24 พฤศจิกายน 2566
19,740

มะเร็งเต้านม เช็กก่อน รู้ไว รักษาได้



รายการ Stay Healthy by RAMA Channel ตอน “มะเร็งเต้านม เช็กก่อน รู้ไว รักษาได้” ได้รับเกียรติจากคุณสมเกียรติ พูลขวัญ รองผู้จัดการใหญ่ด้านการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ทำโครงการร่วมกันโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่เกี่ยวกับผู้หญิง ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมให้กับพนักงานหญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจในระยะเริ่มต้น “รู้ไว รักษาได้”

รศ. นพ.ภาณุวัฒน์ เลิศสิทธิชัย สาขาวิชาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ ภาควิชาศัลยศาสตร์ และ อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านจากโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม วิธีป้องกัน และการูแลรักษา ดังนี้ 



20231124-c-03.jpg

20231124-c-01.jpg
20231124-c-04.jpg

▪️ มะเร็งเต้านม เกิดขึ้นได้อย่างไร และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดขึ้น 

- มะเร็งเต้านมเกิดจากความเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ เซลล์เต้านมกลายพันธุ์เป็นมะเร็ง มีความผิดปกติของเซลล์ แล้วลุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง ยิ่งเมื่ออายุมากขึ้น การกลายพันธ์ุก็เป็นโดยธรรมชาติก็ ที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

- กรรมพันธุ์เกี่ยวข้องด้วยกับการเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน  แต่ไม่มากเพียง 5 - 10% ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์เอง 

- การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย หรือฮอร์โมนเพศหญิง  ก็มีโอกาสและความเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงขึ้น เช่น การเข้าสู่วัยมีประจำเดือนเร็ว โดยอายุเพียง 10 - 11 ขวบ ก็มีประจำเดือนแล้ว อาจเพิ่มความเสี่ยงได้ หรือประจำเดือนหมดช้า เช่น อายุเกิน 50 ปีแล้ว ยังไม่หมดประจำเดือน ก็เพิ่มความเสี่ยงได้บ้าง 

- หญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรแต่ไม่ได้ให้นมบุตร ก็เพิ่มความเสี่ยงได้บ้าง

- ปัจจัยอื่น เช่น ถ้าเราเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน ก็มีโอกาสที่จะเป็นเพิ่มอีกข้างที่เหลือ หรือคนที่มีรอยโรค ที่มีความผิดปกติของเซลล์ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ 


20231124-c-05.jpg


▪️ จากการศึกษา ปัจจัยที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงและควบคุมได้ มีดังต่อไปนี้ 

1. น้ำหนักตัว สำคัญมาก โดยเฉพาะวันหมดประจำเดือน เพราะไขมันก็ผลิตเอสโตรเจนได้ การลดน้ำหนักสำคัญให้ดัชนีมวลกายปกติในระดับ 24 - 25 หรือน้อยกว่านั้น แม้ว่าเป็นสิ่งที่ทำยากแต่ควรทำ เพราะลดโอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมได้พอสมควร

2. การออกกำลังกาย ส่งผลต่อฮอร์โมนเพศของร่างกาย เอสโตรเจนน้อยลง หรือฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง ภาวะเสี่ยงลดลงได้ 

3. อาหาร เป็นปัจจัยเสี่ยงที่น้อยมาก ดังนั้นการควบคุมอาหารก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจำพวกน้ำเต้าหู้ ที่มีความเชื่อกัน ก็ไม่ส่งผลอะไรมาก 


▪️ ยาคุมกำเนิดเร่งการเกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่ ? 
ถ้าอยู่ในวัยมีประจำเดือน การกินยาคุมกำเนิดไม่ได้ส่งผลต่อมะเร็งเต้านมมากนัก ถ้าจำเป็นต้องใช้ ก็ใช้ได้ แต่หลังวัยหมดประจำเดือนแล้ว การใช้โฮโมนเพศทดแทนเป็นเวลานาน อาจจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นได้ เช่นถ้าใช้นานเกิน 5 - 10 ปี เป็นต้น


▪️ ขนาดของเต้านม มีส่วนหรือไม่ ?

ขนาดเต้านม เล็ก - ใหญ่ ความเสี่ยงใกล้เคียงกัน แต่ความหนาแน่นของเนื้อเต้านมอาจจะมีส่วน เช่นถ้าหากเอ็กซเรย์แล้วพบว่ามีฝ้าขาว ๆ มาก แสดงว่ามีความหนานแน่นมาก แต่ถ้าเอ็กซ์เรย์แล้วพบเป็นสีดำ ๆ แสดงว่าความหนาแน่นน้อย 

20231124-c-02.jpg


▪️ วิธีการตรวจเช็ก คัดกรอง ความผิดปกติ เบื้องต้น

ทำได้โดยการคลำและคลึงเต้านมเป็นวงกลม จากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายก็ได้ ลองบีบหัวนมดูว่ามีน้ำเหลืองหรือสิ่งผิดปกติออกมาหรือไม่ อาจจะตรวจเช็กเดือนละครั้ง ควรทำหลังประจำเดือนหมด 1 - 2 สัปดาห์ ควรคลำไปถึงรักแร้ ว่ามีก้อนอะไรผิดปกติหรือไม่ ถ้าตรวจพบก้อนผิดปกติ ก็ควรไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไปก็ควรตรวจเช็คถี่ขึ้น 


▪️ ผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ ?

ผู้ชายมีโอกาสเป็นได้ แต่น้อยมาก อาจมีเพียง 1 - 2% เท่านั้น  สำหรับในต่างประเทศ ผู้หญิงตะวันตกอาจจะพบในอัตราส่วน 8:1 คนไทยจะพบน้อยกว่ามาก 


▪️ การผ่าตัดมะเร็งเต้านม จะไม่ตัดเต้านมออกได้หรือไม่ ?

ปัจจุบันมีการตรวจพบได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะตัดออกน้อย หรือตัดออกทั้งหมด แต่ความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำก็มีโอกาสเท่ากัน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน การรักษาก็ใกล้เคียงกันคือ มีการฉายแสงหรือเคมีบำบัด และให้ยาร่วมด้วย ทั้งนี้ถ้าพบได้เร็ว ก็อาจจะรักษาเต้านมไว้ได้ไม่ต้องตัดออกทั้งหมด ดังนั้นควรตรวจคัดกรอง ถ้าพบเร็ว ก็รักษาได้เร็ว


▪️ อายุเท่าไหร่ ควรคัดกรองด้วยวิธีแมมโมแกรม อัลตราซาวนด์

ส่วนใหญ่การคัดกรองด้วยวิธีนี้ มักจะใช้กับช่วงอายุ ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เสริมด้วยอัลตราซาวนด์ ในกรณีที่มีความเสี่ยงมากขึ้นก็อาจจะคัดกรองที่อายุน้อยกว่านั้นก็ได้ 


▪️ ถ้าเคยพบเป็นเนื้องอกที่มดลูก จะทำให้โอกาสเป็นมะเร็งเต้านม หรือส่วนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นหรือไม่ 

ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่การเป็นเนื้องอกที่มดลูก อาจมีโอกาสเชื่อมโยงเป็นมะเร็งรังไข่ได้ 


▪️ กรรมพันธุ์ กับมะเร็งเต้านม 

กรรมพันธุ์เป็นมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านมมาก่อน มีโอกาสที่คนในครอบครัวจะเป็นมะเร็งเต้านม ได้มากกว่าคนทั่วไป ในกลุ่มญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นมะเร็งก็มีโอกาสเป็นมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นทุกคน


▪️ บางคนไม่อยากทำคีโมเพราะจะทำให้ผมร่วง 

แน่นอนว่าถ้าทำคีโม ผมจะร่วงมาก ซึ่งผู้ป่วยต้องทำใจว่าจะมีผมร่วง และร่วงเป็นหย่อม ๆ มีโอกาสเกิดขึ้นค่อนข้างมาก แต่จะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ จากนั้นผมก็จะขึ้นมาเป็นปกติ ผลข้างเคียงที่เกิดจากคีโมนั้นมีน้อยลงจากอดีต และมียาช่วยลดผลกระทบข้าวเคียงในปัจจุบัน


▪️ การทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก จะทำให้การตรวจมะเร็งเต้านมยากขึ้นหรือไม่ 

แนะนำให้ตรวจ คัดกรอง โดยเฉพาะอายุเกิน 40 ปี ซึ่งการเสริมหน้าอกนั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการตรวจคัดกรอง แต่แนะนำโดยฉพาะในกลุ่มที่มีกรรมพันธุ์เป็นมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านมมาก่อน แนะนำควรตรวจอาจมีความเสี่ยงกว่ากลุ่มอื่น


▪️ การตรวจเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรมจะเร่งให้เกิดเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ ?

การตรวจเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรม ไม่ส่งผลต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ไม่เกี่ยวกัน 


▪️ มีวิธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดหรือไม่ 

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีทำลายก้อนมะเร็งเต้านมโดยไม่ผ่าตัด  หรือการใช้ความร้อน ความเย็นเข้าไปจี้ ซึ่งอาจจะเหมาะกับมะเร็งก้อนเล็กและอยู่ในตำแหน่งที่ทำได้  ถ้าหากต้องการรักษาให้หายขาด ต้องใช้วิธีผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีหลักอยู่ 


▪️ มะเร็งเต้านม รักษาให้หายขาดได้ทุกคนหรือไม่ ?

ขึ้นอยู่กับระยะที่เป็น ถ้าเป็นระยะแรก ๆ ก็มีโอกาสหายขาดได้  แต่ถ้าเป็นระยะที่แพร่กระจายแล้ว หรือระยะที่ 4  ที่จะกระจายไปที่ ปอด ตับ สมอง จะหวังหายขาดคงไม่ได้ แต่ประคับประคองได้  ถ้าเจอในระยะแรก แนะนำมาพบแพทย์ ก่อนที่จะลุกลามไปส่วนอื่นของร่างกาย 

โดยสรุป มะเร็งเต้านม ถ้าพบในระยะเริ่มต้น มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้  เมื่อพบว่ามีความผิดปกติของก้อนเนื้อในเต้านม ไม่ต้องกลัวที่จะไปพบแพทย์ ซึ่งอาจจะไม่ต้องตัดเต้านมทิ้งไปก็ได้ แต่ถ้าหากเป็นถึงขั้นเซลมะเร็งแพร่กระจายแล้ว การรักษาก็สามารถประคับประคองได้ แต่โอกาสหายขาดจะยากขึ้น



ติดต่อโฆษณา!