลอดเวลา 

แต่สำหรับในคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะอยู่ตลอดเวลา ไม่อยากทำอะไร ไม่มีพลังจะทำอะไร อารมณ์จะดิ่ง มีความคิดลบ คิดด้อยค่าตนเอง 


▪️ โรคซึมเศร้า เป็นแล้วรักษาหายหรือไม่ ? 

อัตราส่วนคนที่เป็นโรคซึมเศร้าสำหรับประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 5 จากผลวิจัยพบว่า ประมาณ 30% ของอาการโรคซึมเศร้าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือการใช้ชีวิตในวัยเด็กที่ค่อนข้างตึงเครียด การเลี้ยงดูเด็กแบบการคาดหวังสูง เมื่อไม่เป็นตามเป้าหมาย จะทำให้เด็กเป็นโรคซึมเศร้าได้

ความคาดหวังของพ่อแม่ในยุคนี้มีความคาดหวังต่อเด็กสูง อาจจะเนื่องมาจากการมีลูกน้อย  การแข่งขันสูง การมีแบบอย่างของบุคคลต้นแบบที่มีความเก่ง สร้างความกดดันและความคาดหวังให้กับเด็กแบบไม่รู้ตัว 

อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้า เป็นแล้วรักษาให้หายได้ ซึ่งเมื่อพบแพทย์และผ่านกระบวนการรักษา อาการก็ทุเลาลงและหายได้ 


▪️ โรคจิตเภท 

โรคจิตเภท อาจมีสาเหตุมาจากโรคซึมเศร้า อาการของโรคจิตเภท แตกต่างจากโรคซึมเศร้า เช่น มีอาการหลอน กังวลว่าจะมีคนทำร้าย เป็นต้น อาการจิตเภทจะต้องเข้ารับการรักษา เพราะอาจก่อเหตุทำร้ายร่างกายตนเองหรือผู้อื่น 

นอกจากนี้อาการวิตกจริต หรือ Panic ก็อาจจะเป็นสาเหตุเกิดความเครียด เช่นบางคนกลัวการขึ้นที่สูง กลัวการนั่งเครื่องบิน เป็นต้น 


▪️ มีเพื่อนเป็นโรคซึมเศร้า เราควรทำอย่างไร 

ถ้าหากเรามีเพื่อนเป็นโรคซึมเศร้า สิ่งที่เราทำได้คือ การอยู่เป็นเพื่อน เพียงรับฟังปัญหา ไม่จำเป็นต้องพูดอะไร บางครั้งอาจจะเป็นการแนะนำไม่ถูกต้องก็ได้ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าเขาไม่ต้องการคำแนะนำ เพียงแต่ต้องการคนที่อยู่ด้วยเท่านั้น



รับชมเพิ่มเติมได้ที่: https://fb.watch/oBd8GN5mIB/
ติดต่อโฆษณา!